พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการสืบพยานร่วมและการวินิจฉัยตามคำเบิกความ มีผลผูกพันคู่ความ
ทางพิจารณาคู่ความตกลงกันว่า ขอสืบ ส.เป็นพยานร่วมเพียงปากเดียว หาก ส.เบิกความเป็นอย่างไรก็ให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้นและหาก ส.เบิกความไม่สมฝ่ายใด ก็ถือว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานให้ศาลพิพากษาไปตามประเด็นแห่งคดี เมื่อคำเบิกความของ ส.สอดคล้องเจือสมกับคำฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีส่วนในการซื้อที่ดินคืนไม่ใช่จำเลยซื้อเพียงคนเดียว จำเลยจึงต้องแพ้คดีตามที่ตกลงกันในรายงานกระบวนพิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5950/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ซื้อขายไก่: ความรับผิดของคู่สมรสที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าโดยตรง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายไก่กับโจทก์เพียงคนเดียว ใบรับไก่ก็มีแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อรับ แม้จำเลยที่ 2 จะอยู่กิน ฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอาชีพทำไร่และ ขับรถบรรทุกและไม่ได้มาที่ร้านของจำเลยที่ 1 ทุกวัน ปกติจำเลย ที่ 1 จะอยู่กับลูกจ้างจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนหรือกระทำ การค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อมีการผิดสัญญาซื้อขายไก่ โจทก์ต้อง บังคับเอากับจำเลยที่ 1 โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด หนี้ดังกล่าวไม่ใช่หนี้ร่วมตามป.พ.พ. มาตรา 291.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนก่อนและหลังออกจากหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าผิดสัญญาซื้อขาย โดยจำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อสินค้าประเภทผ้าย้อมไปจากโจทก์ และได้รับสินค้าถูกต้องครบถ้วนแล้วไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไว้ด้วยว่า ในระหว่างที่เกิดมูลคดีนี้ จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจลงชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และประทับตราห้างของจำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ได้บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ส่วนปัญหาว่าจำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้างเป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา
จำเลยที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตามป.พ.พ. มาตรา 1051 และมาตรา 1052 จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1
แม้โจทก์ผู้อ้างเอกสารจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยก่อน 3 วันแต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)
จำเลยที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตามป.พ.พ. มาตรา 1051 และมาตรา 1052 จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1
แม้โจทก์ผู้อ้างเอกสารจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยก่อน 3 วันแต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าผิดสัญญาซื้อขาย โดยจำเลยที่ 1ได้สั่งซื้อสินค้าประเภทผ้าย้อมไปจากโจทก์ และได้รับสินค้าถูกต้องครบถ้วนแล้วไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไว้ด้วยว่า ในระหว่างที่เกิดมูลคดีนี้ จำเลยที่ 4เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจลงชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และประทับตราห้างของจำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 4ได้บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ส่วนปัญหาว่าจำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้างเป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา จำเลยที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1051 และมาตรา 1052 จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1 แม้โจทก์ผู้อ้างเอกสารจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยก่อน 3 วันแต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนและแม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจะออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว ก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1051,1052 โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลยที่ 4 ก่อน 3 วัน แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: แม้มีเหตุจำเป็น แต่จำเลยมีทางเลือกอื่น จึงถือจงใจขาดนัด
แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 1 จะขอเบิกเงินค่าจ้างจากนายจ้างเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการมาศาลไม่ได้ และนายจ้างได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ดูแลรับผิดชอบยางพาราด้วยก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็จะนำเอาเหตุดังกล่าวมาอ้างว่าจำเลยทั้งสองมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาไม่ได้เพราะจำเลยที่ 1 อาจจะมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยามาขอเลื่อนคดีได้ แต่จำเลยที่ 1ก็ไม่กระทำ หรือจำเลยที่ 2 เองก็มิได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ด้วย ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5803/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่ และการใช้ดุลพินิจศาลในการไม่รอฟังผลคดีอื่น
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้รอฟังผลคดีอื่นให้ถึงที่สุดก่อน ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งการใช้ดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการสั่งไม่รอฟังผลคดีอื่น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ ผู้ไม่ได้รับการจัดสรรไม่มีสิทธิแย่งการครอบครอง
การซื้อขายที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 จึงเป็นโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ในเขตปฏิรูปที่ดินบุคคลที่มิได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่มีสิทธิแย่งการครอบครองผู้ที่ได้รับจัดสรรเพราะเมื่อผู้ได้รับจัดสรรที่ดินละทิ้งการครอบครองไป การครอบครองที่ดินก็กลับตกมาเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกครั้ง ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดสรรให้เกษตรกรที่เหมาะสมได้รับต่อไป และพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 37 ห้ามมิให้ยกอายุความครอบครองขึ้นต่อสู้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้การยกให้ไม่จดทะเบียน การขุดร่องน้ำทำถนนในที่ดินของผู้อื่นถือเป็นการละเมิด
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี มิใช่ครอบครองแทนทายาทอื่น ดังนี้ แม้การ ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลย ก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นตั้งแต่วันครบ 10 ปี นับแต่ วัน ได้รับ การยกให้ การที่โจทก์ขุดร่องน้ำและทำถนนในที่ดินพิพาท ภายหลัง จาก ที่จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จึงเป็นการละเมิด ต่อจำเลย โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์เข้าไป ขุด ร่องน้ำและทำถนนในที่ดินพิพาทเป็นการละเมิด จึงฟ้องแย้งให้ โจทก์ ทำการถมร่องน้ำและรื้อถนนในที่ดินพิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม ดังนี้ ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวพันกับที่ดินพิพาทจึง เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินขัดต่อกฎหมายปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3 คือเจ้าของที่แท้จริง
เมื่อคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องบรรยายไว้แล้วว่า ที่ปรากฏใน น.ส.3 ว่าที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ เพราะที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์ได้ไม่เกินคนละ 50 ไร่ ผู้ร้องจึงตกลงให้ใส่ชื่อจำเลยไว้แทนผู้ร้อง ดังนี้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายย่อมเป็นโมฆะกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 ถือว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ที่ดินจึงเป็นของจำเลยซึ่งมีชื่อใน น.ส.3 ศาลชอบที่จะพิจารณาคำร้อง ของผู้ร้องแล้วมีคำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนก่อน.