พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานรถไฟ ไม่ใช่บำนาญ การจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพเป็นดุลพินิจจำเลย
เงินสงเคราะห์รายเดือนที่โจทก์ได้รับ เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายจากกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกข้อบังคับไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 มิใช่บำนาญ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการการจ่ายเงินสงเคราะห์นี้ ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 49ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 20กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเก็บเงินตามข้อ 5 แห่งข้อบังคับนี้ได้รับเงินสงเคราะห์โดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการและระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญแต่พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. 2521มาตรา 4 ตรี มาตรา 4 จัตวา และมาตรา 4 ฉ มิใช่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งมิใช่ระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญ จึงไม่จำต้องนำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาอนุโลมใช้ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยข้างต้น จำเลยจะจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์มากน้อยเพียงใดเป็นดุลพินิจของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานรถไฟ ไม่ใช่บำนาญ การจ่ายเงิน ช.ค.บ. เป็นดุลพินิจของ กก.กองทุนสงเคราะห์ฯ
เงินสงเคราะห์รายเดือนที่โจทก์ได้รับมิใช่บำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายจากกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกข้อบังคับ ไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 และการจ่ายเงินสงเคราะห์นี้ ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 ว่าด้วย กองทุนผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยข้อ 20 กำหนดให้ ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเก็บเงินตามข้อ 5 แห่งข้อบังคับนี้ให้ ได้รับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือน โดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญทั้งสิ้น และเมื่อพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2532 มาตรา 3(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2533 มาตรา 3 และ(ฉบับที 7) พ.ศ. 2535 มาตรา 3 มิใช่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำเหน็จข้าราชการ ทั้งมิใช่ระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญด้วย กรณีจึงไม่จำต้องนำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาอนุโลมใช้ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย การที่จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนแก่อดีตผู้ปฏิบัติ งานรถไฟเช่นโจทก์โดยอนุโลมตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วย ค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523แล้วต่อมาจำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยมิได้อนุโลมตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญฉบับต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการจัดการกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจตามข้อบังคับจะพิจารณาเห็นควรนำพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญมาอนุโลมใช้หรือไม่เพียงใด การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนก็เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนเช่นโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่มขึ้นเมื่อทางราชการเพิ่มเงินบำนาญให้แก่ ผู้ รับเบี้ยหวัดบำนาญทุกครั้ง ฉะนั้นเมื่อจำเลยจะจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนมากน้อยเพียงใดก็เป็นดุลพินิจของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานรถไฟ: การจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการกองทุน
เงินสงเคราะห์รายเดือนที่โจทก์ได้รับมิใช่บำนาญ ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายจากกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกข้อบังคับไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 และการจ่ายเงินสงเคราะห์นี้ ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยข้อ 20 กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเก็บเงินตามข้อ 5 แห่งข้อบังคับนี้ให้ได้รับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือน โดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ และระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญทั้งสิ้น และเมื่อ พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532 มาตรา 3(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2533 มาตรา 3 และ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2535 มาตรา 3มิใช่ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งมิใช่ระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญด้วย กรณีจึงไม่จำต้องนำ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมาอนุโลมใช้ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย
การที่จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนแก่อดีตผู้ปฏิบัติงานรถไฟเช่นโจทก์โดยอนุโลมตาม พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 แล้วต่อมาจำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยมิได้อนุโลมตามพ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญฉบับต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการจัดการกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจตามข้อบังคับจะพิจารณาเห็นควรนำ พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญมาอนุโลมใช้หรือไม่เพียงใด การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนก็เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนเช่นโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่มขึ้นเมื่อทางราชการเพิ่มเงินบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญทุกครั้ง ฉะนั้น เมื่อจำเลยจะจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนมากน้อยเพียงใดก็เป็นดุลพินิจของจำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้น
การที่จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนแก่อดีตผู้ปฏิบัติงานรถไฟเช่นโจทก์โดยอนุโลมตาม พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 แล้วต่อมาจำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยมิได้อนุโลมตามพ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญฉบับต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการจัดการกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจตามข้อบังคับจะพิจารณาเห็นควรนำ พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญมาอนุโลมใช้หรือไม่เพียงใด การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนก็เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนเช่นโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่มขึ้นเมื่อทางราชการเพิ่มเงินบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญทุกครั้ง ฉะนั้น เมื่อจำเลยจะจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนมากน้อยเพียงใดก็เป็นดุลพินิจของจำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การพิจารณาจากอำนาจควบคุมและค่าจ้างตามผลงาน
โจทก์มีเวลาทำงานปกติ จำเลยที่ 1 มีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาให้โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดเวลาทำงานและตรวจสอบเวลาทำงานของโจทก์กับมีอำนาจหักรายได้ของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ขาดงานหรือมาทำงานสายเงินรายได้จากการแต่งผมที่จ่ายให้โจทก์ก็คำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อรับค่าจ้างโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การแบ่งรายได้, การบังคับบัญชา, และสิทธิค่าชดเชย
โจทก์เป็นช่างแต่งผมชาย ใช้สถานที่ของจำเลยเปิดบริการลูกค้า โดยจำเลยเป็นผู้จัดหาสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และของใช้ต่าง ๆ ส่วนโจทก์มีกรรไกร ปัตตะเลี่ยน เครื่องมือใช้เช็ดหู รายได้จากการแต่งผมชายของโจทก์แบ่งกันคนละครึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยจำเลยจ่ายส่วนที่จะได้แก่โจทก์ ให้โจทก์ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน ได้มีการตกลงเรื่องระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า โจทก์ต้องตอกบัตรลงเวลาการทำงาน หากโจทก์ไม่มาทำงานหรือมาทำงานสายในวันใด โจทก์จะถูกหักค่าจ้าง โจทก์ได้รับบัตรประจำตัวพนักงานจากจำเลยเพื่อแสดงว่าเป็นพนักงานและจำเลยใช้ตรวจสอบในการอนุมัติให้เข้าออกบริเวณสถานที่ของจำเลย โจทก์ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน เห็นได้ว่าโจทก์มีเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จำเลยมีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาให้โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดเวลาทำงานและตรวจสอบเวลาทำงานของโจทก์ กับมีอำนาจหักรายได้ของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ขาดงานหรือมาทำงานสาย และเงินรายได้จากการแต่งผมที่จ่ายให้โจทก์ก็คำนวณได้ตามผลงานที่โจทก์ทำได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ทำงานให้แก่จำเลย เพื่อรับค่าจ้างโดยคำนวณค่าจ้างตามผลงานที่โจทก์ทำได้ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างจากลักษณะการทำงานและการจ่ายค่าจ้างตามผลงาน เพื่อสิทธิในการรับค่าชดเชย
โจทก์เป็นช่างแต่งผมชาย ใช้สถานที่ของจำเลยเปิดบริการ ลูกค้าโดยจำเลยเป็นผู้จัดหาสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และ ของใช้ต่าง ๆ ส่วนโจทก์มีกรรไกร ปัตตะเลี่ยน เครื่องมือใช้เช็ด หู รายได้จากการแต่งผมชายของโจทก์แบ่งกันคนละครึ่ง ระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยจำเลยจ่ายส่วนที่จะได้แก่โจทก์ ให้โจทก์ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน ได้มีการตกลง เรื่องระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า โจทก์ต้อง ตอกบัตรลงเวลาการทำงาน หากโจทก์ไม่มาทำงานหรือมาทำงานสาย ในวันใด โจทก์จะถูกหักค่าจ้าง โจทก์ได้รับบัตรประจำตัว พนักงานจากจำเลยเพื่อแสดงว่าเป็นพนักงานและจำเลยใช้ตรวจสอบ ในการอนุมัติให้เข้าออกบริเวณสถานที่ของจำเลย โจทก์ทำงาน สัปดาห์ละ 6 วัน เห็นได้ว่าโจทก์มีเวลาทำงานปกติของ วันทำงาน จำเลยมีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาให้โจทก์ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดเวลา ทำงานและตรวจสอบเวลาทำงานของโจทก์ กับมีอำนาจหักรายได้ของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ขาดงานหรือมาทำงานสาย และเงินรายได้ จากการแต่งผมที่จ่ายให้โจทก์ก็คำนวณได้ตามผลงานที่โจทก์ ทำได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่า โจทก์ทำงานให้แก่จำเลย เพื่อรับค่าจ้างโดยคำนวณค่าจ้าง ตามผลงานที่โจทก์ทำได้ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5439/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุรถไถ: การติดไฟแสงแดงและปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
จำเลยขับรถไถในทางเวลากลางคืนมีหน้าที่ต้องเปิดไฟแสงแดงที่ท้ายรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เมื่อท้ายรถไถที่จำเลยขับมีผานไถและจานไถบรรทุกอยู่ยื่นออกนอกตัวรถไปด้านท้ายประมาณ 2 เมตรจำเลยมีหน้าที่ต้องใช้โคมไฟแสงแดงติดไว้ที่ปลายสุดของผานไถและเปิดไว้ด้วย แต่เมื่อจำเลยเปิดไฟท้ายและไฟส่องผานไถซึ่งเป็นไฟสปอตไลท์ขนาดใหญ่ สามารถส่องกระจายแสงได้กว้างและเห็นได้ในระยะไกล และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยยกผานไถไว้ในระดับที่บดบังไฟท้าย ไฟส่องผานไถและแผ่นวงกลมสีแดงสะท้อนแสงจนไม่สามารถมองเห็นรถไถได้จากระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร แม้จำเลยจะไม่ติดโคมไฟแสงแดงไว้ที่ปลายสุดของผานไถ ก็ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงให้รถยนต์ที่ผู้ตายขับตามหลังชนถูกผานรถไถที่จำเลยขับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัด: สั่งบังคับเจ้าพนักงานท้องถิ่นลงนามในใบอนุญาตไม่ได้
พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นลงนามในใบอนุญาต เพราะการลงนามในใบอนุญาตหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของจำเลยโดยเฉพาะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการออกใบอนุญาตและการฟ้องร้องบังคับเจ้าพนักงาน
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นลงนามในใบอนุญาต เพราะการลงนามในใบอนุญาตหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของจำเลยโดยเฉพาะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลจำหน่ายคดีเมื่อมีการไต่สวนใหม่และจำเลยไม่มาศาล
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย โดยอ้างว่าราคาต่ำ ศาลชั้นต้นยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวนจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับ จำเลยฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นนัดไต่สวน แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าถือว่าจำเลยไม่ติดใจไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ คดีถึงที่สุด คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยฎีกาต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ