คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิต ประไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้าง กรณีนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้บุคคลภายนอก
นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำ ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องให้ลูกจ้างชดใช้คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม: การเปลี่ยนแปลงวันหยุดประเพณีสร้างความสับสน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
เดิมจำเลยกำหนดให้วันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2536 เป็นวันหยุดตามประเพณี แต่จำเลยมีความจำเป็นต้องให้ลูกจ้างมาทำงานในวันดังกล่าวจึงได้ขออนุญาตต่อแรงงานจังหวัด แรงงานจังหวัดอนุญาต แสดงว่าจำเลยยังถือว่าวันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2536 เป็นวันหยุดตามประเพณีของจำเลยอยู่ แต่ในขณะเดียวกันจำเลยก็มีประกาศเปลี่ยนแปลงวันหยุดประเพณีดังกล่าวเป็นวันที่ 2 และ 6กรกฎาคม 2536 แทน และสหภาพแรงงานที่โจทก์เป็นสมาชิกได้มีหนังสือคัดค้านการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนแปลงวันหยุดดังกล่าวด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะสร้างความสับสนแก่ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ด้วยว่า วันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2536 เป็นวันหยุดตามประเพณีหรือไม่และจะต้องมาทำงานในวันนั้นหรือไม่ ดังจะเห็นได้จากบัญชีรายชื่อลูกจ้างที่ไม่มาทำงานในวันดังกล่าวมีจำนวนถึง169 คน กรณีจึงไม่พอที่จะถือว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 4และ 5 มิถุนายน 2536 โดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง จำเลยต้องไม่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จากเอกสารหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดหรือข้อตกลงเรื่องการคำนวณดอกเบี้ยของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ปรากฏว่าผู้จัดการจำเลยได้รู้เห็นและยินยอมด้วยให้นำวิธีการคำนวณดอกเบี้ยที่ผิดหลักเกณฑ์มาใช้โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นั้น ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าการคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ในเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยได้แต่งตั้งผู้คิดบัญชีและมีผู้ตรวจสอบบัญชีอีกคนหนึ่งเป็นเวลา 18 ปีแล้วจำเลยไม่เคยทักท้วงแต่อนุมัติตลอดมา จึงมิใช่การคำนวณผิดพลาดดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยได้ก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2511 และต่อมาจำเลยได้ระบุเรื่องการหักเงินสะสมและการเข้าร่วมโครงการเงินสะสมไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับพนักงานของจำเลยด้วย จำเลยได้คำนวณดอกเบี้ยเงินสะสมและเงินสมทบสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามวิธีการในเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นเวลา 18 ปีแล้ว วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินสะสมและเงินสมทบดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ จำเลยต้องไม่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยได้ก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นและต่อมาได้ระบุเรื่องการหักเงินสะสมและการเข้าร่วมโครงการเงินสะสมไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับพนักงานของจำเลยแล้วเมื่อจำเลยได้คำนวณดอกเบี้ยเงินสะสมและเงินสมทบตามวิธีการในเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นเวลา 18 ปีแล้ว วิธีการคำนวณดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตเพื่อลวงให้ขาดประโยชน์เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทจำกัด
การไม่ลงข้อความสำคัญในเอกสารของบริษัทอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42นั้น จะต้องกระทำเพื่อลวงให้บริษัทหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาไม่ปรากฏรายละเอียดชัดแจ้งว่า การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีของธนาคารโจทก์ร่วมรายงานรายละเอียดบัญชีของลูกค้าโดยไม่ลงข้อความสำคัญที่ธนาคารโจทก์ร่วมได้มีคำสั่งบังคับไว้นั้น จำเลยที่ 2 มีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ธนาคารโจทก์ร่วมขาดประโยชน์อันควรได้อย่างไร การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรับรู้การละเมิดและตัวผู้รับผิด, ผลกระทบคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งมูลกรณีเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดได้วินิจฉัยไว้ว่าข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เบียดบังเอาทรัพย์ตามฟ้องไป ดังนั้นย่อมเห็นได้ว่าคำพิพากษาคดีส่วนอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เบียดบังหรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไป ฉะนั้นในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติไว้กรณีหาจำต้องคำนึงถึงว่า คำพิพากษาคดีส่วนอาญาศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดแล้วหรือไม่ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้มีเอกสารรายงานให้กรมตำรวจโจทก์ทราบถึงการละเมิดและตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วว่าคือจำเลยทั้งสาม เอกสารดังกล่าวส่งถึงกรมตำรวจเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 แม้ไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้เสนอให้อธิบดีกรมตำรวจทราบเมื่อใด แต่พลตำรวจโท ป. ผู้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนจำเลยที่ 1ทางวินัยเกี่ยวกับการละเมิดดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2529เนื่องจากผู้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจได้รับรายงานข้อเท็จจริงเอกสารจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วตั้งแต่วันที่ 16ธันวาคม 2529 เป็นอย่างช้า เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดในวันที่ 2 พฤษภาคม 2531 พ้น 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผู้อื่นเบิกความเท็จและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์: อำนาจฟ้องและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ พ. ไปร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเบิกความเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง จนศาลชั้นต้นเชื่อและมีคำสั่งให้ พ.ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ทั้งสามในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยย่อมได้รับผลกระทบ-กระเทือนเสื่อมเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยตามป.วิ.อ. มาตรา 28 (2)
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยเป็นผู้จ้างวานใช้ให้ พ.ไปยื่นคำร้องและเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 84 ประกอบด้วยมาตรา 177 มิได้ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้เบิกความเท็จ จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 177 เมื่อฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานะเป็นผู้ใช้ พอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างวานเบิกความเท็จทำให้เสียกรรมสิทธิ์ ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ พ. ไปร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเบิกความเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง จนศาลชั้นต้นเชื่อและมีคำสั่งให้ พ. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ทั้งสามในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยย่อมได้รับผลกระทบกระเทือนเสื่อมเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)และมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยเป็นผู้จ้างวานใช้ให้ พ. ไปยื่นคำร้องและเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ประกอบด้วยมาตรา 177 มิได้ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้เบิกความเท็จ จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 เมื่อฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานะเป็นผู้ใช้พอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลความประมาทเลินเล่อ และการคืนเงินสะสม
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ แล้วนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 44
การเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรจะเลิกจ้างได้หรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 6 ทวิ และข้อ 7ระบุว่าในกรณีที่พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา จำเลยจะต้องรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เสียหายแก่กิจการจำเลยอย่างร้ายแรงเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรม ซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวไม่จำเป็นต้องรอฟังผลการพิจารณาคดีของศาลก่อน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันที
คดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ยังไม่ปรากฏผลของคดี ค่าเสียหายจึงยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำเอาค่าเสียหายดังกล่าวมาหักจากเงินสะสมของโจทก์หาได้ไม่ และไม่มีเหตุที่จำเลยจะรอการจ่ายเงินสะสมไว้ได้ จึงต้องคืนเงินสะสมให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อ และสิทธิในการได้รับเงินสะสมหลังถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ แล้วนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 การเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรจะเลิกจ้างได้หรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 6 ทวิ และข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา จำเลยจะต้องรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาเมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เสียหายแก่กิจการจำเลยอย่างร้ายแรงเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรมซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวไม่จำเป็นต้องรอฟังผลการพิจารณาคดีของศาลก่อน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันที คดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ยังไม่ปรากฏผลของคดี ค่าเสียหายจึงยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำเอาค่าเสียหายดังกล่าวมาหักจากเงินสะสมของโจทก์หาได้ไม่ และไม่มีเหตุที่จำเลยจะรอการจ่ายเงินสะสมไว้ได้ จึงต้องคืนเงินสะสมให้แก่โจทก์
of 66