คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิต ประไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการบังคับคดีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ และผลของการไม่ยื่นคำคัดค้านก่อนศาลมีคำสั่ง
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ศาลชั้นต้นมีหนังสือให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2531และโจทก์ได้รับเงินค่าขายทรัพย์ดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 11 มกราคม2532 การบังคับคดีสำหรับที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้เสร็จสิ้นลงแล้วการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้านการบังคับคดีเมื่อวันที่ 29พฤศจิกายน 2532 จึงเป็นการคัดค้านภายหลังการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ และกระบวนพิจารณาในชั้นนี้มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วจึงไม่ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27มาวินิจฉัยประกอบด้วยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับทางศุลกากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการจ่ายรางวัลเจ้าพนักงานจับกุม
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว คำว่า "ค่าอากร" ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยศาลอุทธรณ์นำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ที่จับกุมร้อยละสิบห้าของค่าปรับแต่คดีนี้เป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลางและไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าอากรในการคำนวณโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว คำว่า"ค่าอากร" ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยศาลอุทธรณ์นำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ที่จับกุมร้อยละสิบห้าของค่าปรับ แต่คดีนี้เป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลางและไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ค่าอากรเฉพาะศุลกากร ไม่รวมภาษีสรรพสามิตและมูลค่าเพิ่ม
พระราชบัญญัติ ญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้นคำว่า "ค่าอากร" หมายถึง ค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หารวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่จึงจะนำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับด้วยมิได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษปรับโดยให้ลงโทษจำคุกด้วย แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยให้หนักขึ้นโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบ เมื่อเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลาง และไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละ 20 ของราคาของกลาง ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสองหาใช่ร้อยละ 15 ของค่าปรับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้
ค่าเบี้ยกิโลเมตรที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถทุกวันตามระยะทางที่ขับรถได้ เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้เป็น "เงินเดือนค่าจ้าง" ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานฯ ข้อ 3 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯฉบับดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้
จำเลยจ่ายค่าเบี้ยกิโลเมตรให้โจทก์ทุกวันตามระยะทางที่โจทก์ขับรถได้ในอัตรากิโลเมตรละ35 สตางค์ ค่าเบี้ยกิโลเมตรจึงเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้ จึงเป็น"เงินเดือนค่าจ้าง"ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 3 ซึ่งจะต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นเงินเดือนค่าจ้าง ต้องนำไปคำนวณค่าชดเชย
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายค่าเบี้ยกิโลเมตรให้โจทก์ซึ่งพนักงานขับรถทุกวันตามระยะทางที่ขับรถได้ในอัตรากิโลเมตรละ 35 สตางค์โจทก์ขับรถวันละ 609 กิโลเมตร ได้รับค่าเบี้ยกิโลเมตรวันละ 213 บาท ค่าเบี้ยกิโลเมตรดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้ ค่าเบี้ยกิโลเมตรจึงเป็น "เงินเดือนค่าจ้าง" ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534 ข้อ 3 ซึ่งจะต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจูงใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แม้ผลสำเร็จยังไม่เกิด ก็ถือเป็นความผิดได้
การที่จำเลยเรียกและรับเงินไปจาก ฉ.เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดีอันเป็นคุณแก่ ฉ.ให้ฉ.ชนะคดีในชั้นศาลฎีกานั้นครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว จำเลยจะได้ไปจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ฉ.หรือไม่ หาใช่องค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 ไม่ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไปก่อนที่จำเลยจะได้เรียกและรับเงินจากฉ.จำเลยย่อมไม่สามารถจะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ ฉ.ได้ทันก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเรียกรับเงินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน แม้ผลสำเร็จไม่เกิดขึ้น ก็ยังถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
การที่จำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปจากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริต ให้กระทำการในหน้าที่โดยพิพากษาคดีให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายให้ผู้เสียหายชนะคดีในชั้นศาลฎีกานั้นครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว จำเลยที่ 1 จะได้ไปจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายหรือไม่ หาใช่องค์ประกอบของความผิดไม่ ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้เรียกและรับเงินจากผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถจะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายได้ทันก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้บริษัทฯ อยู่ในข่ายประกาศ คปต.ฉบับที่ 103 แต่ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ยังใช้บังคับ
แม้บริษัทขนส่ง จำกัด จะเป็นรัฐวิสาหกิจเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ข้อ 2 อันเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแต่ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงาน ซึ่งเลิกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตาม ข้อ 46แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2
of 66