พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันคำพิพากษาในคดีก่อน แม้ฝ่ายฟ้องแตกต่างกัน หากประเด็นข้อพิพาทเป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนจำเลยได้ฟ้องโจทก์ว่า โจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้รับจำเลยกลับเข้าทำงาน หรือให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไป ขอให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยดังนี้ เมื่อเหตุที่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยมิได้กระทำผิดซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปหรือไม่ จำเลยจึงเถียงข้อเท็จจริงให้ผิดแผกแตกต่างไปจากคดีก่อนมิได้ ต้องฟังว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ขาดบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผิดสัญญาจ้างแรงงาน เริ่มนับจากวันที่สิทธิเรียกร้องบังคับได้ ไม่ใช่วันไล่ออก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่ติดตามทวงถามลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แต่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนคดีขาดอายุความทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย และให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงานและเรียกค่าเสียหาย อายุความของสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นต้นไปศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อนาย ส.ขาดอายุความ ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2525 และสิทธิเรียกร้องที่มีต่อนายต. ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2524 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้นับแต่วันที่หนี้แต่ละรายดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2536 เป็นเวลาเกิน10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้าง กรณีละเลยหน้าที่ทวงหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ติดตามทวงถามลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนคดีขาดอายุความ ทำให้โจทก์เสียหายและเรียกค่าเสียหาย เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ เมื่อสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อนาย ส. ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2525 และสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อคู่กรณีที่ขับรถชนรถยนต์ของโจทก์ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2524 ดังนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้นับแต่วันที่หนี้แต่ละรายดังกล่าวขาดอายุ-ความ โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 24 มีนาคม 2536 จึงเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างแรงงาน เริ่มนับจากวันที่สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเกิด ขึ้นเมื่อหนี้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ติดตามทวงถามลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์ ไม่ปฎิบัติตามหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนคดีขาดอายุความ ทำให้โจทก์เสียหายและเรียกค่าเสียหาย เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้เมื่อสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อนาย ส. ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2525 และสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อคู่กรณีที่ขับรถชนรถยนต์ของโจทก์ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2524ดังนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้นับแต่วันที่หนี้แต่ละรายดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 24 มีนาคม 2536 จึงเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เวลาพักงาน: แม้เวลาพักแต่ละช่วงไม่ครบ 20 นาที แต่หากรวมแล้วไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ไม่ถือว่าลูกจ้างถูกบังคับทำงานเกินเวลา
ศาลแรงงานกลางได้พิพากษายกฟ้องของโจทก์ที่ 14 แล้วจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งหมด อุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ที่ 14 จึงมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยจัดเวลาพักให้แก่ลูกจ้างเป็น 3 ช่วง คือ10-11.10 นาฬิกา 12.15-16 นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกาแม้เวลาพักช่วง 10-10.10 นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกาจะเป็นการพักน้อยกว่าครั้งละ 20 นาที ไม่ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคสองแต่เวลาทั้งสองช่วงดังกล่าวจำเลยกำหนดไว้ให้ลูกจ้างได้หยุดพักและอยู่ในระหว่างเวลาทำงาน จึงต้องนับเป็นเวลาพักด้วย เมื่อรวมกับเวลาพักช่วง 12.15-13 นาฬิกา แล้วจำเลยกำหนดเวลาพักให้โจทก์แต่ละคนวันละ 1 ชั่วโมง 5 นาทีไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 6 วรรคหนึ่ง ส่วนการที่จำเลยกำหนดเวลาพักไม่ถูกต้อง ก็หาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดให้โจทก์เรียกค่าจ้างเพราะเหตุดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เวลาพักทำงาน: แม้พักไม่ต่อเนื่อง แต่รวมแล้วเกิน 1 ชม. ไม่ถือว่าลูกจ้างถูกเอารัดเอาเปรียบ
จำเลยจัดเวลาพักให้แก่ลูกจ้างเป็น 3 ช่วง คือ 10-10.10 นาฬิกา12.15-13 นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกา แม้เวลาพักช่วง 10-10.10นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกา จะเป็นการพักน้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีไม่ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 6 วรรคสอง แต่เวลาที่กำหนดไว้ทั้งสองช่วงดังกล่าว จำเลยกำหนดให้ลูกจ้างได้หยุดพักและอยู่ในระหว่างเวลาทำงาน จึงต้องนับเป็นเวลาพักด้วย เมื่อรวมแล้วเป็นเวลาพักวันละ 1 ชั่วโมง 5 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคแรก กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีเวลาพักเพียงวันละ 45 นาที ทั้งการที่จำเลยกำหนดเวลาพักไม่ถูกต้องก็หาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดให้โจทก์เรียกค่าจ้างเพราะเหตุดังกล่าวได้ กรณีมิใช่การกำหนดเวลาพักน้อยกว่าวันละ 1ชั่วโมง อันจะถือว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติในแต่ละวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องข้อเท็จจริง: อาณาเขตที่ดิน ค่าเช่า และการทำแผนที่พิพาท เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่อุทธรณ์ได้
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์เรื่องอาณาเขตที่ดินโจทก์ รัศมีถนนและบ้านจำเลยอยู่เขตทางหลวงเพียงใดและค่าเสียหายไม่ควรเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด ล้วนเป็นปัญหาข้อเท็จจริง การที่จะสั่งให้มีการทำแผนที่พิพาทใหม่หรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้มีการทำแผนที่พิพาทใหม่ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, การพิสูจน์ข้อเท็จจริง, และการยึดหน่วงเงินประกันในคดีแรงงาน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การทะเลาะวิวาทระหว่างโจทก์กับ ฉ.เป็นการโต้เถียงเพียงเล็กน้อยไม่ร้ายแรง หลังจากเลิกรากันแล้วอ.ได้ขึ้นมาบนรถจึงมีการทะเลาะวิวาทกันระหว่างอ.กับฉ.อีกครั้งหนึ่ง และ อ.ได้ทำร้ายร่างกายฉ. โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำ ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ได้ร่วมกับอ.บุตรชายโจทก์ทำร้ายฉ. ดังที่ศาลแรงงานวินิจฉัยหรือไม่เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์ที่ว่า โจทก์ได้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติและทำงานในวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ว่าโจทก์นำสืบไม่ถึงในส่วนที่เกี่ยวกับเวลาทำงานที่เกินจากปกติ ตลอดจนส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานในวันหยุดตามประเพณีหรือในวันหยุดพักผ่อนประจำปี ศาลแรงงานจึงไม่กำหนดค่าทำงานและค่าจ้างให้ตามที่โจทก์เรียกร้อง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์วางเงินประกันจำนวน5,000 บาท ต่อจำเลยเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์ได้ทำงานมาตลอดตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี 2535 ในเดือนที่มีการเลิกจ้างจำเลยแสดงหนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์รับสภาพต่อจำเลยในช่วงปี 2534 นอกจากนี้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีกตามเอกสารหมาย ล.3 พยานโจทก์ไม่อาจหักล้างเรื่องหนี้ที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ในระหว่างการทำงานให้จำเลย ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงเงินประกันได้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้ให้จำเลยไปแล้วความเสียหายตามเอกสารหมาย ล.3 ไม่ยืนยันว่าโจทก์จะต้องรับผิดทางแพ่ง จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลแรงงานและการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายในคดีแรงงาน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การทะเลาะวิวาทระหว่างโจทก์กับ ฉ.เป็นการโต้เถียงเพียงเล็กน้อยไม่ร้ายแรง หลังจากเลิกรากันแล้ว อ.ได้ขึ้นมาบนรถจึงมีการทะเลาะวิวาทกันระหว่าง อ.กับ ฉ.อีกครั้งหนึ่ง และ อ.ได้ทำร้ายร่างกายฉ. โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำ ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ได้ร่วมกับ อ.บุตรชายโจทก์ทำร้าย ฉ.ดังที่ศาลแรงงานวินิจฉัยหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัย
อุทธรณ์โจทก์ที่ว่า โจทก์ได้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ และทำงานในวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ว่าโจทก์นำสืบไม่ถึงในส่วนที่เกี่ยวกับเวลาทำงานที่เกินจากปกติตลอดจนส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานในวันหยุดตามประเพณีหรือในวันหยุดพักผ่อนประจำปีศาลแรงงานจึงไม่กำหนดค่าทำงานและค่าจ้างให้ตามที่โจทก์เรียกร้อง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์วางเงินประกันจำนวน5,000 บาท ต่อจำเลยเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์ได้ทำงานมาตลอดตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี 2535 ในเดือนที่มีการเลิกจ้างจำเลยแสดงหนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์รับสภาพต่อจำเลยในช่วงปี 2534 นอกจากนี้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีกตามเอกสารหมาย ล.3 พยานโจทก์ไม่อาจหักล้างเรื่องหนี้ที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ในระหว่างการทำงานให้จำเลย ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงเงินประกันได้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้ให้จำเลยไปแล้ว ความเสียหายตามเอกสารหมาย ล.3 ไม่ยืนยันว่าโจทก์จะต้องรับผิดทางแพ่ง จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
อุทธรณ์โจทก์ที่ว่า โจทก์ได้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ และทำงานในวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ว่าโจทก์นำสืบไม่ถึงในส่วนที่เกี่ยวกับเวลาทำงานที่เกินจากปกติตลอดจนส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานในวันหยุดตามประเพณีหรือในวันหยุดพักผ่อนประจำปีศาลแรงงานจึงไม่กำหนดค่าทำงานและค่าจ้างให้ตามที่โจทก์เรียกร้อง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์วางเงินประกันจำนวน5,000 บาท ต่อจำเลยเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์ได้ทำงานมาตลอดตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี 2535 ในเดือนที่มีการเลิกจ้างจำเลยแสดงหนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์รับสภาพต่อจำเลยในช่วงปี 2534 นอกจากนี้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีกตามเอกสารหมาย ล.3 พยานโจทก์ไม่อาจหักล้างเรื่องหนี้ที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ในระหว่างการทำงานให้จำเลย ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงเงินประกันได้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้ให้จำเลยไปแล้ว ความเสียหายตามเอกสารหมาย ล.3 ไม่ยืนยันว่าโจทก์จะต้องรับผิดทางแพ่ง จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมจำเลยร่วมในคดีแพ่ง: ศาลอนุญาตได้หากจำเลยเดิมอาจต้องรับผิดในฐานะตัวการหรือนายจ้าง
ตามคำฟ้องของโจทก์ นอกจากโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ประกอบการขนส่งใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน 80-1646 นนทบุรี แล้วโจทก์ยังระบุอีกว่า จำเลยเป็นนายจ้างหรือตัวการได้ใช้จ้างวานหรือเชิดให้ผู้มีชื่อซึ่งเป็นลูกจ้าง หรือตัวแทนขับรถคันดังกล่าว ดังนั้นแม้ต่อมาโจทก์จะแถลงว่ารถคันดังกล่าวเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิใช่ของจำเลยก็ตามแต่จำเลยอาจต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างหรือตัวการตามคำฟ้องอีกได้ จึงต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จำเลยก่อน การที่โจทก์ขอและศาลมีคำสั่งให้เรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่มีผลต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. โดยเฉพาะ และไม่ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด โจทก์จึงชอบจะขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีได้ หาต้องฟ้องเป็นอีกคดีต่างหากไม่