พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลสมควร, การคุ้มครองกรรมการลูกจ้าง, และสิทธิประโยชน์หลังเลิกจ้าง
กรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคสอง หรือเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น ตามมาตรา46 วรรคสอง ล้วนแต่จะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 48 ทั้งสิ้น
เมื่อลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการของจำเลยมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้างแล้ว โจทก์จึงมิใช่กรรมการลูกจ้างอีกต่อไปและมิได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 52 อีก
สหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้มีการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานดังกล่าวและจำเลย 4 ครั้ง แต่ตกลงกันไม่ได้ สหภาพแรงงาน ท. จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วัน นับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง จนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว ซึ่งสหภาพแรงงาน ท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ จำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้นไม่ข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงาน ท. แจ้งต่อจำเลยจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป โจทก์จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31 ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์
โจทก์มีสถิติการลามากเป็นพฤติการณ์ที่ส่อชี้ถึงความตั้งใจของโจทก์ว่ามุ่งมั่นที่จะอุทิศตนให้งานเพียงใด และเมื่อจำเลยเตือนให้โจทก์ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นในเรื่องการขาด ลา มาสาย โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวอันเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ขวนขวายในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และท้ายที่สุดโจทก์ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติให้ลาไปสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โจทก์ก็ยังฝืนไป และไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอีก จำเลยจึงเลิกจ้าง พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ใช้เวลาไปทำกิจกรรมหลายประเภทแม้กิจกรรมดังกล่าวบางส่วนจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและกิจกรรมบางส่วนเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างอื่นบ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อตัวโจทก์เองด้วยทั้งสิ้น โจทก์มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างโดยสม่ำเสมอ และไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้นายจ้างได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ โจทก์อาจไปทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองในขอบเขตและระยะเวลาที่พอเหมาะพอควรโดยการตกลงยินยอมของจำเลยหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของจำเลยเมื่อโจทก์มีจำนวนวันที่ไปทำงานให้แก่จำเลยน้อยย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยต้องเสียหายจากการกระทำของโจทก์จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยแต่อย่างใด เพราะจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานก็ต่อเมื่อพนักงานได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยหรือเสียชีวิตในขณะเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยเท่านั้น หาได้ยกเรื่องที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดขึ้นต่อสู้ด้วยไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดหรือไม่ การที่ศาลแรงงานหยิบยกปัญหานี้ขึ้นเองและวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการของจำเลยมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้างแล้ว โจทก์จึงมิใช่กรรมการลูกจ้างอีกต่อไปและมิได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 52 อีก
สหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้มีการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานดังกล่าวและจำเลย 4 ครั้ง แต่ตกลงกันไม่ได้ สหภาพแรงงาน ท. จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วัน นับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง จนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว ซึ่งสหภาพแรงงาน ท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ จำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้นไม่ข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงาน ท. แจ้งต่อจำเลยจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป โจทก์จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31 ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์
โจทก์มีสถิติการลามากเป็นพฤติการณ์ที่ส่อชี้ถึงความตั้งใจของโจทก์ว่ามุ่งมั่นที่จะอุทิศตนให้งานเพียงใด และเมื่อจำเลยเตือนให้โจทก์ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นในเรื่องการขาด ลา มาสาย โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวอันเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ขวนขวายในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และท้ายที่สุดโจทก์ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติให้ลาไปสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โจทก์ก็ยังฝืนไป และไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอีก จำเลยจึงเลิกจ้าง พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ใช้เวลาไปทำกิจกรรมหลายประเภทแม้กิจกรรมดังกล่าวบางส่วนจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและกิจกรรมบางส่วนเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างอื่นบ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อตัวโจทก์เองด้วยทั้งสิ้น โจทก์มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างโดยสม่ำเสมอ และไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้นายจ้างได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ โจทก์อาจไปทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองในขอบเขตและระยะเวลาที่พอเหมาะพอควรโดยการตกลงยินยอมของจำเลยหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของจำเลยเมื่อโจทก์มีจำนวนวันที่ไปทำงานให้แก่จำเลยน้อยย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยต้องเสียหายจากการกระทำของโจทก์จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยแต่อย่างใด เพราะจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานก็ต่อเมื่อพนักงานได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยหรือเสียชีวิตในขณะเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยเท่านั้น หาได้ยกเรื่องที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดขึ้นต่อสู้ด้วยไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดหรือไม่ การที่ศาลแรงงานหยิบยกปัญหานี้ขึ้นเองและวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงาน: คำวินิจฉัยศาลแรงงานขัดแย้งกัน ศาลฎีกาย้อนสำนวน
ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 2 ข้อ คือ ข้อ 1.โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ข้อ 2. โจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยหรือไม่โดยประเด็นข้อพิพาทที่ 1. ศาลแรงงานวินิจฉัยตอนต้นว่า โจทก์ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว แต่คำวินิจฉัยในตอนต่อมาที่ว่า การขัดคำสั่งของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณนั้น เป็นการฟังว่าโจทก์ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลแรงงานในประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 ดังกล่าวเป็นการฟังข้อเท็จจริงเป็นสองอย่างขัดแย้งกัน ศาลฎีกาจึงไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อกฎหมายของจำเลย เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเสียเองได้จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31, 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเนื่องจากคำวินิจฉัยขัดแย้งกันในประเด็นการฝ่าฝืนคำสั่ง และส่งให้พิจารณาใหม่
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาท ข้อ 1 ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหรือไม่แล้วได้วินิจฉัยในตอนต้นว่า โจทก์ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วแต่วินิจฉัยในตอนต่อมาว่าการขัดคำสั่งของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณเป็นการฟังว่าโจทก์ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของจำเลย คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการฟังข้อเท็จจริงเป็นสองอย่างขัดแย้งกัน จึงไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ศาลฎีกาจะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อกฎหมายเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานกลางฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายจึงชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดคำสั่งนายจ้างและการเลิกจ้าง: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเนื่องจากข้อเท็จจริงขัดแย้งกัน
ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 2 ข้อ คือ ข้อ 1. โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ข้อ 2. โจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยหรือไม่โดยประเด็นข้อพิพาทที่ 1. ศาลแรงงานวินิจฉัยตอนต้นว่า โจทก์ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว แต่คำวินิจฉัยในตอนต่อมาที่ว่า การขัดคำสั่งของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณนั้น เป็นการฟังว่าโจทก์ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลแรงงานในประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 ดังกล่าวเป็นการฟังข้อเท็จจริงเป็นสองอย่างขัดแย้งกัน ศาลฎีกาจึงไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อกฎหมายของจำเลยเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเสียเองได้จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเสียใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243 พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31,56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงานหนัก-เครียดจนหัวใจขาดเลือด ถือเป็นเจ็บป่วยจากการทำงาน
ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงานโดยเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมาตลอดทั้งสัปดาห์ และทำงานล่วงเวลาอีกด้วยเป็นสาเหตุแห่งความเครียดทำให้หัวใจขาดเลือด ถือได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเครียดจากการทำงานหนักเป็นเหตุให้หัวใจขาดเลือดถึงแก่ชีวิต ถือเป็นโรคจากการทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
ผู้ตายเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรแหล่งน้ำ 1 รับผิดชอบเป็นผู้จัดการโครงการวางท่อส่งน้ำ โดยทำงานร่วมกับบริษัทช.ผู้ตายต้องรับผิดชอบงานหลายด้าน เช่น การบริหารงานบุคคลดูแลงบประมาณและติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งยังต้องเร่งรัดให้งานแล้วเสร็จในกำหนด ต้องทำงานหนักตลอดสัปดาห์และทำงานล่วงเวลาด้วย เมื่อความเครียด จะเป็นตัวกระตุ้นให้หัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นและทำให้หัวใจหยุดเต้นทันทีได้การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงานเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมากตลอดทั้งสัปดาห์ และทำงานล่วงเวลาด้วยเป็นสาเหตุแห่งความเครียด ทำให้ หัวใจขาดเลือดและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าผู้ตาย ถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจาก การทำงานให้แก่นายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องโรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่อง กับการทำงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงานหนักและเครียด
ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงาน การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมากตลอดทั้งสัปดาห์และทำงานล่วงเวลาอีกด้วย เป็นสาเหตุแห่งความเครียดทำให้หัวใจขาดเลือดและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 1 เมษายน 2515 ข้อ 54 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: ความเครียดจากการทำงานหนักเป็นเหตุให้หัวใจขาดเลือด
ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงาน การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมากตลอดทั้งสัปดาห์และทำงานล่วงเวลาอีกด้วย เป็นสาเหตุแห่งความเครียดทำให้หัวใจขาดเลือดและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายถือได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 1 เมษายน 2515ข้อ 54(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5086/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี: ต้องยื่นคำขอภายใน 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนหลังรับเงินแล้วถือขาดสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่แก้ไขบัญชีแสดงหนี้คงเหลือตามคำขอของโจทก์ซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนหน้านั้น เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะ2 ภาค 4 ของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งโจทก์ชอบที่จะทำได้โดยยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีเสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อโจทก์ทราบและรับเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายตามบัญชีแสดงหนี้คงเหลือไปแล้ว โดยมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาแถลงคัดค้านบัญชีดังกล่าวและยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่แก้ไขบัญชีแสดงหนี้คงเหลือภายหลังจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5076/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจและการไต่สวนเหตุจำเป็นในการไม่สามารถมาศาลได้ในคดีแรงงาน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานกลางจำเลยมอบอำนาจให้ พ. มาชี้แจงข้อเท็จจริงแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ แต่ พ.มีความจำเป็นต้องไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยจึงมอบให้ ส.ถือหนังสือมอบอำนาจและหนังสือของ พ. ที่ขอเลื่อนการให้การมายื่นต่อศาล-แรงงานกลาง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยได้แถลงให้ศาลทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่ดำเนินการไต่สวนเพื่อจะได้ทราบว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นจริงหรือไม่ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41