คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ กิจสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งเอกสารให้คู่ความ
จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533 เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2533 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ทนายจำเลยลงชื่อทราบนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533 ให้รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์ ให้จำเลยนำส่งใน 7 วัน เมื่อทนายจำเลยได้ลงชื่อทราบนัดฟังคำสั่งไว้ก่อนแล้ว กรณีถือว่าจำเลยทราบคำสั่งนั้นโดยชอบ การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: เมื่อไม่เคยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมหมดสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง หมายถึงยกฟ้องโจทก์ร่วมด้วย เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีของโจทก์ร่วมจึงยุติ โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับและคำสั่งโยกย้ายพนักงาน มิใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากไม่กระทบสิทธิประโยชน์เดิม
ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 23 ว่าด้วยการจัดระเบียบการบริหารงาน ข้อ 33 กำหนดว่า "การกำหนดอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายข้อบังคับนี้" และบัญชีอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดหน่วยงานและจำนวนพนักงานในแต่ละหน่วยงานว่ามีจำนวนเท่าใดอยู่ในระดับใดบ้างเท่าใด เช่นนี้ข้อบังคับของจำเลยข้อนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งหน่วยงานโดยกำหนดอัตรากำลัง และระดับในแต่ละหน่วยงานอันมีลักษณะเป็นวิธีการบริหารงานบุคคลในหน่วยงานเท่านั้นไม่มีลักษณะที่เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมิได้มีลักษณะที่เป็นเงื่อนไขในการทำงาน กำหนดวันเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการการเลิกจ้าง การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคสามและมาตรา 11 จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขได้เพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารงานบุคคลตามฐานะแห่งกิจการของจำเลยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องแจ้งข้อเรียกร้องหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์จากตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการบริหารระดับ 9 ไปรักษาการตำแหน่งหัวหน้าผู้ตรวจสอบภายใน ระดับ 9 เช่นเดิมมิใช่เป็นการลดระดับโจทก์และโจทก์ได้รับเงินเดือน ผลประโยชน์และสวัสดิการเท่าเดิม เช่นนี้เป็นการใช้ดุลพินิจ กำหนดบุคคลในตำแหน่งงานที่เหมาะสม มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างส่วนที่อ้างว่าการโยกย้ายโจทก์ไปทำให้โจทก์ต้องสูญเสียสิทธิในการใช้รถยนต์อันเป็นสวัสดิการเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ข้อนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ตามความเหมาะสม แม้ตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์จะไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่งก็ตามไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เท่ากับศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า รถยนต์ที่โจทก์มีสิทธิได้รับอยู่ก่อนนั้นมิใช่เป็นสวัสดิการ ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่ารถยนต์ที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นสวัสดิการ จึงเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: ราคาเหมาะสมและดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยมิได้โต้แย้งว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ใช้ดุลพินิจในการขายโดยไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ให้แก่ผู้ประมูลราคาสูงสุดโดยเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรแล้ว จำเลยจะรื้อฟื้นขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าเป็นการขายในราคาต่ำหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความประมาทเลินเล่อจำวันนัดสืบพยานคดีผิดพลาด ศาลฎีกาตัดสินให้รับผิดชอบความเสียหาย
ทนายความจะต้องจดวันนัดพิจารณาจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาล การที่จำเลยซึ่งเป็นทนายความของโจทก์อ้างว่าจำวันนัดสืบพยานผิดพลาดตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานศาล จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง หาใช่เหตุสุดวิสัยไม่และเมื่อจำเลยไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจนศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เพราะกรณีแห่งคดีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทนายความต่อความเสียหายจากความบกพร่องในการจดวันนัด และการไม่จำเป็นต้องบอกกล่าว ก่อนฟ้องคดี
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นทนายความว่าต่าง จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นทนายความดำเนินคดีแทน ถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ไม่ไปศาลเพราะจดวันนัดผิด ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีดังนี้เพื่อความไม่ประมาท จำเลยที่ 2 จะต้องจดวันนัดสืบพยานจากรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ การที่จำเลยที่ 2 จำวันนัดสืบพยานผิดพลาดจึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 2เอง หาได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยไม่ การฟ้องคดีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดที่บังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้อง ดังนั้น โจทก์จะบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามบันทึกข้อตกลง และการใช้สิทธิประโยชน์จากสัญญาโดยบุคคลภายนอก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทประการหนึ่งและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ที่ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงอีกประการหนึ่ง ถือว่าเป็นฟ้องที่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว เป็นคำฟ้องที่ไปด้วยกันได้ไม่ขัดกันและไม่เคลือบคลุมแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่โอนกรรมสิทธิ์ส่วนที่ระบาย สีแดงให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงของจำเลยทั้งสี่กับ บ. เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกใช้สิทธิถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยทั้งสี่กับ บ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง หาใช่โจทก์ฟ้องให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญาจะซื้อขายเป็นเพียงสำเนาต้นฉบับไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้นั้น จึงไม่ใช่ข้อสำคัญของคดี และเป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด จำเลยที่ 1 ฎีกาว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเสน่หาไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น ปัญหาข้อนี้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งถือว่าจำเลยที่ 1 ได้สละประเด็นนี้แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์จากสัญญาระหว่างบุคคลภายนอกกับคู่สัญญา การครอบครองปรปักษ์ และผลของการไม่จดทะเบียนนิติกรรม
คำบรรยายฟ้องของโจทก์อ้างว่า โจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทประการหนึ่ง และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ที่ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงระหว่าง บ.กับจำเลยอีกประการหนึ่ง การบรรยายฟ้องของโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นคำฟ้องที่ไปด้วยกันได้ ไม่ขัดกันและไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงของจำเลยกับ บ. เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกใช้สิทธิถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยกับบ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคสอง หาใช่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่ ฉะนั้นสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ บ. จะมีหรือไม่ และต้นฉบับจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อสำคัญของคดี และเป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นไว้และจำเลยมิได้โต้แย้ง ถือว่าจำเลยสละประเด็นนี้แล้ว ฎีกาของจำเลยในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง การครอบครองที่ดินหลังครบกำหนดไถ่ถือเป็นการละเมิด เจ้าของสิทธิไม่สละสิทธิจากการเสียภาษี
โจทก์และจำเลยไปทำสัญญากันที่สำนักงานที่ดินอำเภอเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำสัญญาแล้วได้อ่านข้อความให้ฟังจำเลยบอกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ต้องการทำสัญญาจำนองไม่ต้องการทำสัญญาขายฝาก โจทก์บอกจำเลยว่าทำสัญญาขายฝากก็เหมือนสัญญาจำนอง เมื่อจำเลยได้ปรึกษากับสามีแล้วจึงได้ตกลงทำสัญญาขายฝาก ดังนี้ การทำสัญญาขายฝากดังกล่าวจึงเป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์และด้วยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากนี้หาใช่เป็นนิติกรรมอำพรางไม่ การที่จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยครอบครอง ที่ดินพิพาทในฐานะอาศัยโจทก์มาแต่แรก และจำเลยไม่เคยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครอง ดังนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่พิพาทต่อมาอีกนานเท่าใดก็ตามโจทก์ก็ไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น และผลของการเสียภาษีบำรุงท้องที่ต่อการครอบครอง
การที่จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้เห็นการกระทำดังกล่าว มิใช่เป็นการแย่งการครอบครองและไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอาศัยโจทก์มาแต่แรกและไม่เคยบอกกล่าวว่าจะเปลี่ยนลักษณะการครอบครองโดยจะยึดถือเพื่อตน แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาอีกนานเท่าใด โจทก์ก็ไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในหนึ่งปี
of 33