พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การรับรู้ของผู้แทนกรมทางหลวง vs. ข้าราชการในสังกัด
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดยฟังว่าพนักงานของโจทก์ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนฟ้องเกิน 1 ปีการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นเรื่องผิดต่อกฎหมายเนื่องจากโจทก์เป็นกรมในรัฐบาล มีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ ตามประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 218ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 32 วรรคสอง อธิบดีจึงเป็นผู้แทนของกรมแต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ ไม่จำต้อง ถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ผิดต่อกฎหมาย และมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานปากเดียว และการรับฟังพยานหลักฐานโดยรวม
ขณะที่โจทก์ร่วมที่ 2 นอนอยู่ที่ห้องโถงซึ่งมีหลอดไฟนีออนขนาดใหญ่เปิดไว้ ได้ยินเสียงคนขึ้นบันไดบ้านจึงลืมตาดู เห็นจำเลยที่ 2 กับคนร้ายอีกสองคน ต่างถืออาวุธปืนสั้นคนละกระบอกเดินขึ้นบันได จำเลยที่ 2เดินเข้าไปในห้องนอนของบุตรสาวโจทก์ร่วมที่ 1ซึ่งอยู่อีกห้องนอนหนึ่ง แล้วจำเลยที่ 2 ออกจากห้องนั้นมาค้นตัวโจทก์ที่ 2 ถามหาทรัพย์สิน จำเลยที่ 2 ให้โจทก์ร่วมนอนตะแคงหันหน้าเข้าข้างฝา จากนั้นจำเลยที่ 2 ลงไปข้างล่าง หลังจากนั้นคนร้ายอีกคนหนึ่งก็พาโจทก์ร่วมที่ 2 ลงมาข้างล่าง ซึ่งมีไฟฟ้าเปิดไว้อยู่แล้ว เห็นจำเลยที่ 2 จะไม่ได้บอกถึง ลักษณะคนร้ายให้โจทก์ร่วมที่ 1 และเจ้าพนักงานตำรวจ ที่มาที่เกิดเหตุฟังก็ไม่พิรุธถึงขนาดที่จะรับฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ร่วมที่ 2 ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนถึงลักษณะ ของคนร้าย หลังจากเกิดเหตุในวันนั้นเป็นเวลาไม่นาน ข้อเท็จจริงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมที่ 2เห็นและจำเลยที่ 2 ได้ว่าเป็นคนร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในชั้นอุทธรณ์และขอบเขตการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า ขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งทรัพย์ที่ปล้นมาหรือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดดังนี้ ข้อหาปล้นทรัพย์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย เป็นการพิพากษาเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 215.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยเกินคำขอในอุทธรณ์: ความชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า ขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งทรัพย์ที่ปล้นมาหรือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดดังนี้ ข้อหาปล้นทรัพย์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย เป็นการพิพากษาเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานงาน แม้เป็นการพ้นจากตำแหน่งโดยผลของกฎหมาย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็น การ กำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงานและเป็น บทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้นส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือ ไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งได้ให้ความหมายของคำว่าการเลิกจ้างไว้ว่า การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 อันหมายถึงการที่ให้นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดที่ระบุไว้ ดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทุกคนพ้นจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเพราะเกษียณอายุ จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด vs. นายหน้า: การซื้อขายไม่ผูกพันเจ้าของหากจำเลยที่ 2 เป็นเพียงนายหน้า
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้พาจำเลยที่ 1 มาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน จากโจทก์จำนวนหนึ่งและก่อนหน้านี้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 2 ก็เป็นเช่นนี้ตลอดมา จำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงนายหน้า เท่านั้นหาใช่เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์ไม่ การซื้อขายรถยนต์พิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 จะขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทตามฟ้องแย้งไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการบังคับคดีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ ผู้จัดการมรดกต้องยื่นคัดค้านก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าผู้จัดการมรดกของจำเลยไม่ได้รับการแจ้งการยึดและประกาศขายทอดตลาดที่พิพาทอันเป็นบังคับคดีฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 306 ก็ตาม แต่เมื่อผู้จัดการมรดกของจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเข้ามาภายหลังจากการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงแล้ว จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการบังคับคดีได้ ตามมาตรา 296 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 บัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนด คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของพนักงาน และเป็นบทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง ที่แก้ไขแล้ว เมื่อจำเลยให้โจทก์ พ้น จากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุ อันเป็นการให้ออกจากงานโดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามข้อ 47 จึงเป็นการเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุเป็นการออกจากงานตามกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ ถึงลักษณะงานว่าได้จ้างโจทก์เป็นครั้งคราว เป็นการจรเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ อันจะถือเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ แม้ศาลวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันหนี้ ไม่ใช่ชำระหนี้ ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการจำหน่ายหางพ่วงรถเทรลเลอร์ และค่าดอกเบี้ย หากจำเลยจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวได้จะนำเงินมาแลกเช็คพิพาทนั้นคืน ดังนี้จำเลยมิได้ประสงค์จะออกเช็คพิพาทให้เป็นการชำระหนี้ แต่เป็นการออกเพื่อให้ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าจ้างทำของและการติดตามทรัพย์คืน: ศาลวินิจฉัยอายุความ 2 ปีสำหรับค่าจ้าง และไม่มีอายุความสำหรับติดตามทรัพย์
การฟ้องเรียกค่าจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 มีกำหนดอายุความ2 ปี นับแต่วันรับมอบงาน โจทก์สร้างบ้านและรั้วพิพาทเสร็จส่งมอบให้จำเลยเมื่อเดือนตุลาคม 2526 และจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2526 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2528 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเอาไม้แบบพิพาทของโจทก์ไปทำสะพานทางเดินและเรียกทรัพย์หรือราคาทรัพย์ดังกล่าวคืนนั้นเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ