คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ กิจสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขับรถประมาททำให้เกิดอุบัติเหตุ: การแซงในที่คับขันและการห้ามล้อกะทันหัน
จำเลยขับรถยนต์โดยสารตามหลังรถยนต์บรรทุกมาตามถนน ก่อนจะถึงสะพานจำเลยได้ขับรถยนต์โดยสารแซงรถยนต์บรรทุกแล้วขับรถเข้าทางด้านซ้ายมือ จำเลยขับรถยนต์โดยสารนำหน้ารถยนต์บรรทุกไปได้อีกเพียงเล็กน้อย จำเลยก็ห้ามล้อรถยนต์โดยสารอย่างกะทันหันเนื่องจากบนสะพานมีรถเข็นคันหนึ่งกำลังแล่นไปในทิศทางเดียวกันและมีรถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมาเป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกซึ่งแล่นตามหลังหยุดไม่ทัน พุ่งเข้าชนท้ายรถยนต์โดยสารที่จำเลยขับทันทีโดย จุดชนอยู่ห่างเชิงสะพานประมาณ 5 เมตร ดังนี้แสดงว่าจำเลยเป็นฝ่ายขับรถโดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถแซงแล้วหักเลี้ยว ทำให้รถชนท้าย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถยนต์ โดย แซง รถยนต์บรรทุกซึ่ง แล่น เกือบจะถึง เชิงสะพาน เมื่อแซง พ้นแล้ว และขณะที่รถยนต์โดยสาร เพิ่งแล่นเข้าทางด้านซ้ายมือตาม ปกติยังแล่นนำหน้ารถยนต์บรรทุก เพียงเล็กน้อยจำเลยก็ห้ามล้อ รถยนต์โดยสารอย่างกะทันหัน เป็นเหตุ ให้รถยนต์บรรทุกซึ่งแล่นตาม หลังหยุดรถไม่ทัน พุ่ง เข้าชนท้าย รถยนต์ โดยสารที่จำเลยขับทันที ดังนี้ เป็นความประมาทในการขับรถของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อในการขับแซงและหักหลบ ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน
จำเลยขับรถยนต์โดยสารตาม หลังรถยนต์บรรทุกมาตามถนน ก่อนจะถึง สะพานจำเลยได้ ขับรถยนต์โดยสารแซง รถยนต์บรรทุกแล้วขับรถเข้าทางด้านซ้าย มือ จำเลยขับรถยนต์โดยสารนำหน้ารถยนต์บรรทุกไปได้ อีกเพียงเล็กน้อย จำเลยก็ห้ามล้อรถยนต์โดยสารอย่างกะทันหันเนื่องจากบนสะพานมีรถเข็นคันหนึ่งกำลังแล่นไปในทิศทางเดียวกันและมีรถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมาเป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกซึ่ง แล่นตาม หลังหยุดไม่ทัน พุ่ง เข้าชนท้าย รถยนต์โดยสารที่จำเลยขับทันทีโดย จุดชนอยู่ห่างเชิงสะพานประมาณ 5 เมตร ดังนี้แสดงว่าจำเลยเป็นฝ่ายขับรถโดยประมาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินมรดก: ศาลพิจารณาความเสียหายจากการแบ่งแยก และการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกันคนละครึ่ง จำเลยครอบครองส่วนด้านทิศเหนือ โจทก์ครอบครองส่วนด้านทิศใต้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งตาม ความยาวของรูปที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติเรื่องการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมว่า "...ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง..." เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการแบ่งที่ดินพิพาทตามความยาวของรูปที่ดินน่าจะทำให้เกิดความเสียหายมากถึงขนาดต้องรื้อบ้านจำเลย ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่มีความประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น และทั้งโจทก์จำเลยได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดอยู่แล้ว จึงไม่ชอบที่จะแบ่งตามความยาวของรูปที่ดินดังที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินมรดก เจ้าของร่วมครอบครองแล้ว ศาลไม่อนุมัติแบ่งตามความยาวรูปที่ดินหากเกิดความเสียหาย
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกันคนละครึ่งจำเลยครอบครองส่วนด้าน ทิศเหนือ โจทก์ครอบครองส่วนด้าน ทิศใต้โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งตาม ความยาวของรูปที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติเรื่องการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมว่า "...ถ้า เจ้าของรวมไม่ตกลง กันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง..." เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการแบ่งที่ดินพิพาทตาม ความยาวของรูปที่ดินน่าจะทำให้เกิดความเสียหายมากถึง ขนาดต้อง รื้อบ้านจำเลย ซึ่ง บทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่มีความประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น และทั้งโจทก์จำเลยได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดอยู่แล้ว จึงไม่ชอบที่จะแบ่งตาม ความยาวของรูปที่ดินดัง ที่โจทก์ขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ครอบครองนานเกิน 10 ปี หากเข้าใจว่าเป็นที่ดินของผู้อื่น ไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยกับพวกเข้าครอบครองที่พิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นของกองทัพบก และรับว่าหากกองทัพบกจะเอาคืน จำเลยกับพวกก็จะคืนให้การครอบครองที่พิพาทของจำเลยกับพวกจึงมีลักษณะเป็นการครอบครองชั่วคราว มิได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จะครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก็หาได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: การกระทำที่แสดงถึงความรู้ว่าทรัพย์เป็นของที่ได้มาจากการลักทรัพย์
จำเลยรู้ว่ายางพาราแผ่นของกลางเป็นทรัพย์ที่คนร้ายไปลักมาแล้วนำไปซ่อน ไว้ การที่จำเลยลงมือเก็บยางพาราแผ่นเตรียมขนไปจึงเป็นการช่วย พาเอาไปเสียซึ่ง ทรัพย์ที่ได้ มา จากการลักทรัพย์จำเลยจึงมีความผิดฐาน รับของโจร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา
ผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ประกันโดยไม่ถูกต้อง ผู้ประกันจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้ว ผู้ประกันไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 (คดีนี้มิใช่เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาประกันโดยตรง แต่พิพาทกันในเรื่องค่าธรรมเนียมถอนการยึด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ผู้ประกันฎีกาได้).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้สิทธิในการคัดค้านสิ้นสุดลง
ผู้ประกันได้ ยื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ยึดทรัพย์ของผู้ประกันโดย ไม่ถูกต้อง แสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่ วันที่ 20 เมษายน 2532 การที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้วผู้ประกันจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา
ผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ประกันโดยไม่ถูกต้อง ผู้ประกันจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้ว ผู้ประกันไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249(คดีนี้มิใช่เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาประกันโดยตรง แต่พิพาทกันในเรื่องค่าธรรมเนียมถอนการยึด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ผู้ประกันฎีกาได้).
of 33