คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ กิจสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนรัฐบาล: ความผูกพันชดใช้ทุนแม้มีการเปลี่ยนแปลงงานราชการ - การรับผิดตามสัญญา
มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ออกจากราชการสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ทำบันทึกแจ้งความประสงค์จะออกจากราชการไปเป็นพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ามหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งให้ออกจากราชการตามความในข้อ 10 และข้อ 24แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2519) ออกตามความใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ประกอบด้วยมาตรา 96(2) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518ซึ่งเป็นกรณีสั่งให้ออกจากราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการเพื่อให้จำเลยที่ 1พ้นจากความรับผิดที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาการรับทุนหาได้ไม่ จำเลยที่ 1ยังคงมีความผูกพันตามสัญญาการรับทุนเมื่อจำเลยที่ 1 รับราชการไม่ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงไว้ จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้ทุน ก.พ. ที่โจทก์จ่ายไปแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2533 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามสัญญาการรับทุนแม้ลาออกจากราชการ การบังคับชดใช้ทุนเมื่อไม่ได้รับการยกเว้น
การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ ก็สืบเนื่องมาจากจำเลยแจ้งความประสงค์จะออกจากราชการไปเป็น พนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นออกคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ เพื่อให้ จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาการรับทุนหาได้ไม่
ตามสัญญาการรับทุน ก.พ.เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ ถ้าจำเลยรับราชการไม่ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงไว้ จำเลยจะต้องรับผิด ใช้ทุน ก.พ.ที่โจทก์จ่ายไปแล้วรวมทั้งเบี้ยปรับ โดยลดลงตามส่วน จำนวนเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ไปบ้างแล้ว เว้นแต่ในกรณีซึ่ง ก.พ.และกระทรวงการคลังจะใช้ดุลพินิจเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควร ให้จำเลยพ้นความรับผิดเมื่อจำเลยออกจากราชการก่อนครบกำหนดตามสัญญา แม้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ ตามความในข้อ ๑๐ และข้อ ๒๔ แห่งกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ประกอบด้วยมาตรา ๙๖(๒) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งเป็นกรณีสั่งให้ออกจาก ราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ ของทางราชการก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาการรับทุน ดังกล่าว เมื่อ ก.พ.และกระทรวงการคลังยืนยันให้จำเลยรับผิดตามสัญญา อีกทั้งกรณีของจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๒๓ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนรัฐบาล: การชดใช้ทุนเมื่อลาออกจากราชการก่อนกำหนด แม้มีคำสั่งอนุมัติจากหน่วยงานก็ยังต้องรับผิด
ตามสัญญาการรับทุน ก.พ. เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศถ้าจำเลยรับราชการไม่ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงไว้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้ทุน ก.พ.ที่โจทก์จ่ายไปแล้วรวมทั้งเบี้ยปรับโดยลดลงตามส่วนจำนวนเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ไปบ้างแล้ว เว้นแต่ในกรณีซึ่ง ก.พ.และกระทรวงการคลังจะใช้ดุลพินิจเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรให้จำเลยพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยออกจากราชการก่อนครบกำหนดตามสัญญาโดยที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการอันสืบเนื่องมาจากจำเลยแจ้งความประสงค์จะออกจากราชการไปเป็นพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยจะอ้างว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นออกคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ เพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาการรับทุนหาได้ไม่ และแม้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการตามความในข้อ 10 และข้อ 24 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2(พ.ศ.2519)ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพ.ศ. 2507 ประกอบด้วยมาตรา 96(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกรณีสั่งให้ออกจากราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการก็ตามแต่จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาการรับทุนดังกล่าว เมื่อ ก.พ.และกระทรวงการคลังยืนยันให้จำเลยรับผิดตามสัญญา อีกทั้งกรณีของจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาทุนคืน แม้ถูกสั่งออกจากราชการด้วยความสมัครใจ
การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการก็สืบเนื่องมาจากจำเลยแจ้งความประสงค์จะออกจากราชการไปเป็นพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นออกคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ เพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาการรับทุนหาได้ไม่ ตามสัญญาการรับทุน ก.พ.เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศถ้าจำเลยรับราชการไม่ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงไว้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้ทุน ก.พ.ที่โจทก์จ่ายไปแล้วรวมทั้งเบี้ยปรับ โดยลดลงตามส่วนจำนวนเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ไปบ้างแล้ว เว้นแต่ในกรณีซึ่งก.พ.และกระทรวงการคลังจะใช้ดุลพินิจเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรให้จำเลยพ้นความรับผิดเมื่อจำเลยออกจากราชการก่อนครบกำหนดตามสัญญาแม้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการตามความในข้อ 10 และข้อ 24 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2519)ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพ.ศ. 2507 ประกอบด้วยมาตรา 96(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกรณีสั่งให้ออกจากราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาการรับทุนดังกล่าว เมื่อ ก.พ.และกระทรวงการคลังยืนยันให้จำเลยรับผิดตามสัญญาอีกทั้งกรณีของจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่11 สิงหาคม 2523 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนรัฐบาล: ความรับผิดของผู้รับทุนเมื่อออกจากราชการก่อนครบกำหนด แม้มีคำสั่งจากมหาวิทยาลัย
การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ ก็สืบเนื่องมาจากจำเลยแจ้งความประสงค์จะออกจากราชการไปเป็นพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นออกคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ เพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาการรับทุนหาได้ไม่
ตามสัญญาการรับทุน ก.พ. เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศถ้าจำเลยรับราชการไม่ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงไว้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้ทุน ก.พ. ที่โจทก์จ่ายไปแล้วรวมทั้งเบี้ยปรับ โดยลดลงตามส่วนจำนวนเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ไปบ้างแล้ว เว้นแต่ในกรณีซึ่ง ก.พ. และกระทรวงการคลังจะใช้ดุลพินิจเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรให้จำเลยพ้นความรับผิดเมื่อจำเลยออกจากราชการก่อนครบกำหนดตามสัญญาแม้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการตามความในข้อ 10 และข้อ 24 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ประกอบด้วยมาตรา 96(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกรณีสั่งให้ออกจากราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาการรับทุนดังกล่าว เมื่อ ก.พ.และกระทรวงการคลังยืนยันให้จำเลยรับผิดตามสัญญาอีกทั้งกรณีของจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายตามสัญญาเลิกจ้าง ไม่ใช่เบี้ยปรับ: ศาลตัดสินตามข้อตกลงหลังสัญญาค้าง
โจทก์ว่าจ้างจำเลยติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เมื่อสัญญาครบกำหนดแล้ว จำเลยยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ต่อมาจำเลยทำบันทึกยอมรับว่าจำเลยไม่สามารถดำเนินการติดตั้งเครื่องปรับอากาศตามสัญญา จำเลยขอเลิกสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายตามสัญญาให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย สำหรับค่าเสียหายนั้นเป็นค่าเสียหายที่จำเลยตกลงชำระตามบันทึกขอเลิกสัญญาดังกล่าว จึงไม่ใช่เบี้ยปรับเพราะมิได้เป็นค่าเสียหายที่คู่ความตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการไม่ชำระหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายตามสัญญาเลิกจ้าง ไม่ใช่เบี้ยปรับ เพราะตกลงหลังผิดสัญญา
โจทก์ว่าจ้างจำเลยติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เมื่อสัญญาครบกำหนดแล้ว จำเลยยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ต่อมาจำเลยทำบันทึกยอมรับว่าจำเลยไม่สามารถดำเนินการติดตั้งเครื่องปรับอากาศตามสัญญา จำเลยขอเลิกสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายตามสัญญาให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย สำหรับค่าเสียหายนั้นเป็นค่าเสียหายที่จำเลยตกลงชำระตามบันทึกขอเลิกสัญญาดังกล่าว จึงไม่ใช่เบี้ยปรับเพราะมิได้เป็นค่าเสียหายที่คู่ความตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการไม่ชำระหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานการซ่อมแซม แม้ไม่มีการรับรอง ก็ใช้ได้หากมีพยานยืนยัน และการคิดดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
ข้อเท็จจริงเชื่อ ได้ว่าโจทก์ได้จัดการซ่อมรถแทรกเตอร์ให้แก่จำเลยมีรายการตามเอกสารจริง แม้เอกสารนั้นเป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเอง โดยไม่มีจำเลยหรือตัวแทนของจำเลยรับรองความถูกต้องกรณีดังกล่าวก็ไม่อยู่ในบังคับกฎหมายให้จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยต้องลงชื่อรับรองความถูกต้อง ศาลรับฟังเอกสารนั้นได้ คำฟ้องโจทก์ขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ค้างชำระจนถึงวันที่จำเลยจะชำระเสร็จ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาผู้จัดการนิติบุคคล ไม่ถือเป็นการจับกุม จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.บำเหน็จปราบปราม
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดให้ปรับจำเลยและให้จ่ายรางวัลร้อยละ 20 ของเงินค่าปรับแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุม ดังนี้กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องดำเนินการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณีถ้า ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะออกหมายจับมาก็ได้ แต่จะขังหรือปล่อยชั่วคราว ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้ เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณีการที่ผู้ร้องที่ 1 ออกหมายเรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมาแล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิด จึงไม่เป็นการจับกุมและผู้ร้องที่ 1 มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลย ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ มาตรา 7 และ 8.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาบริษัทและการไม่มีสิทธิได้รับรางวัลเนื่องจากไม่มีการจับกุมจริง
กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่มีการจับกุมนิติบุคคลนั้น เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้จัดการบริษัทจำเลยให้ไปพบ แล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิดนั้น ไม่เป็นการจับกุม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7, 8
of 33