พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาเช่าซื้อถือเป็นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำว่า "ทรัพย์" ตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายความรวมถึงสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ ตามมาตรา 350 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงิน แม้ไม่ได้ลงลายมือชื่อ แต่มีส่วนร่วมในการออกเช็ค
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่การที่จำเลยที่ 4 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจแล้วยังเป็นผู้ดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในการออกเช็คชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยวางแผนแบ่งหน้าที่ให้จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ด้วยการกรอกรายการ และลงลายมือชื่อในเช็คแล้วจำเลยที่ 4 รับมา ตรวจ และประทับตราสำคัญจำเลยที่ 1 อันทำให้รายการของเช็คสมบูรณ์เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 4ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจว่า จำเลยร่วมกันออกเช็คที่มีรายการสมบูรณ์เป็นตราสารชำระหนี้ตามกฎหมายตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและหลักฐานการปฏิเสธการจ่ายเงินของธนาคารที่แนบมาท้ายฟ้องเป็นฟ้องที่บรรยายการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดเพียงพอที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในการออกเช็คเพื่อฉ้อโกง แม้ไม่ได้ลงลายมือชื่อ
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท แต่การที่จำเลยที่ 4เป็นกรรมการผู้มีอำนาจแล้วยังเป็นผู้ดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 2ที่ 3 ในการออกเช็คชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยวางแผนแบ่งหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ด้วยการกรอกรายการ และลงลายมือชื่อในเช็คแล้วจำเลยที่ 4 รับมาตรวจและประทับตราสำคัญจำเลยที่ 1 อันทำให้รายการของเช็คสมบูรณ์เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจว่า จำเลยร่วมกันออกเช็คที่มีรายการสมบูรณ์เป็นตราสารชำระหนี้ตามกฎหมายตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและหลักฐานการปฏิเสธการจ่ายเงินของธนาคารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นฟ้องที่บรรยายการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดเพียงพอที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจว่า จำเลยร่วมกันออกเช็คที่มีรายการสมบูรณ์เป็นตราสารชำระหนี้ตามกฎหมายตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและหลักฐานการปฏิเสธการจ่ายเงินของธนาคารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นฟ้องที่บรรยายการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดเพียงพอที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการเตะกระทืบไม่เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
ขณะเกิดเหตุคนที่มาในงานเลี้ยงโกรธผู้ตายที่ยิงปืน จึงต่างคนต่างทำร้ายผู้ตาย โดยจำเลยเพียงเข้าไปเตะและกระทืบผู้ตายซึ่งนั่งอยู่ในครัว มิได้ใช้สิ่งใดเป็นอาวุธทำร้ายร่างกายผู้ตาย จำเลยได้กระทำไปตามลำพังโดยมิได้ร่วมหรือสมคบกับผู้อื่น ประกอบกับปรากฏจากบาดแผลของผู้ตายตามรายงานการชันสูตรพลิกศพว่า ที่เหนือคิ้วขวามีรอยถูกของแข็งตีเป็นบาดแผลยาว 1 นิ้ว ตรงกลางหน้าผากถูกของแข็งยาว 5 นิ้วเศษ ยุบลึกลงไป 1 นิ้ว ใต้ตาขวาถูกของแข็งตีแตกยาว1 นิ้ว โดยบาดแผลแต่ละแห่งนั้นเกิดจากการถูกตีด้วยความแรงจนกะโหลก ศีรษะยุบและแตกเป็นชิ้น ร่างกายส่วนอื่นไม่มีบาดแผลใด และเหตุ ที่ตายเนื่องจากผู้ตายถูกตีด้วยของแข็งอย่างแรงหลายที เป็นเหตุให้กะโหลกศีรษะแตกและยุบ สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรง เชื่อว่าผู้ตายถึงแก่ความตายทันที ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่าที่ จำเลยเตะ และกระทืบผู้ตายมิได้เป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับบาดแผล ดังกล่าว ทั้งร่างกาย ส่วนอื่นนอกจากบาดแผลนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามี บาดแผลหรือรอยฟกช้ำอื่นใด อีกอีก ยังเชื่อไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำผิด กับผู้อื่นโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตายการกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงการ ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 เท่านั้น ความตาย ของผู้ตายมิใช่ผลโดยตรงที่เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่ ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมาย และผูกพัน กทม. ในการชดเชยค่าทดแทน
พระราชบัญญัติ ญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่ง ของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการ ทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะ เจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจ หน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.ผูกพันตามอำนาจหน้าที่ผู้ว่าฯ ในการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกพ.ศ.2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานครเป็นจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้หนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และสิทธิในการเรียกคืนเงินที่นำฝากบัญชีในฐานลาภมิควรได้
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุดเงินสดรับเป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น แสดงว่าโจทก์ต้องชดใช้เงินให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตกเป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้ที่ซ้ำซ้อนและการเรียกร้องเงินคืน
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย เงินของจำเลยมิได้ขาดบัญชีไป เพียงแต่โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุด เงินสดรับ เป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น และโจทก์ได้ชดใช้เงินให้แก่จำเลยแล้วทั้งที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตก เป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3561/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายจ้างชอบด้วยกฎหมาย แม้ใช้คำว่า 'ขอร้อง' หากวิญญูชนเข้าใจได้ว่าเป็นคำสั่ง
ที่หัวกระดาษเอกสารที่มีถึงโจทก์ มีเครื่องหมายและชื่อบริษัทจำเลยพร้อมที่อยู่และวันเดือนปีที่ทำขึ้น ต่อจากนั้นมีข้อความว่า"ถึงคุณอัจฉรา ปั้นน้อย พนักงานบัญชี เรื่องให้ตอกบัตรบันทึกเวลาทำงาน หนังสือฉบับนี้เป็นการขอร้องให้คุณบันทึก เวลาทำงานของคุณที่บริษัทออยล์เท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้เครื่องบันทึกเวลาลงในบัตรทั้งเวลาเริ่มทำงานและเวลาเลิกงาน ขอให้รับบัตรตอกเวลาดังกล่าวได้ที่หัวหน้าของคุณ ลงชื่อ น.รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ" แม้เอกสารดังกล่าวใช้คำว่าขอร้อง แต่โดยสภาพและเนื้อความของเอกสารทั้งฉบับ วิญญูชนที่พบเห็นย่อมทราบดีว่า น.รองประธานฝ่ายปฏิบัติการและกรรมการของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา และถือได้ว่าเป็นนายจ้างของโจทก์ ต้องการที่จะสั่งให้โจทก์ตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานตามข้อบังคับของจำเลยเพียงแต่น. ใช้ถ้อยคำสุภาพเป็นภาษาอังกฤษซึ่งแปลเป็นไทยว่า ขอร้องอันเป็นรูปแบบหนึ่งของการสั่งให้ทำนั่นเอง ดังนั้น เอกสารดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบ เนื่องจากเจ้าของที่ดินรับโอนหลังการก่อสร้างผิดกฎหมาย
แม้จำเลยให้การในข้อแรกว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมดก็ตาม แต่จำเลยได้ให้การในข้อต่อมาเกี่ยวข้องกับ ข้อกล่าวอ้างตามฟ้องประการแรกว่าส. ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจะกระทำการก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ คำให้การของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดว่าเป็นการปฏิเสธฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่า ได้มีการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนที่อนุญาตจริง ตามฟ้องและยังมิได้รื้อถอนตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนข้อเท็จจริง ที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องประการหลัง จำเลยได้ให้การยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองโดยเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 แปลง พร้อมอาคารพิพาทและจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งของโจทก์ที่ให้ทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่เกินจากแบบแปลนที่โจทก์อนุญาตให้ทำการก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดแล้วและจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องทั้งสองประการดังกล่าวโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในฟ้องอีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)และโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งได้ตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,42