คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ กิจสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องยึดข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา และอายุความคดีแพ่ง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โจทก์ที่ 1 เป็นคู่ความและโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวจึงจำต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาด้วยเมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของโจทก์ที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท คดีนี้เป็นคดีแพ่งศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา กล่าวคือต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันแต่แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาเป็นจำนวนชัดเจน และโจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าเสียหายมาไม่เกินสองหมื่นบาทย่อมอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 คงอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์ที่ 3 มิได้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก เมื่อโจทก์ที่ 3ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องถือว่าคดีเฉพาะของโจทก์ที่ 3ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายสภาพยางรถยนต์และความเร็วในการขับขี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ยางล้อหน้าด้านขวามือของรถยนต์ที่จำเลยขับอยู่ในสภาพเก่า และบรรยายว่าจำเลยขับรถลงเนินด้วยความเร็วสูงนั้น เป็นการบรรยายฟ้องประกอบข้อหาที่จำเลยขับรถด้วยความประมาทฟ้องโจทก์ได้บรรยายพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) แล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ายางล้อหน้าด้านขวาของรถยนต์ที่จำเลยขับมีสภาพยางเก่าอย่างไรฟ้องโจทก์ก็สมบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี โดยมิได้ขออนุญาตจากจำเลยและมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะ ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความ จำเลยนำสืบว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยขออนุญาตจากจำเลยโดยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ การนำสืบดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ไม่มีน้ำหนักอันควรรับฟัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ และอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ใต้ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้โจทก์เป็นผู้รื้อโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น ไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลคงพิพากษาให้ว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยรื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้จำเลยไปจดทะเบียนทางภารจำยอมให้โจทก์หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินบำเหน็จของลูกจ้างที่ลาออกจากการถูกลงโทษทางวินัย ต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิด
ข้อบังคับคณะกรรมการการบริหารกิจการของอุตสาหกรรมห้องเย็น ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฎิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2519 ที่แก้ไขแล้ว ข้อ 9(5) กำหนดเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จกรณี ลาออกจากงานไว้ว่า การลาออกของลูกจ้างจะต้องไม่มีความผิดใด ๆโดยไม่ได้กำหนดให้แน่ชัดว่าจะต้องเป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องถูกลงโทษให้ออกจากงานหรือไม่ แต่ตามข้อ 12 ลูกจ้างที่ถูกลงโทษหรือถึงแก่ความตายไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จะต้องกระทำความผิดร้ายแรงถึงขนาดถูกลงโทษให้ออกจากงานหรือในกรณีถึงแก่ความตายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่ไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานประมาท หรือกระทำผิดวินัยร้ายแรงซึ่งถ้าไม่ถึงแก่ความตายเสียก่อนก็จะต้องถูกลงโทษถึงออกจากงานตามข้อบังคับ ดังนั้น ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกเพราะกระทำความผิด แม้ข้อบังคับ ข้อ 9(5) ไม่ได้ระบุไว้ว่าต้องเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อบังคับ ข้อ 12 ดังกล่าว แล้วย่อมแปลความไว้ว่า การที่ลูกจ้างลาออกจากงานเพราะกระทำความผิดและจะไม่มีสิทธิได้รับ เงินบำเหน็จนั้น จะต้องเป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่ว่าถ้าลูกจ้างไม่ลาออกเสียก่อนก็จะต้องถูกลงโทษถึงออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลย มิฉะนั้น ลูกจ้างของจำเลยที่กระทำ ความผิดเล็กน้อยลาออกจากงานก็จะไม่ได้รับบำเหน็จ จะต้อง ทำงานอยู่ตลอดไปจนเกษียณอายุจึงจะได้รับเงินบำเหน็จซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: การปิดบังข้อมูลทายาทเพื่อฉ้อฉลทรัพย์มรดก และการวินิจฉัยสถานะความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.โดยมิได้ระบุว่าผู้ร้องเป็นทายาทและได้ให้ความยินยอมด้วย และบัญชีเครือญาติท้ายคำร้องมีข้อความเพียงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของป. กับ อ. เท่านั้น ยังมิใช่กรณีปิดบังทรัพย์มรดกเพื่อฉ้อฉลทายาทอื่น แม้ในคดีที่ผู้คัดค้านพิพาทกับบุคคลอื่นศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่าผู้คัดค้านไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป.แต่ในคดีดังกล่าวไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป. เพราะเหตุที่ ป.จดทะเบียนสมรสกับ อ. มารดาผู้คัดค้านในภายหลังหรือไม่ ดังนั้นในคดีนี้ศาลชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวซึ่งผู้ร้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โดยตรงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: การพิสูจน์ความเป็นทายาทและเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก
การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.โดยมิได้ระบุว่าผู้ร้องเป็นทายาทและได้ให้ความยินยอมด้วย และบัญชีเครือญาติท้ายคำร้องมีข้อความเพียงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของ ป.กับ อ.เท่านั้น ยังมิใช่กรณีปิดบังทรัพย์มรดกเพื่อฉ้อฉลทายาทอื่น
แม้ในคดีที่ผู้คัดค้านพิพาทกับบุคคลอื่นศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่าผู้คัดค้านไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป. แต่ในคดีดังกล่าวไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป.เพราะเหตุที่ ป.จดทะเบียนสมรสกับ อ.มารดาผู้คัดค้านในภายหลังหรือไม่ ดังนั้น ในคดีนี้ศาลชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวซึ่งผู้ร้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โดยตรงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าสินค้าเป็นสัญญากู้ และน้ำหนักพยานหลักฐานในการพิสูจน์สัญญากู้
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เมื่อจำเลยขอรับเช็คคืน แล้วทำสัญญากู้ให้ไว้กับโจทก์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้บัญญัติมิให้ศาลยอมรับฟังพยานที่เป็นพี่น้องกับคู่ความฝ่ายที่อ้าง โจทก์มี บ. น้องของโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เบิกความยืนยันตรงกับโจทก์ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำนวน 170,000 บาท ส่วนจำเลยเองมีแต่เพียงตัวจำเลยเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นมาสนับสนุนว่ารับสินค้าของโจทก์ไปขาย แล้วโจทก์ให้จำเลยลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ ประกอบกับจำเลยรับราชการเป็นครูการที่จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่มีการกรอกข้อความนั้น ผิดวิสัยของบุคคลที่มีความรู้ทั่ว ๆ ไปคำพยานโจทก์จึงมีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้ดีกว่าพยานจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝึกอบรมต่างประเทศและการเลิกจ้างที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ หากบริษัทเลิกจ้างไม่ถูกต้อง ผู้รับทุนไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ
สัญญารับทุนไปฝึกอบรมต่างประเทศ มีข้อกำหนดไว้ว่าถ้าผู้รับทุนไม่ทำงานให้แก่บริษัทครบตามระยะเวลาทำงานขั้นต่ำหรือผู้รับทุนถูกบริษัทเลิกจ้างก่อนสิ้นสุดระยะเวลาทำงานขั้นต่ำ ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ เว้นแต่กรณีบริษัทเลิกจ้างโดยฝ่าฝืนระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท ผู้รับทุนต้องใช้เงินเบี้ยปรับแก่บริษัทนั้นข้อความที่ระบุว่า "เว้นแต่กรณีบริษัทเลิกจ้างโดยฝ่าฝืน ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท" มีความหมายว่า บริษัทเลิกจ้างผู้รับทุนโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท เมื่อระเบียบข้อบังคับในการทำงานของโจทก์ระบุเกี่ยวกับการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ว่าละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ดังนี้ การที่จำเลยผู้รับทุนละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 16 พฤษภาคม 2533 เป็นเวลา 13 วันติดต่อกันโจทก์จึงเลิกจ้างจำเลยโดยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฉะนั้นจำเลยต้องชดใช้เงินเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเลิกจ้าง: การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาและลักษณะงานชั่วคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ข้อ 7 กรณีสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้น นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างต่อเมื่อได้ความด้วยว่าเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงลักษณะงานดังกล่าวไว้ ปัญหาว่าการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
of 33