คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลิต ประไพศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 657 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานโดยองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร: ข้อยกเว้นกฎหมายแรงงาน
การดำเนินการอพยพชาวเวียดนามขององค์การไอซีเอ็มซีผู้อพยพจะต้องลงนามในสัญญาใช้เงินว่าจะต้องจ่ายเงินคืนให้แก่องค์การระหว่างประเทศสำหรับผู้อพยพถ้าผู้อพยพที่ไม่ถือว่าเป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมายสหรัฐอเมริกาจะต้องให้ญาติพี่น้องของผู้อพยพไปจ่ายเงินให้แก่องค์การระหว่างประเทศสำหรับผู้อพยพเสียก่อนเงินที่องค์การระหว่างประเทศสำหรับผู้อพยพได้รับจากผู้อพยพนั้นจะนำไปใช้ในการดำเนินการเพื่ออพยพคนอื่นต่อไปจำเลยรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาดังนั้นองค์การไอซีเอ็มซีจึงมิได้กำไรจากการอพยพชาวเวียดนามเลยการจ้างโจทก์จึงเป็นการจ้างที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจได้รับยกเว้นมิต้องอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515ข้อ14และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีประกันสังคมต้องวางเงินตามประกาศกระทรวงมหาดไทย หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทนซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ60แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาลโจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามวรรคสี่ของข้อ60แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวโดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้ โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีลูกจ้างไม่ถึงสิบคนจึงไม่อยู่ในบังคับของสำนักงานประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533เป็นการยกกฎหมายคนละเรื่องคนละฉบับไม่อาจนำมาปรับกับคดีที่โจทก์ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9151/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งพักงานชั่วคราวก่อนสอบสวนวินัย/อาญา และสิทธิการกลับเข้าทำงานเมื่อไม่พบความผิด
ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 มีข้อความว่าพนักงานผู้ใดมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่คดีความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท... ฯลฯ... ก็ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่ง...ฯลฯ...ให้ผู้นั้นออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ และวรรคสองมีข้อความว่า แต่ถ้าภายหลังศาลพิพากษาว่ามีความผิด หรือสอบสวนพิจารณาได้ความเป็นสัตย์ที่จะต้องลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก หรือเป็นกรณีที่จะต้องให้ออกจากงานด้วยเหตุอื่น ก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ตรงตามข้อบังคับ... ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนมิได้มีความผิดเลยหรือมีความผิด... และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากงานด้วยเหตุอื่น ให้ผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ออกจากงานสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าทำงานตามเดิม แต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และกรณีของจำเลยที่ 2 ได้กระทำผิดสัญญาจ้างทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับของข้อบังคับดังกล่าวให้โจทก์รับจำเลยที่ 2 กลับเข้าทำงาน และกรณีผิดสัญญาจ้างก็ไม่มีข้อบังคับห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในทางแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9151/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับการรถไฟฯ กับการฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างที่ศาลยกฟ้องคดีอาญา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่3.5มีข้อความว่าพนักงานผู้ใดมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาเว้นแต่คดีความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาทฯลฯก็ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งฯลฯให้ผู้นั้นออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้และวรรคสองมีข้อความว่าแต่ถ้าภายหลังศาลพิพากษาว่ามีความผิดหรือสอบสวนพิจารณาได้ความเป็นสัตย์ที่จะต้องลงโทษไล่ออกปลดออกหรือให้ออกหรือเป็นกรณีที่จะต้องให้ออกจากงานด้วยเหตุอื่นก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกปลดออกหรือให้ออกให้ตรงตามข้อบังคับถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนมิได้มีความผิดเลยหรือมีความผิดและไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากงานด้วยเหตุอื่นให้ผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ออกจากงานสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าทำงานตามเดิมแต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและกรณีของจำเลยที่2ได้กระทำผิดสัญญาจ้างทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับของข้อบังคับดังกล่าวให้โจทก์รับจำเลยที่2กลับเข้าทำงานและกรณีผิดสัญญาจ้างก็ไม่มีข้อบังคับห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดในทางแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะรัฐวิสาหกิจขององค์การค้าคุรุสภา: ไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย
องค์การค้าคุรุสภาไม่ใช่องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นและไม่ใช่หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าขององค์การค้าคุรุสภาจึงไม่ใช่รัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534มาตรา4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะทางกฎหมายขององค์การค้าของคุรุสภา: ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ
องค์การค้าของคุรุสภา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2493ตามมติของคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา ไม่ใช่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 ที่มีผลใช้บังคับภายหลังจากที่มีการจัดตั้งองค์การค้าของคุรุสภาแล้ว และตาม พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 มาตรา 4, 6กำหนดให้คุรุสภาซึ่งเป็นเจ้าขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงศึกษาธิการ และให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นแก่กระทรวง-ศึกษาธิการในเรื่องการจัดการศึกษาโดยทั่วไป รวมทั้งการปกครองดูแลและคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ประกอบอาชีพครูโดยเฉพาะ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลหรือดำเนินการใด ๆ แก่ประชาชนโดยทั่วไป ทั้งตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ.2534 มาตรา 26 ก็ไม่ได้บัญญัติให้คุรุสภาเป็นส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ถือไม่ได้ว่าคุรุสภาซึ่งเป็นเจ้าขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นรัฐ องค์การค้าของคุรุสภาจึงไม่ใช่องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นและไม่ใช่หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ องค์การค้าของคุรุสภาจึงไม่ใช่รัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การเสนอให้ลาออกเพื่อพักรักษาตัว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มมีบันทึกถึง ป. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่าควรเลิกจ้างโจทก์และขอให้ ป. ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชาหามีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีไม่เมื่อ ป. มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติแต่ขอเป็นการส่วนตัวให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่ซึ่งเป็นข้อแนะนำในเชิงให้ทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ถูกเลิกจ้างจึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามคำแนะนำหรือไม่ก็ได้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งเลิกจ้างที่ไม่สมบูรณ์และการแนะนำให้ลาออกไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
บันทึกของ พ. ถึง ป.ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย มีข้อความว่า "โปรดดำเนินการพิจารณาเลิกจ้าง ค.ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกจัดเลี้ยงด้วย(หมายถึงโจทก์) เหตุผลขาดงาน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2536 ถึง 8พฤษภาคม 2536 โดยมิได้แจ้งให้ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มทราบ อีกทั้งในการปฏิบัติหน้าที่มักจะหยุดงานอยู่เสมอ ให้มีผลวันที่ 8 พฤษภาคม 2536" นั้นเป็นเรื่องที่ พ.มีความเห็นว่าควรเลิกจ้างโจทก์และได้ขอให้ ป.ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชา หาได้มีผลเป็นการสั่งหรือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีไม่ ป.จึงยังมีหน้าที่จะต้องดำเนินการพิจารณา หากเห็นชอบด้วยแล้วก็ต้องดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์เป็นขั้นตอนตามระเบียบข้อบังคับและวิธีปฏิบัติของจำเลยต่อไป การที่ ป.มิได้ดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติ แต่กลับขอให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่นั้น เป็นเรื่องที่ ป.พิจารณาแล้วดำเนินการไปตามความเห็นของ ป.เอง ในเชิงไม่ต้องการมีการเลิกจ้างโจทก์ และเป็นข้อแนะนำในเชิงให้ทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ต้องถูกเลิกจ้างกรณีเช่นว่านี้จึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามที่ ป.แนะนำหรือไม่ก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า ป.ได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ทำการแทนในการแนะนำโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่าง ป.กับโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง เมื่อยังมิได้มีการบอกเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว
ประเด็นเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ค่าบริการตามคำขอโจทก์ และเงินประกันการทำงานนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยจึงต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องเป็นไปตามขั้นตอน หากผู้มีอำนาจไม่สั่งเลิกจ้าง การเสนอให้ลาออกไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มมีบันทึกถึงป. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่าควรเลิกจ้างโจทก์และขอให้ป. ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชาไม่มีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีเมื่อป. มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติแต่ขอเป็นการส่วนตัวให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่ในเชิงไม่ต้องการเลิกจ้างโจทก์และเป็นข้อแนะนำในเชิงทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ถูกเลิกจ้างจึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามคำแนะนำหรือไม่ก็ได้ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ฟ้องเคลือบคลุม, อายุความ, การนำสืบ และประเด็นข้อพิพาทในคดีเรียกทรัพย์สินคืน
จำเลยให้การเพียงว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ที่จำเลยทดรองจ่ายค่าโฆษณาแทนโจทก์ไปก่อน จำเลยจึงนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินจากโจทก์ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยจ่ายเงินค่าสินค้าและของแถมเกินกว่าโจทก์เป็นเงิน 1,000,000 บาทเศษ จึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดชลบุรี มูลคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชลบุรีด้วย พยานหลักฐานคือเช็คทั้งหมดก็อยู่ที่ธนาคาร การพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดชลบุรีจึงเป็นการสะดวก ศาลจังหวัดชลบุรีจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) เดิม
อุทธรณ์ของจำเลยได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่บรรยายว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาและโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ที่กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองกล่าวไว้ข้างต้น หาใช่เป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันจะไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์ได้ทำสัญญาแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าตามสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการโฆษณาโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันจ่ายค่าโฆษณาคนละครึ่ง และโจทก์บรรยายในฟ้องด้วยว่า จำเลยเอาความเท็จมาอ้างกับโจทก์ให้โจทก์จ่ายเงิน 4,068,734 บาทแก่จำเลยโดยอ้างว่าจะนำเงินไปชำระค่าโฆษณา ฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วข้อที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่นั้น โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ศาลชั้นต้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองโดยรอไว้วินิจฉัยรวมในคำพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์ออกเช็คแล้ว นำไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยโดยมิชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ในกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นฟ้องฐานลาภมิควรได้ไม่
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินตามเช็คของโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 1นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 คืน การที่โจทก์ที่ 2 ลงชื่อในเช็คดังกล่าวก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ฟ้องเรียกคืน จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธแต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้หลอกลวงให้โจทก์จ่ายเช็คเป็นการชำระค่าโฆษณา แต่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวไปชำระค่าโฆษณา กลับนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเองเป็นส่วนตัว และศาลชั้นต้นกำหนดประะเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยหลอกให้โจทก์สั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินมาเป็นของจำเลยโดยมิชอบหรือไม่ เช่นนี้ การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงิน 14 ล้านบาทเศษ ส่วนจำเลยชำระค่าโฆษณา และค่าของแถมเป็นเงินเพียง 8 ล้านบาทเศษ โจทก์จึงจ่ายเงินค่าโฆษณาและของแถมเกินกว่าที่จำเลยชำระ 4 ล้านบาทเศษ เป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์สั่งจ่ายเช็คได้อย่างไร อันเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแวดล้อมกรณี หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
of 66