คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ กิจสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดตามมาตรา 157, 177, 326: หน้าที่, ความเสียหาย, และเจตนาใส่ความ
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น หมายถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานที่ศาลไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)
ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดฐานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ, เบิกความเท็จ, และหมิ่นประมาท: เจ้าพนักงานต้องมีหน้าที่โดยตรง
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น หมายถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานที่ศาลไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิด ม.157, 177, 326: การเบิกความต่อศาลและการใส่ความผู้อื่น ต้องพิจารณาหน้าที่, ผู้เสียหาย, และเจตนา
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้นหมายถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานที่ศาลไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเป็นการป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลยโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบ ดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ, เบิกความเท็จ, และหมิ่นประมาท: การพิเคราะห์เจตนาและหน้าที่
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 157หมายถึง หน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตาม ที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือได้ รับ มอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้า ไม่ เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ จำเลยได้ เบิกความเป็นพยานโจทก์ ซึ่ง การเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้ รับ มอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม มาตรานี้ ป.อ. มาตรา 177 บัญญัติไว้เพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้ รับโทษหรือได้ รับความเสียหาย อันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ ผู้ที่จะเสียหายคือจำเลยในคดีนั้น การที่โจทก์มิได้ถูก ฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลยในคดีดังกล่าวนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง การใส่ความตาม ป.อ. มาตรา 326 ผู้กระทำต้อง มีเจตนาใส่ความผู้อื่น ข้อที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัว โจทก์ในคดีอาญาอื่นเป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน ไม่ใช่ข้อที่จำเลยประสบมาด้วยตนเอง ส่วนข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ไม่ทราบ การเบิกความของจำเลย จำเลยมีเจตนาจะให้ความจริงต่อ ศาลในการพิจารณาคดีตาม ที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้นจำเลยหาได้ มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูก ดูหมิ่น ถูก เกลียดชังแต่ อย่างใดไม่ จึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรานี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรับผิดของธนาคารต่อการปล่อยสินเชื่อที่ดินที่มีราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาด และการประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่
การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการจดทะเบียนรับจำนองที่ดินจากจำเลยที่ 1 ควรจะรู้ว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินมาจากโจทก์และการจดทะเบียนจำนองของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ต่อมาเป็นเรื่องที่ไม่สุจริต อันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 3 ถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจำนองรายนี้เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อในการจดทะเบียนจำนอง ย่อมทำให้สัญญาเป็นโมฆะได้
การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการจดทะเบียนรับจำนองที่ดินจากจำเลยที่ 1 ควรจะรู้ว่าการได้ที่ดินมาจากโจทก์ของจำเลยที่ 1 และการจดทะเบียนจำนองของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ต่อมานั้นเป็นเรื่องที่ไม่สุจริต อันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 3 ถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจำนองรายนี้เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของตัวการรับจำนองที่ควรทราบถึงการกระทำที่ไม่สุจริต ทำให้จำนองโมฆะ
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการจดทะเบียนรับจำนองที่ดินจากจำเลยที่ 1 ควรจะรู้ว่าการได้ที่ดินมาจากโจทก์ของจำเลยที่ 1 และการจดทะเบียนจำนองของจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ต่อมานั้นเป็นเรื่องที่ไม่สุจริตอันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 3 ถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจำนองรายนี้เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง การห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโจทก์ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสิทธิฟ้องอาญาเนื่องจากการถอนคำร้องทุกข์ และผลกระทบต่อการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และฐาน ฉ้อโกง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็ค ประกันหนี้และได้ ชำระหนี้นั้นแล้ว การกระทำของ จำเลยไม่เป็นความผิดตาม ฟ้อง พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ขอถอน คำร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนโดย อ้างว่าจะนำคดีมาฟ้องเอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2) พิพากษายืน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ห้ามฎีกาตามกฎหมาย
แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อกฎหมาย และโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ก็ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13
of 33