พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อ, การสอบสวนทางวินัย, และสิทธิในการได้รับเงินสะสม
การที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่จะต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นเหตุที่สมควรเลิกจ้างหรือไม่ ส่วนกรณีที่จะต้องมีการสอบสวนและการสอบสวนจะต้องปฏิบัติอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะนำมาเป็นหลักในการพิจารณาว่าหากการสอบสวนของจำเลยไม่ถูกต้องตามข้อบังคับแล้วจะถือว่าไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้าง หาได้ไม่ แม้การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง แต่คดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ยังไม่ปรากฏผลของคดี ค่าเสียหายของจำเลยจะเป็นเงินเท่าใดยังไม่ยุติ ค่าเสียหายจึงยังไม่แน่นอนจำเลยจะนำเอาค่าเสียหายมาหักจากเงินสะสมของโจทก์หาได้ไม่ และไม่มีเหตุที่จำเลยจะรอการจ่ายเงินสะสมไว้ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินสะสมให้โจทก์แต่เมื่อศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสะสมคืนจากจำเลยจำนวนเท่าใด ตั้งแต่เมื่อใดดอกเบี้ยของเงินสะสมเป็นจำนวนเท่าใด ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยและพิพากษาใหม่เฉพาะในประเด็นเรื่องเงินสะสม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการครอบครองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้ซื้อขายไม่ได้ทำตามฟอร์มก็มีผลตามกฎหมาย
จำเลยซื้อที่พิพาทจากสามีโจทก์และเข้าอยู่ตลอดมา แม้การซื้อขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตกเป็นโมฆะ แต่ที่พิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมโอนการครอบครองให้แก่กันได้โดยสละการครอบครองและส่งมอบทรัพย์สิทธิที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377,1378 จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดี: การแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่และขอบเขตการปฏิบัติงาน
การที่ศาลจังหวัดพะเยาออกหมายบังคับคดีตั้งจ่าศาลจังหวัดพะเยาเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งคดีหนึ่ง ถือเป็นการตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยา หาใช่ตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาอยู่ในขณะออกหมายบังคับคดีตลอดจนบุคคลที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในเวลาต่อมาย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวจนกว่าการบังคับคดีจะเสร็จสิ้น เมื่อจำเลยย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในขณะที่การบังคับคดีแพ่งดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งนั้นตามหมายบังคับคดีที่ออกไว้แล้ว โดยไม่ต้องออกหมายบังคับคดีตั้งจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตำแหน่ง: การที่ตำแหน่งจ่าศาลครอบคลุมหน้าที่บังคับคดีโดยไม่ต้องออกหมายตั้งเฉพาะ
การที่ศาลจังหวัดพะเยาได้ออกหมายบังคับคดีตั้งจ่าศาลจังหวัดพะเยาเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่16/2528 ของศาลจังหวัดพะเยานั้น เป็นการตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาหาใช่ตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะไม่ฉะนั้นบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาอยู่ในขณะออกหมายบังคับคดี ตลอดจนบุคคลที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในเวลาต่อมา ย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวจนกว่าการบังคับคดีจะเสร็จสิ้น เมื่อจำเลยย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในขณะที่การบังคับคดีแพ่งดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวตามหมายบังคับคดีที่ศาลจังหวัดพะเยาได้ออกไว้แล้ว โดยไม่จำต้องออกหมายบังคับคดีตั้งจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดี: ตำแหน่งต่อเนื่อง - การบังคับคดีมีผลผูกพันต่อเนื่องตามตำแหน่ง
การที่ศาลจังหวัดพะเยาออกหมายบังคับคดีตั้งจ่าศาลจังหวัดพะเยาเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งคดีหนึ่ง ถือเป็นการตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยา หาใช่ตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาอยู่ในขณะออกหมายบังคับคดีตลอดจนบุคคลที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในเวลาต่อมาย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวจนกว่าการบังคับคดีจะเสร็จสิ้น เมื่อจำเลยย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในขณะที่การบังคับคดีแพ่งดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งนั้นตามหมายบังคับคดีที่ออกไว้แล้ว โดยไม่ต้องออกหมายบังคับคดีตั้งจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ใช่เหตุตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เนื่องจากโจทก์ผิดข้อตกลงในเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน อันเป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานนั้นมิใช่กรณีหนึ่งกรณีใดตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการกู้ยืมส่วนตัวไม่เป็นหนี้ร่วม ภริยาไม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีกู้ยืมเงินโจทก์มาใช้ส่วนตัว หนี้ดังกล่าวย่อมไม่ใช่หนี้ร่วม จำเลยที่ 2 ภริยาจึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยพนักงานรัฐวิสาหกิจ กรณีผ่านเข้าออกโรงงานโดยไม่มีใบอนุญาต ศาลฎีกาตัดสินถูกต้องตามระเบียบ
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นพิพาทข้อ 2 ว่า มีเหตุที่จะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 3 และที่ 9 ตามฟ้องโจทก์หรือไม่ มีข้อต้องวินิจฉัยตามข้ออ้างข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การประการหนึ่งว่า โจทก์ทั้งสองยังเป็นกรรมการสหภาพแรงงานยาสูบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆในสำนวนแล้วฟังว่า โจทก์ทั้งสองยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสหภาพแรงงานยาสูบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ลงโทษโจทก์ทั้งสองไม่ชอบ เป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่พิพาทกันได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรงมิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หมวด 7 บัญญัติวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วิธีการจดทะเบียน และวิธีการดำเนินกิจการสหภาพแรงงานไว้โดยเฉพาะแตกต่างจากการจัดตั้งบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานยาสูบ แต่โจทก์ทั้งสองมิได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน จึงไม่มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกประจำตัวกรรมการบริการสหภาพแรงงานที่จะใช้แทนในผ่านได้การที่โจทก์ทั้งสองผ่านเข้าออกโรงงานยาสูบ 5 ในระหว่างที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงานโดยไม่มีใบผ่านเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งผู้อำนวยการยาสูบที่ ท.140/2517 ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ เป็นความผิดวินัย คำสั่งของจำเลยที่ 7 และที่ 8 ที่ลงโทษโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำสั่งที่ชอบไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน จำเลยที่ 7 และที่ 8 ลงโทษให้โจทก์ทั้งสองทำทัณฑ์บนเป็นเวลา6 เดือน และจำเลยที่ 3 ให้โจทก์ทั้งสองงดทำงานล่วงเวลาเป็นเวลา1 ปี มิใช่เป็นการลงโทษภาคทัณฑ์ ตามบัญชีกำหนดอำนาจการลงโทษท้ายระเบียบว่าด้วยวินัยการร้องทุกข์และการเลิกจ้าง พ.ศ. 2515ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกจำกัดให้ใช้บังคับเฉพาะปีงบประมาณเดียวตามข้ออ้างของโจทก์ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ทำงานล่วงเวลาและไม่ต้องคืนค่าจ้างสำหรับวันที่โจทก์ทั้งสองถูกลงโทษพักงานด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยของลูกจ้างสหภาพแรงงาน: การฝ่าฝืนคำสั่งโรงงานและการสิ้นสุดสมาชิกภาพ
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นพิพาทข้อ 2 ว่า มีเหตุที่จะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 3 และที่ 9 ตามฟ้องโจทก์หรือไม่มีข้อต้องวินิจฉัยตามข้ออ้างข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การประการหนึ่งว่า โจทก์ทั้งสองยังเป็นกรรมการสหภาพแรงงานยาสูบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนแล้วฟังว่า โจทก์ทั้งสองยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสหภาพแรงงานยาสูบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ลงโทษโจทก์ทั้งสองไม่ชอบ เป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่พิพาทกันได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรงมิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หมวด 7 บัญญัติวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วีธีการจดทะเบียน และวิธีการดำเนินกิจการสหภาพแรงงานไว้โดยเฉพาะแตกต่างจากการจัดตั้งบริษัทจำกัด ตาม ป.พ.พ.แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานยาสูบ แต่โจทก์ทั้งสองมิได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน จึงไม่มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกประจำตัวกรรมการบริการสหภาพแรงงานที่จะใช้แทนใบผ่านได้ การที่โจททก์ทั้งสองผ่านเข้าออกโรงงานยาสูบ 5 ในระหว่างที่ไม่ได้เป็นกรรมการ-บริหารสหภาพแรงงานโดยไม่มีใบผ่านเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งผู้อำนวยการยาสูบที่ ท.140/2517 ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ เป็นความผิดวินัย คำสั่งของจำเลยที่ 7 และที่ 8 ที่ลงโทษโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำสั่งที่ชอบไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน
จำเลยที่ 7 และที่ 8 ลงโทษให้โจทก์ทั้งสองทำทัณฑ์บนเป็นเวลา 6 เดือน และจำเลยที่ 3 ให้โจทก์ทั้งสองงดทำงานล่วงเวลาเป็นเวลา 1 ปีมิใช่เป็นการลงโทษภาคทัณฑ์ ตามบัญชีกำหนดอำนาจการลงโทษ..ท้ายระเบียบว่าด้วยวินัยการร้องทุกข์และการเลิกจ้าง พ.ศ.2515 ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกจำกัดให้ใช้บังคับเฉพาะปีงบประมาณเดียวตามข้ออ้างของโจทก์ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ทำงานล่วงเวลาและไม่ต้องคืนค่าจ้างสำหรับวันที่โจทก์ทั้งสองถูกลงโทษพักงานด้วย.
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หมวด 7 บัญญัติวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วีธีการจดทะเบียน และวิธีการดำเนินกิจการสหภาพแรงงานไว้โดยเฉพาะแตกต่างจากการจัดตั้งบริษัทจำกัด ตาม ป.พ.พ.แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานยาสูบ แต่โจทก์ทั้งสองมิได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน จึงไม่มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกประจำตัวกรรมการบริการสหภาพแรงงานที่จะใช้แทนใบผ่านได้ การที่โจททก์ทั้งสองผ่านเข้าออกโรงงานยาสูบ 5 ในระหว่างที่ไม่ได้เป็นกรรมการ-บริหารสหภาพแรงงานโดยไม่มีใบผ่านเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งผู้อำนวยการยาสูบที่ ท.140/2517 ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ เป็นความผิดวินัย คำสั่งของจำเลยที่ 7 และที่ 8 ที่ลงโทษโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำสั่งที่ชอบไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน
จำเลยที่ 7 และที่ 8 ลงโทษให้โจทก์ทั้งสองทำทัณฑ์บนเป็นเวลา 6 เดือน และจำเลยที่ 3 ให้โจทก์ทั้งสองงดทำงานล่วงเวลาเป็นเวลา 1 ปีมิใช่เป็นการลงโทษภาคทัณฑ์ ตามบัญชีกำหนดอำนาจการลงโทษ..ท้ายระเบียบว่าด้วยวินัยการร้องทุกข์และการเลิกจ้าง พ.ศ.2515 ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกจำกัดให้ใช้บังคับเฉพาะปีงบประมาณเดียวตามข้ออ้างของโจทก์ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ทำงานล่วงเวลาและไม่ต้องคืนค่าจ้างสำหรับวันที่โจทก์ทั้งสองถูกลงโทษพักงานด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยพนักงานรัฐวิสาหกิจ การผ่านเข้าออกโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อยกเว้นสำหรับกรรมการสหภาพแรงงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หมวด 7 บัญญัติวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วิธีการจดทะเบียน และวิธีการดำเนินกิจการสหภาพแรงงานไว้โดยเฉพาะแตกต่างจากการจัดตั้งบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์จะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานยาสูบ แต่โจทก์มิได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงานจึงไม่มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกประจำตัวกรรมการบริหารสหภาพแรงงานที่จะใช้แทนใบผ่านได้ การที่โจทก์ผ่านเข้าออกโรงงานยาสูบ 5 ในระหว่างที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงานโดยไม่มีใบผ่านจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งผู้อำนวยการยาสูบ จำเลยที่ 7 และที่ 8 ลงโทษให้โจทก์ทำทัณฑ์บนเป็นเวลา 6เดือน และจำเลยที่ 3 ให้โจทก์งดทำงานล่วงเวลาเป็นเวลา 1 ปีมิใช่เป็นการลงโทษภาคทัณฑ์ตามระเบียบว่าด้วยวินัย การร้องทุกข์ฯของจำเลยที่ 2