คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิต ประไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้บริษัทฯ อยู่ในข่ายประกาศ คปต.ฉบับที่ 103 แต่ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ยังใช้บังคับ
แม้บริษัทขนส่ง จำกัด จะเป็นรัฐวิสาหกิจเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ข้อ 2 อันเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแต่ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงาน ซึ่งเลิกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตาม ข้อ 46แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีแรงงานที่มิได้โต้แย้ง ถือเป็นที่สิ้นสุด และอำนาจเลิกจ้างของนิติบุคคล
คำสั่งศาลแรงงานกลางที่กำหนดประเด็นข้อพิพาท เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ จึงไม่สามารถอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาล-แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยเป็นนิติบุคคล น.ได้รับอำนาจจากกรรมการของจำเลยน.จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 น.มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการมีอำนาจเลิกจ้างในคดีแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่จำเลยมิได้โต้แย้ง
คำสั่งศาลแรงงานกลางที่กำหนดประเด็นข้อพิพาท เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้จึงไม่สามารถอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 จำเลยเป็นนิติบุคคล น. ได้รับอำนาจจากกรรมการของจำเลย น. จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2น. มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานต้องทำภายใน 15 วัน หากพ้นกำหนด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การร้องขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่โจทก์นำยึดในคดีแรงงานเป็นคดีสืบเนื่องมาจากคดีแรงงาน เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ได้เฉพาะแต่ในปัญหาข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางสั่งรับอุทธรณ์มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องงดขายทอดตลาด ต้องยื่นภายใน 15 วันตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลาง ขอให้งดการขายทอดตลาด ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดในคดีแรงงานจึงเป็นคดีที่สืบเนื่องมาจากคดีแรงงาน เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการและการร้องคัดค้านฟ้อง: ผู้ไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ไม่อาจร้องคัดค้านฟ้องแทนบริษัทได้
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำเป็นส่วนตัวซึ่งไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการร้องคัดค้านคดีแรงงาน: ผู้ถือหุ้นเดิมที่ถูกจำกัดอำนาจ ย่อมไม่มีสิทธิร้องคัดค้านในฐานะนายจ้าง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมายผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัวจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: ผู้ร้องไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัท และไม่เป็นนายจ้างโจทก์ จึงไม่มีอำนาจคัดค้านการฟ้อง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย และผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัว จึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4486/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องอนาถาต้องมีการสืบพยาน หากไม่สืบพยาน คำร้องนั้นเป็นโมฆะ
ชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ในศาลชั้นต้นไม่มีการสืบพยานโจทก์เลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ โจทก์จะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4486/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการฟ้องคดีอนาถาต้องมีการสืบพยาน หากไม่มีสิทธิยื่นคำร้องใหม่ไม่ได้
ชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ในศาลชั้นต้นไม่มีการสืบพยานโจทก์เลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ โจทก์จะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่หาได้ไม่
of 66