คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิต ประไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เงื่อนเวลาไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน, สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญา
ข้อสัญญาว่าจำเลยจะทำการหักโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เมื่อออกโฉนดแล้วภายใน180วันมิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมมีผลจึงมิใช่เงื่อนไขบังคับก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา145(เดิม)เป็นแต่เพียงข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ของจำเลยจะต้องดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินที่จะขายให้สำเร็จก่อนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นค่าชดเชยเลิกจ้างรัฐวิสาหกิจ-การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีคำสั่งที่ 426/2531 ไล่จำเลยที่ 1 ออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโจทก์ที่ 2220/223 ลงวันที่ 1สิงหาคม 2523 ด้วย คำสั่งดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโจทก์ในกรณีที่ร้ายแรง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับ ดังนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2534 จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่อยู่ในบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 นั้น เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์มีคำสั่งเลิกจ้างจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ค่าชดเชยหลังเลิกจ้าง: ประเด็นข้อที่ยังไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาล และผลกระทบประกาศกระทรวงมหาดไทย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีคำสั่งที่ 426/2531ไล่จำเลยที่ 1 ออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโจทก์ที่ 2220/223 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2523 ด้วย คำสั่งดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโจทก์ในกรณีที่ร้ายแรง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานสัมพันธ์เป็นกิจกาที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับดังนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่12 กันยายน 2534 จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่อยู่ในบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 นั้นเมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์มีคำสั่งเลิกจ้างจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะวิวาท ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี ไม่ใช่เลิกจ้างได้ทันทีเสมอไป
แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่าการทะเลาะวิวาทถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม จะถือว่าถ้ามีการทะเลาะวิวาทกันแล้วไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็เป็นกรณีร้ายแรงทุกกรณีนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ซึ่งการที่จะฟังว่ากรณีใดเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้น แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างแรงงาน กรณีทะเลาะวิวาท ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี หากไม่ร้ายแรงถึงขนาดสร้างความเสียหาย จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่าการทะเลาะวิวาทถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม จะถือว่าถ้ามีการทะเลาะวิวาทกันแล้วไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็เป็นกรณีร้ายแรงทุกกรณีนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ซึ่งการที่จะฟังว่ากรณีใดเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป
กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้นแต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสูญเสียสมรรถภาพมือขวา: ค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย พิจารณาการสูญเสียอวัยวะโดยตรง ไม่ใช่การสูญเสียสมรรถภาพทั่วไป
การที่มือขวาของลูกจ้างสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ถือว่าเป็นการสูญเสียมือขวานั้นด้วยที่โจทก์ต้องจ่ายค่าทดแทนตามข้อ 54(2) และข้อ 54 วรรคสองแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 9)ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 โดยจ่ายตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 และกรณีสูญเสียมือขวาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับมือขาดในข้อ 1(3) ข้อ 3(3) และ(8) ซึ่งมีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนสามปีห้าเดือน ส่วนข้อ 1(16) ใช้บังคับแก่กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (15) เมื่อข้อ 1(3) ได้กำหนดไว้เฉพาะกรณีสูญเสียมือแล้ว การสูญเสียมือขวาของลูกจ้างโจทก์จึงอยู่ในความหมายของข้อ 1(3) ดังกล่าว หาใช่อยู่ในความหมายของการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (15) ที่มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนไม่เกินห้าปี ตาม (15) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพมือขวา: กำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่มือขวาของลูกจ้างสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ถือว่าเป็นการสูญเสียมือขวานั้นด้วย ที่โจทก์ต้องจ่ายค่าทดแทนตามข้อ 54 (2) และข้อ 54 วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 25สิงหาคม 2525 โดยจ่ายตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 และกรณีสูญเสียมือขวาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับมือขาดในข้อ 1 (3) ข้อ 3 (3)และ (8) ซึ่งมีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนสามปีห้าเดือน ส่วนข้อ 1 (16) ใช้บังคับแก่กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (15) เมื่อข้อ 1 (3) ได้กำหนดไว้เฉพาะกรณีสูญเสียมือแล้ว การสูญเสียมือขวาของลูกจ้างโจทก์จึงอยู่ในความหมายของข้อ 1 (3) ดังกล่าว หาใช่อยู่ในความหมายของการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (15) ที่มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนไม่เกินห้าปีตาม (16) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอาหารและค่าบริการ: การพิจารณาว่าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
นายจ้างจัดอาหารให้แก่ลูกจ้างที่มาทำงานกะละ 2 มื้อ โดยคิดค่าอาหารเดือนละ 900 บาท หักค่าอาหารดังกล่าวจากเงินเดือนของลูกจ้างในวันจ่ายเงิน การจัดอาหารให้ลูกจ้างรับประทานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือการครองชีพของลูกจ้างซึ่งมาทำงานในแต่ละกะ มีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการอย่างหนึ่ง มิใช่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง ค่าอาหารดังกล่าวไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ข้อ 2
เงินค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างได้มาโดยวิธีเรียกเก็บจากลูกค้าที่มาใช้บริการของนายจ้าง แล้วนำเงินดังกล่าวเก็บรวบรวมไว้ ถือได้ว่าเป็นเงินของนายจ้างเอง ถึงวันที่ 15 ของเดือนถัดไปจึงนำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนไป ทั้งมีคำรับรองว่าต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 550 บาท หากน้อยกว่านายจ้างจะจ่ายให้ครบ การที่มีการหักเงินค่าบริการตามวันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน เดือนใดวันทำงานไม่ครบตามกำหนดเวลาทำงาน นายจ้างก็จะหักค่าบริการบางส่วนออกนั้น ก็เป็นเช่นเดียวกับค่าจ้างทั่วไป ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเป็นประจำและเงินที่จ่ายมีจำนวนแน่นอน เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน ค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7054/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการและการใช้เอกสารปลอม: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265
จำเลยได้เพิ่มชื่อ อ.ลงในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านแล้วได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวคืนให้เจ้าของเก็บรักษาไว้ยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฎหลักฐานว่า นายอำเภอได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ จำเลยจึงยังไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157,161 และ 162แต่จำเลยคงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7054/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและการแจ้งความเท็จ: ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ
จำเลยได้เพิ่มชื่อ อ.ลงในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านแล้วได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวคืนให้เจ้าของเก็บรักษาไว้ ยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่า นายอำเภอได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ จำเลยจึงยังไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157, 161 และ162 แต่จำเลยคงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265
of 66