คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ กิจสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระหลายงวดต่อเนื่อง ยึดทรัพย์ได้ แม้โจทก์เคยผ่อนผัน
แม้สัญญาเช่าซื้อระบุชัดแจ้งว่า ผู้เช่าซื้อจะต้อง ชำระเงินตาม ที่กำหนดไว้ในรายการ แต่ ปรากฏว่าเมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาทุกงวด โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ก็ยอมรับโดย มิได้ทักท้วงและออกใบเสร็จรับเงินระบุเป็นการ ชำระ ค่าเช่าซื้องวดที่ค้างชำระ จึงถือ ได้ ว่าคู่สัญญามิได้ ถือ เอากำหนดเวลาชำระเป็นสำคัญแต่ ถือ เอา การชำระตาม งวดเป็น ข้อสำคัญ แต่ จำเลยมิได้ชำระค่างวด 5 งวดติดต่อ กัน จึงเป็น การ ค้าง ชำระติดต่อ กันเกิน 2 งวดแล้ว อันเป็นการผิดสัญญาใน ข้อสำคัญ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: สัญญาที่ทำกับพนักงานสอบสวนมีผลผูกพันโจทก์ผู้บังคับบัญชา
โจทก์ควบคุมตัว ส. ไว้ดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชนระหว่างสอบสวน โจทก์อนุญาตให้จำเลยประกันตัว ส. ไป โดยทำสัญญาประกันไว้กับโจทก์ว่า ถ้าผิดสัญญาจำเลยยอมชดใช้เงินจำนวน200,000 บาท โจทก์กำหนดให้จำเลยส่งตัว ส.4 ครั้ง จำเลยไม่เคยส่งตัว ส. เลย เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ จำเลยก็ยังไม่สามารถส่งตัว ส. ผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยขวนขวายติดตามตัวส.เพื่อนำมาส่งมอบให้แก่โจทก์แต่ประการใดประกอบกับส.ต้องหาว่าฉ้อโกงประชาชนเป็นจำนวนเงินถึง 190,000 บาทเศษ เมื่อไม่ได้ตัว ส.มาดำเนินคดีนอกจากส. จะไม่ต้องได้รับโทษแล้วผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสจะได้รับเงินคืนด้วย พฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุลดค่าปรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: ลายมือชื่อผู้กู้เพียงฝ่ายเดียวก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินจะเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้แล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้กู้ สัญญากู้ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: ลายมือชื่อผู้กู้เพียงผู้เดียวก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาท กฎหมายเพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วยแม้สัญญากู้เงินจะเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้แล้วก็ชอบฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. 653.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: ลายมือชื่อผู้กู้สำคัญกว่าผู้ให้กู้
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินจะเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเมื่อจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้แล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้กู้ สัญญากู้ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ไม่เป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยไม่สุจริต แม้เสียค่าตอบแทนและครอบครองนาน ก็ไม่ผูกพันเจ้าของที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 นำเอาที่พิพาทของโจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เป็นชื่อของตน และโอนขายที่พิพาทไป 2 แปลงแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม ที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทดังกล่าวเท่ากับซื้อไปจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะขาย แม้จำลยที่ 2 จะซื้อด้วยความสุจริตเสียค่าตอบแทนและครอบครองที่พิพาทไว้ ก็ไม่ผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงและจะครอบครองไว้นานสักเพียงใด ก็เป็นการครอบครองแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของอยู่ตราบนั้น จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิในที่พิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ และการเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล ทำให้คำสั่งศาลเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ว่าคดีโจทก์ไม่มีเหตุผลสมควรที่จะอุทธรณ์ ไม่อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์อย่างคนอนาถา ถ้าโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ให้นำค่าขึ้นศาลมาชำระภายในกำหนด ดังนี้ เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอ้างว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วจึงเป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 มิใช่การอุทธรณ์ตามมาตรา 229 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นคำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 236 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือเป็นการเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) และคำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด – การใช้รถยนต์ของผู้อื่นในการกระทำความผิด
จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ร้องนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการบรรทุกไม้แปรรูปผิดกฎหมาย โดยผู้ร้องกับจำเลยพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน นอกจากนี้จำเลยเคยนำรถยนต์ของกลางไปใช้เป็นประจำดังนั้นที่ผู้ร้องกล่าวอ้างและนำสืบว่าจำเลยหลอกเอารถยนต์ของกลางไปจากนาย พ. ลูกจ้างของผู้ร้องในวันเกิดเหตุว่าผู้ร้องให้มาเอารถยนต์ของกลางไปธุระจึงไม่น่าเชื่อถือ ข้อเท็จจริงฟังว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ การใช้ราคาประเมินกรมที่ดินที่ไม่คำนึงถึงสภาพที่ดินถือไม่ถูกต้อง
จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน โดยถือราคาประเมินของกรมที่ดินอันเป็นบัญชีราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดิน ซึ่งกำหนดราคาปานกลางของที่ดินที่ถูกเวนคืนไว้ก่อนวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับถึง 2 ปีเศษ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คำนึงถึงสภาพที่ดินของโจทก์ว่าเป็นที่ดินซึ่งมีความเจริญถึงขนาดที่มีสาธารณูปโภคครบถ้วนเพียงใดหรือไม่ ดังนี้ ค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดขึ้นโดยอาศัยราคาประเมินของกรมที่ดินเป็นหลักจึงมิใช่ค่าทดแทนเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2285/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเจรจาหนี้สินโดยไม่มีการข่มขู่ การลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงย่อมมีผลผูกพัน
โจทก์พาจำเลยที่ 1 ไปเจรจาในห้องของร้อยเวร โจทก์บอกว่าจำเลยที่ 2 ยืมเงินโจทก์ 40,000 บาท และลักเครื่องวีดีโอ ของโจทก์รวมแล้วเป็นหนี้โจทก์ 70,000 บาท ขอให้ผ่อนชำระเดือนละ 1,500 บาทและให้จำเลยที่ 1 ไปปรึกษากับจำเลยที่ 2 ที่ถูกขังอยู่ในห้องขังจำเลยที่ 1 จึงถามจำเลยที่ 2 ว่าจะผ่อนชำระหรือไม่ จำเลยที่ 2ตอบว่า แล้วแต่ โจทก์และจำเลยทั้งสองจึงได้ลงลายมือชื่อในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่70,000 บาท ยอมผ่อนชำระเดือนละ 1,500 บาท และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้พฤติการณ์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองถูกข่มขู่ให้ลงชื่อ การที่โจทก์กล่าวกับจำเลยทั้งสองว่า หากจำเลยไม่ยอมลงชื่อในบันทึกข้อตกลง โจทก์จะดำเนินคดีอาญาจำเลยที่ 2เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ. มาตรา 127 ไม่เป็นการข่มขู่ตามกฎหมายที่จะทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกเป็นโมฆียะ ส่วนการที่โจทก์กล่าวอ้างกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรีว่า ได้แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาว่า จำเลยที่ 2 ลักเครื่องวีดีโอ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัวจำเลยที่ 2 และนำตัวจำเลย ที่ 2 ไปที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาเพื่อเจรจาตกลงดังกล่าวเป็นกรณีโจทก์ใช้อุบายพาจำเลยที่ 2 ไปไป สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาไม่เป็นการข่มขู่ให้จำเลยทั้งสองยอมตกลงกับโจทก์.
of 33