คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิต ประไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยก่อนฟ้องคดีค่าทดแทนแรงงาน: เงื่อนไขการฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมกำแพงเพชร ซึ่งคำสั่งดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาล โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้อันเป็นเงื่อนไขในการยื่นฟ้อง ซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อน เพราะหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลแรงงานกลางที่จะต้องมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ และเมื่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจที่จะรับคำฟ้องโจทก์ไว้ได้ก็ย่อมมีอำนาจรับเงินที่ต้องวางต่อศาลดังกล่าวได้ด้วย โดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้วางเงินต่อศาลจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่และดื่มเบียร์ในเวลางาน: ค่าชดเชยและการจ่ายดอกเบี้ย
การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงานถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงาน และจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เฉพาะในวันที่ 16 ตุลาคม 2536 ตั้งแต่เวลา 16.20 นาฬิกา มิใช่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) ลักษณะงานที่โจทก์ทำมิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้าง และไม่ปรากฏว่าโจทก์มึนเมาเพียงใด แม้ตามข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยก็มิใช่จะต้องถือว่าการทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เคยตักเตือนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงาน ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเสียและเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ ลักษณะงานที่โจทก์ทำอยู่คือหน้าที่ขัดเงาในบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับกาย มิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้างหรือเป็นอันตรายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ทั้งเป็นการดื่มเบียร์ในขณะที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ทำอยู่ไปและไม่ปรากฎว่าโจทก์มึนเมาหรือไม่เพียงใดการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) แม้จำเลยจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานว่าจำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยถ้าพนักงานเสพสุรามึนเมาในขณะปฏิบัติงาน ก็มิใช่จะต้องถือว่าการกระทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงทุกเรื่องไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือในเรื่องดังกล่าวมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป ต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลรับฟังพยานบอกเล่าได้ หากมีเหตุผลประกอบ
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลรับฟังพยานบอกเล่าได้ หากมีเหตุผลประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ ไม่ขัดกฎหมาย
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: คำด่าที่ไม่ร้ายแรงและการจ่ายค่าชดเชย
ถ้อยคำที่โจทก์ด่านางวันทนีย์ว่า "อีหัวล้าน" เป็นเพียงคำไม่สุภาพ ไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง การที่จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทอย่างร้ายแรงและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย จำเลยจึงยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ การที่โจทก์กล่าวเพียงคำว่า "อีหัวล้าน" เท่านั้น มิได้กล่าววาจาหรือแสดงกริยาอื่นใดอีก เพียงถ้อยคำซึ่งกล่าวด้วยอารมณ์ผิดหวังและไม่พอใจจากการที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิจารณาเหตุผลเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างและพฤติการณ์ก่อนเกิดเหตุ
ตามคำสั่งเลิกจ้าง นายจ้างระบุในคำสั่งเลิกจ้างว่า ลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรงและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างเท่านั้น เท่ากับนายจ้างประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างทั้งสองประการดังกล่าวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อนายจ้างถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ การที่นายจ้างยกเหตุว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นต่อสู้ ศาลย่อมไม่รับวินิจฉัย นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามกำหนดเวลาซึ่งถือว่าเป็นการผิดสัญญาและไม่ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ย่อมทำให้ลูกจ้างผิดหวังเกิดความรู้สึกไม่พอใจนายจ้าง และมายืนออกันอยู่ที่หน้าโรงงาน เมื่อเห็นนายจ้างขับรถผ่านมาลูกจ้างได้กล่าวถ้อยคำว่า "อีหัวล้าน" ต่อนายจ้างซึ่งกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงความไม่พอใจต่อนายจ้างอันมีผลสืบเนื่องมาจากการที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ นอกจากถ้อยคำดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างก็มิได้กล่าววาจาหรือแสดงกริยาอย่างอื่นใดประกอบอีก เพียงถ้อยคำซึ่งกล่าวด้วยอารมณ์ผิดหวังดังเช่นกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง และถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงถ้อยคำที่ไม่สุภาพไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นนายจ้างซึ่งหน้า จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: เมื่อผู้คัดค้านไม่ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นทายาท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องเพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำร้องขอของผู้ร้องเมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ยื่นฎีกา คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาอีกว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายหรือไม่ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นทายาทเมื่อไม่มีการฎีกา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งผู้ร้องเพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของ อ.ตามคำร้องขอของผู้ร้อง และผู้คัดค้านไม่ได้ยื่นฎีกา จึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกาตามฎีกาของผู้ร้องอีกว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. เจ้ามรดกหรือไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นทายาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาตามคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งผู้ร้องเพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามคำร้องขอของผู้ร้อง และผู้คัดค้านไม่ได้ยื่นฎีกา จึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกาตามฎีกาของผู้ร้องอีกว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. เจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 66