พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่จ่ายค่าล่วงเวลาขัดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โมฆะ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
การทำงานนอกเวลาทำงานปกติถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลาลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย การที่นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงงดจ่ายค่าล่วงเวลาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นโมฆะ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขับรถของจำเลยมีเวลาทำงานตามปกติแน่นอนตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกาดังนั้น ระยะเวลาทำงานที่นอกเวลาปกตินี้ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยการที่นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าล่วงเวลาของลูกจ้าง แม้มีข้อตกลงงดจ่าย ก็ไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขับรถของจำเลย มีเวลาทำงานตามปกติแน่นอนตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกาถึง 17 นาฬืกา ดังนั้น ระยะเวลาทำงานที่นอกเวลาปกตินี้ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย การที่นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีเกี่ยวพันกันและการนับโทษต่อกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีเจ็ดสำนวนรวมกันเพราะเป็นคดีเกี่ยวพันกัน จึงลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกอย่างสูงห้าปีทั้งเจ็ดสำนวน และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษฐานปลอมรอยตราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 251 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมีโทษจำคุกอย่างสูงถึงเจ็ดปี โดยศาลอุทธรณ์กับศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยไว้สำนวนละ 1 ปี 4 เดือน เมื่อรวมโทษที่โจทก์ฟ้องเจ็ดสำนวน เป็นจำคุกทั้งหมด 9 ปี 4 เดือนไม่เกินยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จึงนับโทษจำคุกจำเลยต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางโดยยินยอมไม่ก่อให้เกิดภารจำยอม และประเด็นศาลวินิจฉัยเกินคำขอ
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดย ส. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินยินยอมให้ใช้ เมื่อเป็นการใช้โดยเจ้าของที่ดินยินยอม แม้จะเป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่ได้ภารจำยอม โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขออุทธรณ์ของโจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว ก็ต้องวินิจฉัยในประเด็นข้อต่อไปว่า โจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภารจำยอมบนถนน จะมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสี่รื้อถอนกำแพงออกจากถนนพิพาทได้หรือไม่ และตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมบนถนนพิพาทขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนกำแพงออกไป และในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มีคำขอให้พิพากษาตามฟ้องของโจทก์ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงมิได้พิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางพิพาทโดยยินยอมไม่ก่อให้เกิดภาระจำยอม และประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดย ส.เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินยินยอมให้ใช้ เมื่อเป็นการใช้โดยเจ้าของที่ดินยินยอม แม้จะเป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่ได้ภาระจำยอม
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขออุทธรณ์ของโจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว ก็ต้องวินิจฉัยในประเด็นข้อต่อไปว่าโจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภาระจำยอมบนถนน จะมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสี่รื้อถอนกำแพงออกจากถนนพิพาทได้หรือไม่ และตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมบนถนนพิพาท ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนกำแพงออกไป และในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มีคำขอให้พิพากษาตามฟ้องของโจทก์ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงมิได้พิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขออุทธรณ์ของโจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว ก็ต้องวินิจฉัยในประเด็นข้อต่อไปว่าโจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภาระจำยอมบนถนน จะมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสี่รื้อถอนกำแพงออกจากถนนพิพาทได้หรือไม่ และตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมบนถนนพิพาท ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนกำแพงออกไป และในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มีคำขอให้พิพากษาตามฟ้องของโจทก์ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงมิได้พิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบความปลอดภัยของนายจ้าง มิถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แม้จำเลยจะพิสูจน์ไม่ได้ว่าการที่คนร้ายลักข้าวสารไปนั้นเพราะความผิดของโจทก์ แต่การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบอันเกี่ยวกับความปลอดภัยในทรัพย์สินของจำเลยเป็นอาจิณและข้าวสารของจำเลยจำนวนมากถูกคนร้ายลักไปในระหว่างที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยขาดความเชื่อถือและไว้วางใจโจทก์ที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปแล้ว จำเลยจึงมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการแก้ไขโทษทางวินัยต้องไม่กระทบสิทธินายจ้างและสร้างความเสมอภาคในการลงโทษ
อำนาจในการที่จะลดโทษให้แก่ลูกจ้างที่กระทำผิดนั้นเป็นอำนาจของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างโดยเฉพาะ มิฉะนั้นแล้วหากมีกรณีลูกจ้างอื่นที่มิใช่กรรมการลูกจ้างกระทำความผิดอย่างเดียวกันและผู้ร้องได้ลงโทษลูกจ้างนั้นตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยไม่มีการลดโทษเลย โทษที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษกรรมการลูกจ้างจะเบากว่าโทษที่ผู้ร้องลงแก่ลูกจ้างอื่น การลงโทษลักลั่นกันเช่นนี้ลูกจ้างอื่นอาจเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับลูกจ้างและเป็นผลเสียต่อการบังคับบัญชาลูกจ้างของผู้ร้อง จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ศาลแรงงานกลางจะใช้อำนาจตาม มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ในอันที่จะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากคำให้การเดิม ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบด้วยกระบวนพิจารณา
จำเลยให้การว่า ว. กับพวกมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เพราะได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมเสียงข้างมากมิใช่ผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ว. กับพวกลงลายมือชื่อฟ้องคดีนี้จึงไม่ใช่การกระทำของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ว. กับพวกไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นธนาคารโจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการตามข้อบังคับธนาคารโจทก์ ไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อแต่งทนายความให้ฟ้องคดีนั้นเป็นอุทธรณ์ที่อ้างเหตุเรื่องอำนาจฟ้องแตกต่างไปจากคำให้การจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การอ้างเหตุเปลี่ยนแปลงจากคำให้การเดิมในชั้นอุทธรณ์
จำเลยให้การว่า ว.กับพวกมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เพราะได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมเสียงข้างมากมิใช่ผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ ว.กับพวกลงลายมือชื่อฟ้องคดีนี้จึงไม่ใช่การกระทำของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ว.กับพวกไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นธนาคารโจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการตามข้อบังคับธนาคารโจทก์ ไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อแต่งทนายความให้ฟ้องคดีนั้น เป็นอุทธรณ์ที่อ้างเหตุเรื่องอำนาจฟ้องแตกต่างไปจากคำให้การจึงเป็นการการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น