พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำในทางการจ้าง แม้ผู้ครอบครองรถยนต์จะไม่ใช่ตน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 กระทำละเมิดต่อ โจทก์ในทางการจ้าง ของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อ โจทก์ในทางการที่จ้าง ของจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 6 ส่วนจำเลยที่ 2 พิพากษายกฟ้อง จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียง คำพิพากษาศาลชั้นต้นใน ปัญหาข้อนี้ ดังนั้น จำเลยที่ 3ถึง ที่ 6 ซึ่ง เป็นนายจ้างย่อมต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 425 การที่จำเลยที่ 2 จะครอบครองรถยนต์ คันที่จำเลยที่ 1 ขับอยู่ในขณะเกิดเหตุ หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญในการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 6.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุดได้ หากจำเลยไม่คัดค้าน
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 วรรคหนึ่ง โดยนำเงินมาชำระหรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลชอบที่จะยกคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ และการที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไปยังศาลอุทธรณ์ทันทีโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อบกพร่องดังกล่าวก็ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบ แต่เป็นบทบัญญัติที่บังคับผู้อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวให้ต้องปฏิบัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษา หรือหาประกันตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 234 เป็นบทบัญญัติบังคับผู้อุทธรณ์คำสั่งต้อง นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาล และนำเงินมาชำระตาม คำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อ ศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งนั้น หาใช่เป็นหน้าที่ของศาลที่ต้อง แจ้งให้จำเลยทราบไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413-1415/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษา หรือหาประกัน
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 34 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ และการที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไปยังศาลอุทธรณ์ทันทีโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อบกพร่องดังกล่าวก็ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติเช่นนั้น แต่บังคับผู้อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวให้ต้องปฏิบัติหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดีฆ่าเนื่องจากพฤติการณ์ที่ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
จำเลยกับ ส. ฝ่ายหนึ่ง และผู้ตาย โจทก์ร่วม กับ ม.อีกฝ่ายหนึ่งได้ ชกต่อยกัน สาเหตุที่ทั้งสองฝ่ายชกต่อยกันเป็นการสมัครใจวิวาทกัน การที่จำเลยให้การยอมรับว่าได้ ใช้ อาวุธปืนยิงผู้ตายจริง และนำสืบว่าจำเลยเรียก ส. ซึ่ง เป็นหลานของจำเลยให้ออกมาชกต่อยกับโจทก์ร่วม นับว่าเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาและมิได้เกิดจากการจำนนต่อ พยานหลักฐาน จึงมีเหตุสมควรที่จะลดโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 78.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายโดยตรงในคดีฉ้อโกง การฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งแยกต่างหากไม่ถือเป็นความเสียหายโดยตรง
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นหลักประกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยทั้งสองจะต้องไถ่ถอนคืนภายในกำหนด 2 ปี ต่อมาจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้นำเงินมาชำระและยินยอมให้โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวใส่ชื่อจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งข้อหาผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่การกระทำในคดีนี้ เพราะคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ความเสียหายที่จะได้รับจะต้องเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงนั้นโดยตรง แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการถูกฟ้อง ความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการฉ้อโกงต้องเป็นผลโดยตรง การถูกฟ้องเป็นความเสียหายต่างหาก
ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงจะต้อง ได้ รับความเสียหายอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถูก หลอกลวงนั้นโดยตรง การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันหลอกลวงโจทก์ และผลการหลอกลวงเป็นเหตุให้จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายนั้น ถึง แม้โจทก์จะได้ รับความเสียหายจากการถูก ฟ้อง ความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีนี้ และการที่จำเลยได้ ยื่นฟ้องโจทก์เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่การกระทำในคดีนี้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในคดีนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากฉ้อโกงต้องเป็นผลโดยตรง การฟ้องร้องทางแพ่งไม่ใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีอาญา
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยวิธีโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นหลักประกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยทั้งสองจะต้องไถ่ถอนคืนภายในกำหนด 2 ปี ต่อมาจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้นำเงินมาชำระหนี้และยินยอมให้โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวใส่ชื่อจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 ฟ้องเป็นคดีแพ่งข้อหาผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย ดังนี้การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่ากระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นคดีนี้ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจะต้องเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงนั้นโดยตรงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการถูกจำเลยที่ 2 ฟ้อง ก็เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่การกระทำในคดีนี้ ความเสียหายดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีนี้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายโดยตรงจากการฉ้อโกง: การฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งแยกต่างหากมิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีอาญา
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นหลักประกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยทั้งสองจะต้องไถ่ถอนคืนภายในกำหนด 2 ปี ต่อมาจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้นำเงินมาชำระและยินยอมให้โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวใส่ชื่อจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งข้อหาผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่การกระทำในคดีนี้ เพราะคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ความเสียหายที่จะได้รับจะต้องเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงนั้นโดยตรง แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการถูกฟ้อง ความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง.