คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิต ประไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5076/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจและการไต่สวนเหตุจำเป็นในการไม่สามารถมาศาลได้ในคดีแรงงาน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานกลางจำเลยมอบอำนาจให้ พ. มาชี้แจงข้อเท็จจริงแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ แต่ พ.มีความจำเป็นต้องไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยจึงมอบให้ ส.ถือหนังสือมอบอำนาจและหนังสือของ พ. ที่ขอเลื่อนการให้การมายื่นต่อศาล-แรงงานกลาง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยได้แถลงให้ศาลทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่ดำเนินการไต่สวนเพื่อจะได้ทราบว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นจริงหรือไม่ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5075/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฟ้องคดีแรงงาน: เงื่อนไขการยื่นคำขอและเหตุสุดวิสัย
การขยายระยะเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 คู่ความต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าหากยื่นคำขอเมื่อพ้นหรือสิ้นระยะเวลา กรณีต้องมีเหตุสุดวิสัยตามป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5075/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงานต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลา หรือมีเหตุสุดวิสัยตามกฎหมาย
การขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26 คู่ความต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าหากยื่นคำขอเมื่อพ้นหรือสิ้นระยะเวลา กรณีต้องมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5075/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงานต้องยื่นคำขอก่อนหมดเวลา หากพ้นกำหนดต้องมีเหตุสุดวิสัยเท่านั้น
การขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26คู่ความต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าหากยื่นคำขอเมื่อพ้นหรือสิ้นระยะเวลากรณีต้องมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต ไม่ตกทอดถึงทายาท
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิการเช่าย่อมระงับไม่ตกทอดไปยังทายาท คำพิพากษาในคดีอื่นที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิการเช่ามิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต การโอนสิทธิโดยไม่สุจริตไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์
แม้ บ. มีสิทธิเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อ บ. ตายสิทธิการเช่าย่อมระงับหรือสิ้นสุดลงไม่ตกทอดไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาท ส่วนคำพิพากษาของศาลอีกคดีหนึ่งที่วินิจฉัยว่า ฮ. ลงชื่อเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทของโจทก์ร่วมแทน บ. ในคดีระหว่าง ฮ. กับ บ. นั้นเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิการเช่าอาคาร มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อ ฮ. ผู้เช่าเดิมได้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทแก่โจทก์และโจทก์ร่วมยินยอมและจัดให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิใช้อาคารพิพาท จำเลยอยู่ในอาคารพิพาทโดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดโต้แย้งสิทธิโจทก์และโจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าระงับเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต ไม่ตกทอดถึงทายาท คำพิพากษาในคดีเช่าไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิการเช่าย่อมระงับไม่ตกทอดไปยังทายาท
คำพิพากษาในคดีอื่นที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิการเช่ามิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคำท้าในคดีแพ่ง: ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานต่อไปหากคำพิพากษาไม่ชี้ขาดตามคำท้า
โจทก์จำเลยท้ากันว่า หากคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง จำเลยยอมแพ้ แต่หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่มีความผิด โจทก์ยอมแพ้ และคู่ความแถลงไม่ติดใจสืบพยาน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ขาดอายุความเท่ากับศาลมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่มีความผิดตามฟ้อง ศาลก็ไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะหรือแพ้คดีตามคำท้าได้ ชอบที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานอื่นของโจทก์จำเลยต่อไป แม้ข้อความคำท้าตามรายงานกระบวนพิจารณาจะระบุว่าคู่ความไม่ติดใจสืบพยาน ก็มีความหมายเพียงว่าหากคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างหนึ่งอย่างใดตามคำท้าแล้วคู่ความจะไม่ติดใจสืบพยาน จะถือว่าในกรณีที่คำพิพากษาถึงที่สุดไม่ชี้ขาดว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ คู่ความก็ไม่ติดใจสืบพยานหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำท้าทางศาลเมื่อคำพิพากษาคดีอาญาไม่ชี้ขาดความผิด-ไม่ผิด การพิจารณาคดีแพ่งต้องดำเนินต่อไป
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาซึ่งจำเลยคดีนี้ถูกฟ้องเป็นจำเลยมีความผิดตามฟ้อง จำเลยคดีนี้ยอมแพ้หากคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง โจทก์คดีนี้ยอมแพ้ คู่ความแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ปรากฏว่าในคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยศาลฎีกายกฟ้องโจทก์เพราะฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยไม่ได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ดังคำท้า ศาลไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะหรือแพ้คดีตามคำท้า ต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไป แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจดบันทึกคำท้าไว้ว่าคู่ความไม่ติดใจสืบพยาน ก็มีความหมายเพียงว่าหากคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดอย่างหนึ่งอย่างใดตามคำท้าแล้วคู่ความจะไม่ติดใจสืบพยาน จะถือว่าในกรณีคำพิพากษาคดีอาญาอันถึงที่สุดไม่ชี้ขาดว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่คู่ความก็ไม่ติดใจสืบพยานหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่รายงานเท็จและกระทำการทุจริต สิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์หลังเกษียณ
โจทก์รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจบริหารสูงสุดของจำเลยในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบและโจทก์ก็มิได้ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเรื่องบัตรโดยสารเครื่องบิน
of 66