พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของโรงเรือนบนที่ดินขายฝาก: การเข้าร่วมเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิและค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านที่รับซื้อฝาก ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังหนึ่งตามฟ้องซึ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่โจทก์รับซื้อฝากจากจำเลยโดยผู้ร้องสอดได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ปลูกสร้างในระหว่างสัญญาขายฝากยังไม่ครบกำหนดการไถ่คืนเป็นการปลูกสร้างโดยสุจริต โจทก์จะขับไล่ผู้ร้องสอดโดยไม่ใช้ค่าโรงเรือนไม่ได้ ขอร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ ขอให้ศาลพิพากษาว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องสอด หากจะขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินก็ให้โจทก์จ่ายค่าโรงเรือนดังกล่าวเป็นเงิน 50,000 บาท แก่ผู้ร้องสอด ดังนี้ หากความจริงเป็นดังที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้างในคำร้อง บ้านเลขที่ดังกล่าวย่อมไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์อาจต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะการสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้ร้องสอด หรือผู้ร้องสอดอาจมีสิทธิรื้อถอนโรงเรือนนั้นไปก็ได้จึงเป็นการจำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านทั้ง 5 หลังตามฟ้องแล้วคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนั้น หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมด ก็จะทำให้คดีดังกล่าวข้างต้นต้องล่าช้าไปไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านทั้ง 5 หลังตามฟ้องแล้วคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนั้น หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมด ก็จะทำให้คดีดังกล่าวข้างต้นต้องล่าช้าไปไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของโรงเรือนบนที่ดินขายฝาก: การขอเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิ และการฟ้องคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านที่รับซื้อฝาก ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังหนึ่งตามฟ้องซึ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่โจทก์รับซื้อฝากจากจำเลยโดยผู้ร้องสอดได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ปลูกสร้างในระหว่างสัญญาขายฝากยังไม่ครบกำหนดการไถ่คืนเป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตโจทก์จะขับไล่ผู้ร้องสอดโดยไม่ใช้ค่าโรงเรือนไม่ได้ ขอร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ ขอให้ศาลพิพากษาว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องสอด หากจะขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินก็ให้โจทก์จ่ายค่าโรงเรือนดังกล่าวเป็นเงิน 50,000 บาท แก่ผู้ร้องสอด ดังนี้ หากความจริงเป็นดัง ที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้างในคำร้อง บ้านเลขที่ ดังกล่าวย่อมไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์อาจต้องใช้ค่าแห่งที่ดิน ที่เพิ่มขึ้นเพราะการสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้ร้องสอด หรือผู้ร้องสอดอาจมีสิทธิรื้อถอนโรงเรือนนั้นไปก็ได้จึงเป็นการ จำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อ ยังให้ได้รับ ความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ชอบที่ศาลชั้นต้น จะ อนุญาตอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านทั้ง 5 หลังตามฟ้องแล้วคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ดังนั้น หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมด ก็จะทำให้คดีดังกล่าวข้างต้นต้องล่าช้าไปไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปลอมและการแก้ไขกระบวนพิจารณาเอกสาร: ศาลยืนตามข้อเท็จจริงที่จำเลยพิสูจน์ได้ว่ามีการแก้ไขสัญญากู้ยืม
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 30,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้กรอกข้อความในสัญญากู้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 65,000 บาทโดยจำเลยมิได้ยินยอมสัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม และถือว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์ จำเลยไม่มีหลักฐานการกู้ยืมตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ จำเลยได้เสียค่าอ้างพยานเอกสารภายหลังตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการแก้ไขกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับการอ้างเอกสารซึ่งบกพร่องให้บริบูรณ์แล้ว เอกสารที่จำเลยอ้างจึงใช้ได้ และไม่ทำให้การพิจารณาและพิพากษาของศาลชั้นต้นเสียไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้บุตรแล้วบุตรพูดถึงสิทธิในที่ดิน ไม่ถือเป็นการประพฤติเนรคุณ
จำเลยซึ่งเป็นบุตรโจทก์ได้พูดกับโจทก์ว่า "แม่จะไปอยู่ที่ไหนก็ตามใจแม่เถอะ เพราะที่นี่เป็นสิทธิขาดของผมแล้ว" เป็นเพียงคำพูดยืนยันว่าที่ดินที่โจทก์ยกให้นั้นเป็นของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน โจทก์พอใจจะอยู่หรือจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ใช่พูดขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณโดยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531(2) เพียงแต่เป็นคำพูดที่บุตรไม่ควรพูดกับมารดาซึ่งมีพระคุณของตนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
ผู้ร้องเคยฟ้องคดีแพ่งที่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องเป็นทายาทจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวร่วมกับจำเลย โจทก์คดีนี้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต จึงขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทที่จำนองแต่ผู้เดียว ซึ่งเท่ากับวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีว่าทรัพย์ที่จำนองมิใช่ของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมาร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นของผู้ร้อง จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวมา การร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเดิมผู้ร้องทั้งสองฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่ารับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 4754,4755,4756 และตึกแถวเลขที่ 35,37,39 ที่ผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมอยู่กับจำเลยในคดีนี้โดยไม่สุจริต ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวแต่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างที่จำนองแต่ผู้เดียว เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าทรัพย์สินที่จำนองมิใช่ของผู้ร้องทั้งสองการที่ผู้ร้องทั้งสองมาร้องขัดทรัพย์ ในคดีนี้ขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 4755,4756 และตึกแถวเลขที่ 37,39 เป็นของผู้ร้องทั้งสองตามลำดับ จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีเดิม การร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย & การช่วยเหลือการก่อสร้าง: จำเลยไม่ผิดสัญญา แม้ไม่ยื่นขอเลขบ้าน เพราะโจทก์สร้างไม่เสร็จ
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินข้อ 8 ระบุว่า "ผู้จะขายและผู้จะซื้อต่างฝ่ายต่างได้รับรองไว้ต่อกันว่าจะไม่ทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเกิดการเสียหายเป็นอันขาด และถ้ามี เหตุการณ์ ที่ต้องขอความร่วมมือซึ่งกันและกันแล้ว ทั้งผู้จะขายและผู้จะซื้อยินดีร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนกว่าการปลูกสร้างจะแล้วเสร็จบริบูรณ์" โจทก์ก่อสร้างตึกแถวพิพาทยังไม่เสร็จ แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอเลขบ้านตึกแถวพิพาทซึ่งผู้ใหญ่บ้านไม่ออกให้เพราะผิดระเบียบถึงแม้จำเลยเจ้าของที่ดินจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก็ไม่สามารถจะออกเลขบ้านตึกแถวพิพาทได้การที่จำเลยไม่ยื่นคำร้องขอเลขบ้านตึกแถวพิพาทเพื่อโจทก์จะได้ขอติดตั้งน้ำประปาและไฟฟ้าเพื่อจะได้ทำการก่อสร้างต่อไป จำเลยจึงไม่ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย, สิทธิในทรัพย์มรดก, และอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
พฤติการณ์ที่ พ. พาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆ เหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรของตนเช่นนี้ถือได้ว่า พ. ได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5ฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บรรพ 5 แห่งป.พ.พ. พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของ พ. กับนาง ฉ. ซึ่งสมรสกันก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิมจึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งให้คนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ไม่ปรากฏว่า พ.กับนางฉ. มีสินเดิมจึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ พ.ถึงแก่กรรม สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนโดยเป็นของ พ. สองส่วนอีกส่วนหนึ่งเป็นของ นาง ฉ. โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จำเลยตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองมรดกแทนทายาททั้งหลายดังนี้จำเลยไม่อาจจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย สิทธิในมรดก และการแบ่งสินสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พฤติการณ์ที่ผู้ตายพาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆเหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรโดยให้โจทก์ใช้นามสกุลของผู้ตายและเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ถือได้ว่าผู้ตายได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว ผู้ตายกับ ฉ. สมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4และมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของผู้ตายกับ ฉ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของผู้ตายสองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ฉ. แม้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของ ฉ.ซึ่งฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินแปลงอื่นและเรียกที่ดินคืนจากจำเลยในคดีดังกล่าวว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งแต่ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโอนสิทธิที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิทำให้ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และได้ให้ ต.เช่าต.ให้อ. อาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่ อ.ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ก็ไม่ได้ สิทธิครอบครอง เพราะ อ.ไม่มีสิทธิครอบครองที่จะโอนให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง