พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การด่าทอและฉีกบัตรเวลาถือเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง ชอบธรรมที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าว
การที่ลูกจ้างด่าทอและฉีกบัตรบันทึกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ย่อมถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย นายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดวินัยร้ายแรง ด่าทอ ฉีกบัตรเวลา ถือเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้างชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
การที่ลูกจ้างด่าทอและฉีกบัตรบันทึกเวลาทำงาน ซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ย่อมถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย นายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยดอกเบี้ยค่าล่วงเวลาตามคำขอท้ายฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาถึงเรื่องค่าล่วงเวลาแล้ว
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี และศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เพียงใด จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 51 นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรกซึ่งตามข้อ 29(1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือนจึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าล่วงเวลา: ศาลต้องวินิจฉัยสิทธิลูกจ้างตามที่ฟ้อง
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี และศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เพียงใด จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 51
นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ซึ่งตามข้อ29 (1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือน จึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน
นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ซึ่งตามข้อ29 (1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือน จึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กรณีการอพยพผู้ลี้ภัย
การดำเนินการอพยพชาวเวียดนามขององค์การไอซีเอ็มซีผู้อพยพจะต้องลงนามในสัญญาใช้เงินว่าจะต้องจ่ายเงินคืนให้แก่องค์การระหว่างประเทศสำหรับผู้อพยพ ถ้าผู้อพยพที่ไม่ถือว่าเป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมายสหรัฐอเมริกาจะต้องให้ญาติพี่น้องของผู้อพยพไปจ่ายเงินให้แก่องค์การระหว่างประเทศสำหรับผู้อพยพเสียก่อน เงินที่องค์การระหว่างประเทศสำหรับผู้อพยพได้รับจากผู้อพยพนั้นจะนำไปใช้ในการดำเนินการเพื่ออพยพคนอื่นต่อไป จำเลยรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้นองค์การไอซีเอ็มซีจึงมิได้กำไรจากการอพยพชาวเวียดนามเลย การจ้างโจทก์จึงเป็นการจ้างที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ได้รับยกเว้นมิต้องอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ข้อ 14และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทคู่ความเดิม: ห้ามเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคดีใหม่ แม้เปลี่ยนฐานฟ้อง
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ได้ฟ้องโจทก์คดีนี้ว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไป ขอให้จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย เหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 กับพวกลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไป โดยจำเลยที่ 2 มิได้กระทำผิดซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2 ลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่าจำเลยที่ 2 ลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไปหรือไม่ และแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2จะเป็นฝ่ายโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์จะเป็นฝ่ายฟ้องจำเลยที่ 2 แต่โจทก์จำเลยในคดีทั้งสองก็เป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการเถียงข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิมในคดีแรงงาน: หลักการ estoppel
แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 ได้ฟ้องโจทก์คดีนี้ว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ไป ขอให้จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันชดใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าว แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 กับพวกลักทรัพย์ของโจทก์ไป โดยจำเลยที่ 2 มิได้กระทำผิดซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2ลักทรัพย์ของโจทก์ไป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 ลักทรัพย์ของโจทก์ไปหรือไม่และเมื่อโจทก์จำเลยในคดีทั้งสองเป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยที่ 2จึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นในคำฟ้อง และการยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ ย. และจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย.โดยอ้างเหตุว่าย.ผิดสัญญาเช่าซื้อแล้วถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาโจทก์ที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ ย. แล้วขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนรถที่เช่าซื้อหรือชำระราคา จำเลยทั้งสามต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ รถที่เช่าซื้อเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ยึดไว้จำเลยทั้งสามจึงคืนให้ไม่ได้ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะหรือไม่ ย. และจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะและ ย. และฝ่ายจำเลยทั้งสามไม่ได้ผิดสัญญาแล้วก็ชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์ที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสามได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้วย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิในเงินบำเหน็จ กรณีลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องสหภาพและพ้นสภาพกรรมการ
กรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 45 วรรคสอง หรือเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น ตามมาตรา 46 วรรคสอง ล้วนแต่จะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 48 ทั้งสิ้น เมื่อลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการของจำเลยมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้างแล้วโจทก์จึงมิใช่กรรมการลูกจ้างอีกต่อไปและมิได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 52 อีก สหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้มีการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานดังกล่าวและจำเลย 4 ครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ สหภาพแรงงาน ท. จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วัน นับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง จนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว ซึ่งสหภาพแรงงานท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ จำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้นไม่ข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานท. แจ้งต่อจำเลยจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป โจทก์จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31 ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์มีสถิติการลามากเป็นพฤติการณ์ที่ส่อชี้ถึงความตั้งใจของโจทก์ว่ามุ่งมั่นที่จะอุทิศตนให้งานเพียงใด และเมื่อจำเลยเตือนให้โจทก์ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นในเรื่องการขาด ลา มาสาย โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวอันเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ขวนขวายในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และท้ายที่สุดโจทก์ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติให้ลาไปสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โจทก์ก็ยังฝืนไปและไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอีก จำเลยจึงเลิกจ้าง พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ใช้เวลาไปทำกิจกรรมหลายประเภทแม้กิจกรรมดังกล่าวบางส่วนจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและกิจการบางส่วนเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างอื่นบ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อตัวโจทก์เองด้วยทั้งสิ้น โจทก์มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างโดยสม่ำเสมอ และไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้นายจ้างได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ โจทก์อาจไปทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองในขอบเขตและระยะเวลาที่พอเหมาะพอควรโดยการตกลงยินยอมของจำเลยหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของจำเลยเมื่อโจทก์มีจำนวนวันที่ไปทำงานให้แก่จำเลยน้อยย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยต้องเสียหายจากการกระทำของโจทก์จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยแต่อย่างใดเพราะจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานก็ต่อเมื่อพนักงานได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยหรือเสียชีวิตในขณะเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยเท่านั้น หาได้ยกเรื่องที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดขึ้นต่อสู้ด้วยไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดหรือไม่ การที่ศาลแรงงานหยิบยกปัญหานี้ขึ้นเองและวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพ้นตำแหน่งกรรมการลูกจ้างและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีข้อเรียกร้องยังไม่สิ้นสุด
เหตุของการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 48 นั้น ใช้บังคับทั้งกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตามมาตรา 45 วรรคสอง และเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นตามมาตรา 46 วรรคสองด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแล้วและข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 เท่านั้น เมื่อสหภาพแรงงาน ท.ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลย แล้วมีการเจรจากัน แต่ตกลงกันไม่ได้สหภาพแรงงาน ท.จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบตามมาตรา 21 และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้งจนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว สหภาพแรงงาน ท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ ซึ่งจำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ ดังนี้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป ลูกจ้างจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31