คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิต ประไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ฟ้องเคลือบคลุม, อายุความ, การนำสืบ และประเด็นข้อพิพาทในคดีเรียกทรัพย์สินคืน
จำเลยให้การเพียงว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ที่จำเลยทดรองจ่ายค่าโฆษณาแทนโจทก์ไปก่อน จำเลยจึงนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินจากโจทก์ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยจ่ายเงินค่าสินค้าและของแถมเกินกว่าโจทก์เป็นเงิน 1,000,000 บาทเศษ จึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดชลบุรี มูลคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชลบุรีด้วย พยานหลักฐานคือเช็คทั้งหมดก็อยู่ที่ธนาคาร การพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดชลบุรีจึงเป็นการสะดวก ศาลจังหวัดชลบุรีจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) เดิม
อุทธรณ์ของจำเลยได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่บรรยายว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาและโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ที่กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองกล่าวไว้ข้างต้น หาใช่เป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันจะไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์ได้ทำสัญญาแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าตามสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการโฆษณาโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันจ่ายค่าโฆษณาคนละครึ่ง และโจทก์บรรยายในฟ้องด้วยว่า จำเลยเอาความเท็จมาอ้างกับโจทก์ให้โจทก์จ่ายเงิน 4,068,734 บาทแก่จำเลยโดยอ้างว่าจะนำเงินไปชำระค่าโฆษณา ฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วข้อที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่นั้น โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ศาลชั้นต้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองโดยรอไว้วินิจฉัยรวมในคำพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์ออกเช็คแล้ว นำไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยโดยมิชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ในกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นฟ้องฐานลาภมิควรได้ไม่
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินตามเช็คของโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 1นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 คืน การที่โจทก์ที่ 2 ลงชื่อในเช็คดังกล่าวก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ฟ้องเรียกคืน จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธแต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้หลอกลวงให้โจทก์จ่ายเช็คเป็นการชำระค่าโฆษณา แต่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวไปชำระค่าโฆษณา กลับนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเองเป็นส่วนตัว และศาลชั้นต้นกำหนดประะเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยหลอกให้โจทก์สั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินมาเป็นของจำเลยโดยมิชอบหรือไม่ เช่นนี้ การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงิน 14 ล้านบาทเศษ ส่วนจำเลยชำระค่าโฆษณา และค่าของแถมเป็นเงินเพียง 8 ล้านบาทเศษ โจทก์จึงจ่ายเงินค่าโฆษณาและของแถมเกินกว่าที่จำเลยชำระ 4 ล้านบาทเศษ เป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์สั่งจ่ายเช็คได้อย่างไร อันเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแวดล้อมกรณี หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติงานที่ขัดระเบียบเพื่อประโยชน์ของธนาคาร ไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง
โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยมิได้เกิดจากการทุจริตหรือประมาทเลินเล่อ หากแต่เป็นการผ่อนสั้นผ่อนยาวช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาอันสืบเนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยธนาคารจำเลยก็ได้รับผลประโยชน์จากการเบิกเงินเกินบัญชีและรับซื้อลดตั๋วเงินที่ผิดระเบียบดังกล่าวด้วย และสาขาอื่นของธนาคารจำเลยก็มีการปฏิบัติทำนองข้างต้น ดังนี้ การกระทำของโจทก์ที่ฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อประโยชน์ของธนาคารจำเลย หาได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารจำเลยไม่ จึงไม่อาจถือเป็นความผิดร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การผ่อนผันช่วยเหลือลูกค้าช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง
โจทก์เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยมิได้ทุจริตหรือประมาทเลินเล่อในการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยแต่เป็นการผ่อนสั้นผ่อนยาวช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจโดยจำเลยก็ได้รับผลประโยชน์จากการที่โจทก์อนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีและรับซื้อลดตั๋วเงินที่ผิดระเบียบด้วยและสาขาอื่นของจำเลยก็ปฏิบัติทำนองเดียวกันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยไม่อาจถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือลูกค้าช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง แม้ฝ่าฝืนระเบียบ หากมีเจตนาเพื่อประโยชน์ของธนาคาร
โจทก์มิได้ทุจริตหรือประมาทเลินเล่อในการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยแต่เป็นการช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจโดยจำเลยก็ได้รับผลประโยชน์จากการเบิกเงินเกินบัญชีและรับซื้อลดตั๋วเงินที่ผิดระเบียบดังกล่าวด้วยและสาขาอื่นของจำเลยก็ปฏิบัติทำนองเดียวกันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความผิดร้ายแรง: การกระด้างกระเดื่องและทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชา
ธ. และโจทก์ต่างเป็นลูกจ้างจำเลยโดย ธ. เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้รับใบลาของโจทก์ ธ. ย่อมมีอำนาจที่จะสอบถามถึงการป่วยของโจทก์ได้แต่เมื่อถูกถามโจทก์กลับท้าทายให้ธ. ออกไปต่อสู้กับโจทก์นอกที่ทำการบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์คว้าคอเสื้อ ธ. ในขณะที่อีกมือหนึ่งถือไม้หน้าสามเพื่อจะตีทำร้ายแม้จะเป็นการกระทำนอกบริษัทจำเลยแต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปจากภายในบริษัทจำเลยถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกันเป็นการกระทำโดยจงใจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายเป็นความผิดวินัยร้ายแรงจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-542/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายจ้างต้องชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในขอบเขตหน้าที่/กิจการของนายจ้าง การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามป.พ.พ.มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ต้องเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัทอ. ซึ่งมิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งมิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-542/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้นายจ้างส่งลูกจ้างไปทำงานนอกกิจการของตนเองไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างจึงไม่เป็นธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีหน้าที่ทำงานให้แก่นายจ้างโดยทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างดังนั้นคำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างจักต้องปฏิบัติตามก็จะต้องเป็นคำสั่งที่ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างนั้น จำเลยมีปัญหาในการผลิตเนื่องจากเกิดการผละงานในบริษัท อ.ที่จำเลยเป็นลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์พื้นยางรองเท้ามาผลิตเป็นรองเท้าจำเลยได้ชี้แจงให้ลูกจ้างทราบความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างจำเลยไปทำงานที่บริษัท อ. โจทก์ทั้งเจ็ดและลูกจ้างอื่นก็ไปทำงานให้ตามประสงค์ชอบด้วยกฎหมายและการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีแต่ที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัท อ. หลังจากที่โจทก์ทั้งเจ็ดกลับไปที่บริษัทจำเลยและสั่งเช่นเดียวกันซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้ลงโทษโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไม่ปฏิบัติคำสั่งครั้งแรกนั้นเมื่อบริษัทอ. มิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งงานที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำที่บริษัท อ. ก็มิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานนอกหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานของบุคคลอื่นเช่นนี้ย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายการที่โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ไปทำงานดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่1ที่2ที่4ถึงที่7จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งจำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่โจทก์ดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการยินยอมของลูกหนี้ การที่คู่สัญญาไม่ได้บอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมโดยตรง ย่อมใช้ยันต่อกันไม่ได้
คู่สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างคือจำเลยที่3กับห้างหุ้นส่วนจำกัดช.เมื่อโจทก์อ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดช.ได้ทำหนังสือโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้โจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนหนี้ไปยังจำเลยที่3โดยทำเป็นหนังสือหรือจำเลยที่3ได้ยินยอมในการโอนเป็นหนังสือการที่ป. และจำเลยที่2ลงชื่อในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่3ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่3ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้เอกสารที่โจทก์อ้างจึงใช้ยันแก่จำเลยที่3ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง การบอกกล่าวและการยินยอมของคู่สัญญา
คู่สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างคือจำเลยที่ 3 กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.เมื่อโจทก์อ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้ทำหนังสือโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้โจทก์ แต่ไม่ปรากฎว่า โจทก์ได้บอกกล่าวการโอนหนี้ไปยังจำเลยที่ 3 โดยทำเป็นหนังสือหรือจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมในการโอนเป็นหนังสือ การที่ ป.และจำเลยที่ 2 ลงชื่อในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 3 ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้ เอกสารที่โจทก์อ้างจึงใช้ยันแก่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เงื่อนเวลาไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน, สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญา
ข้อสัญญาว่าจำเลยจะทำการหักโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เมื่อออกโฉนดแล้วภายใน180วันมิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมมีผลจึงมิใช่เงื่อนไขบังคับก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา145(เดิม)เป็นแต่เพียงข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ของจำเลยจะต้องดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินที่จะขายให้สำเร็จก่อนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เท่านั้น
of 66