คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวิทย์ ธีรพงษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การได้มาและการโอนสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีหลักฐานการครอบครองที่แข็งแกร่งกว่า
จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ได้ให้ ต. เช่า ต.ให้อ.อาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทดังนั้นแม้อ. จะขาย ที่ดินพิพาทให้โจทก์จริง อ. ก็ไม่มีสิทธิครอบครองที่จะโอนให้ โจทก์ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองแทน เจ้าของร่วมไม่ได้ยกที่ดินให้บุคคลอื่น
ที่พิพาทเป็นของ ส.กับล.และเจ้าของร่วมคนอื่นๆพ.ซึ่งเป็นบุตรของ ส. กับ ล. ปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาท แสดงว่าเจ้าของร่วมคนอื่นไม่ได้ปล่อยให้ ล. ครอบครองแต่ผู้เดียว แม้ต่อมาล. จะอยู่ในที่พิพาทเพียงผู้เดียว ที่พิพาทก็ยังเป็นของเจ้าของร่วมทุกคน ถือว่า ล. ครอบครองแทนในฐานะเจ้าของร่วมเมื่อ ล. ตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรก็ได้ไปซึ่งทรัพย์มรดกเพียงเท่าที่ ล. มีร่วมอยู่เท่านั้นคือเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่งและครอบครองแทนผู้มีชื่อ ในโฉนด คนอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600การที่ผู้ร้องครอบครองที่พิพาทจึงไม่ใช่เป็นการครอบครองโดยอาศัยอำนาจของตนเอง ผู้ร้องย่อมไม่ได้สิทธิในที่พิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีฆ่าผู้อื่นโดยอาศัยพยานผู้มีส่วนร่วมเหตุการณ์และยืนยันตัวผู้กระทำผิด
ว.กับส. พยานโจทก์รู้จักกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเรื่องโกรธเคืองกัน บริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟฟ้าจากเสาไฟฟ้าข้างทางและจากบ้านทั้งสองข้างทาง และบิดามารดาของพยานโจทก์ทั้งสองซึ่งเข้าไปห้ามปรามก็ถูกพวกจำเลยตีทำร้ายด้วย ว. ถึงได้ตะโกนให้หยุด โดยขู่ว่ามิฉะนั้นจะเอาปืนมายิง พวกจำเลยจึงได้ล่าถอยไป แสดงว่าพยานได้มีส่วนแก้ไขในเหตุการณ์ด้วย ไม่ใช่เพียงรู้เห็นเหตุการณ์อย่างเดียว ในคืนเกิดเหตุภายหลังเกิดเหตุแล้วเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพวกของจำเลยได้ พยานโจทก์ทั้งสองก็ชี้ ตัวว่าเป็นคนร้าย ต่อมาเมื่อ ส. เห็นจำเลยที่ลานสเกต ก็เป็นคน โทรศัพท์แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยได้ที่ลานสเกต ดังกล่าว ดังนี้จึงเชื่อ ว่าพยานโจทก์ทั้งสองต้องสนใจและจำจำเลยได้ไม่ผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับรถยนต์รับจ้างไปในทางการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่าจ้าง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน คำว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายถึง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้หมายถึงผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะแห่งการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งมีกฎหมายบังคับคนละลักษณะกัน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับรถยนต์รับจ้างไปในทางการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่าจ้าง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันคำว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายถึง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้หมายถึงผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะแห่งการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งมีกฎหมายบังคับคนละลักษณะกัน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้างบกพร่อง ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ จำเลยต้องจ่ายค่าก่อสร้างบางส่วน ความรับผิดร่วมจากความประมาท
โจทก์ก่อสร้างสะพานไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่รับมอบงานและบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อโจทก์ก่อสร้างสะพานเสร็จ ประชาชนได้ใช้ถนนและสะพานมาตลอดเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ยังไม่ปรากฏความเสียหายของสะพานแสดงว่าแม้โจทก์จะก่อสร้างสะพานบกพร่องและไม่ตรงตามแบบ แต่งานบางส่วนได้มาตรฐานและส่วนที่ผิดแบบก็ยังใช้งานได้บ้าง การที่จำเลยปล่อยให้ประชาชนใช้สะพานได้เป็นการที่จำเลยเอาผลงานของโจทก์ที่สมบูรณ์ออกใช้ประโยชน์ โจทก์สมควรจะได้รับเงินค่าก่อสร้างบางส่วน การที่โจทก์ตอก เสาเข็มตอม่อ กลางน้ำผิดจากแบบเกิดจากช่างของโจทก์ตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบว่าให้ตอก เสาเข็มแบบใด และช่างของจำเลยควบคุมการตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบเช่นกัน โดยคนทั้งสองเข้าใจว่าการตอก เสาเข็มตรงตามแบบในสัญญาแล้ว แม้ความผิดพลาดจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่ก็เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของช่างควบคุมงานของจำเลยด้วย จำเลยจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้างบกพร่อง-บอกเลิกสัญญา-ใช้ประโยชน์งาน: ศาลพิจารณาจ่ายค่าก่อสร้างตามส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
โจทก์ก่อสร้างสะพานไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่รับมอบงานและบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อโจทก์ก่อสร้างสะพานเสร็จ ประชาชนได้ใช้ถนนและสะพานมาตลอดเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ยังไม่ปรากฏความเสียหายของสะพานแสดงว่าแม้โจทก์จะก่อสร้างสะพานบกพร่องและไม่ตรงตามแบบ แต่งานบางส่วนได้มาตรฐานและส่วนที่ผิดแบบก็ยังใช้งานได้บ้าง การที่จำเลยปล่อยให้ประชาชนใช้สะพานได้เป็นการที่จำเลยเอาผลงานของโจทก์ที่สมบูรณ์ออกใช้ประโยชน์ โจทก์สมควรจะได้รับเงินค่าก่อสร้างบางส่วน
การที่โจทก์ตอก เสาเข็มตอม่อ กลางน้ำผิดจากแบบเกิดจากช่างของโจทก์ตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบว่าให้ตอก เสาเข็มแบบใด และช่างของจำเลยควบคุมการตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบเช่นกัน โดยคนทั้งสองเข้าใจว่าการตอก เสาเข็มตรงตามแบบในสัญญาแล้ว แม้ความผิดพลาดจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่ก็เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของช่างควบคุมงานของจำเลยด้วย จำเลยจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5807/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดกั้นร่องน้ำเพื่อป้องกันความเสียหายในที่ดินของตน แม้จะทำให้ที่ดินของผู้อื่นเสียหาย ก็ไม่ต้องรับผิด
ที่นาจำเลยตั้งอยู่เหนือที่นาโจทก์ ปกติน้ำจะไหลจากที่นาโจทก์ระบายผ่านที่นาจำเลย การที่จำเลยปิดร่องน้ำในที่นาจำเลยเพื่อมิให้ดินไหลเข้ามาทำความเสียหายแก่ต้นข้าวในที่นาของจำเลย เป็นการป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะก่อความเสียหายแก่โจทก์จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5807/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จำเลยไม่ต้องรับผิด
ที่นาจำเลยตั้งอยู่เหนือที่นาโจทก์ ปกติน้ำจะไหลจากที่นาโจทก์ระบายผ่านที่นาจำเลย การที่จำเลยปิดร่องน้ำในที่นาจำเลยเพื่อมิให้ดินไหลเข้ามาทำความเสียหายแก่ต้นข้าวในที่นาของจำเลยเป็นการป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะก่อความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ความเสียหายต้องเกิดจากการทำงานในหน้าที่เท่านั้น
จำเลยที่ 1 เข้าทำงานเป็นพนักงานของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความว่า "เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำงานในธนาคารแล้ว ภายหลังได้หลบหลีกหนีหายไป หรือได้ฉ้อโกง ยักยอก หรือทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย หรือสูญเสียทรัพย์สินไม่ว่าด้วยประการใด ๆจำเลยที่ 2 ตกลงชดใช้เงินให้แก่ธนาคาร" ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนี้ย่อมหมายถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเกิดจากการทำงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ดูแลความสงบและความปลอดภัยภายในธนาคาร ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้ลูกค้าของโจทก์ลงชื่อในใบถอนเงินและเป็นผู้ถอนเงินไป ก็เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่การกระทำในตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย.
of 15