คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุไร คังคะเกตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร่วมรับผิดในหนี้เงินกู้, อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้บางส่วน, และผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วม
จำเลยให้การว่าเป็นหนี้เงินกู้โจทก์จริง แต่จำนวนหนี้ไม่มากเท่ากับที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้เป็นเรื่องที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้เพียงว่าจะต้องรับผิดเพียงใดเท่านั้น การที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์ได้รับเงินต้นคืนบางส่วน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวเป็นประเด็นมาแต่ศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในหนี้เงินกู้ เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 ชำระเงินต้นให้แก่โจทก์ไปแล้วบางส่วน คงเหลือหนี้ต้นเงินอีกบางส่วนศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่ง มิได้ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด: พยานหลักฐานสอดคล้องและคำให้การของผู้ซื้อยืนยันความผิด
พยานโจทก์เบิกความตามลำดับเหตุการณ์สอดคล้องต้องกัน โดยเฉพาะบันทึกการจับกุม ซึ่งทำกันทันทีที่จับกุม น. ซึ่งถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยรับว่าได้ซื้อเฮโรอีนจากจำเลยที่ 1 แม้ในชั้นพิจารณา น.จะเบิกความเป็นอย่างอื่นว่าได้ซื้อเฮโรอีนมาส่งให้จำเลยที่ 1 เพื่อเสพด้วยกันก็ตาม แต่เป็นที่เห็นได้ว่าที่เบิกความเช่นนั้นก็เพื่อช่วยจำเลยที่ 1 จึงเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายเฮโรอีนให้ น. จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าคำพิพากษาไม่ชอบอย่างไร และมีเหตุผลที่หากพิจารณาใหม่แล้วอาจชนะคดีได้
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของโจทก์กล่าวอ้างแต่เพียงว่า หากโจทก์ได้นำพยานบุคคลและพยานเอกสารมาสืบ โจทก์มีทางชนะคดีได้เพราะโจทก์ได้เตรียมคดี พยานหลักฐานไว้พร้อมแล้วเท่านั้นข้อความดังกล่าวไม่ได้แสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่า คำพิพากษาไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งยังไม่มีเหตุผลที่จะแสดงให้เห็นว่าหากมีการพิจารณาคดีใหม่แล้ว โจทก์อาจชนะคดีอย่างไรบ้าง จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาของมารดาจำเลยและจำเลยผู้มีภาวะวิกลจริต การพิจารณาโทษที่เหมาะสม และการรอการลงโทษ
ผู้ร้องแม้จะเป็นมารดาจำเลยและจำเลยจะเป็นผู้วิกลจริตไม่สามารถต่อสู้คดีจริงหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดี และมิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) หรือ (2)จึงไม่อาจยื่นฎีกาเข้ามาในคดีได้ ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 วรรคแรก แต่คดีที่คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้นหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจลงโทษให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ จำเลยกระทำผิดขณะมีอายุ 18 ปีเศษไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ทั้งผู้เสียหายแถลงไม่ติดใจดำเนินคดีจำเลย สมควรรอการลงโทษจำคุกหรือให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนต้องอ้างอิงราคาปานกลางในวันเวนคืนและสภาพที่ดิน การใช้ราคาซื้อขายภายหลังวันเวนคืนเป็นหลักไม่ได้
การกำหนดค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 14กำหนดตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืนต้องถือตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเก็บภาษีบำรุงท้องที่กับสภาพและทำเลของทรัพย์สินมาประกอบกัน การที่อนุญาโตตุลาการนำราคาซื้อขายที่ดินใกล้เคียงแต่อยู่คนละหน่วยและเป็นการซื้อขายเพียงรายเดียว หลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืน กับนำราคาตามหนังสือของโจทก์เป็นหลักในการพิจารณาเป็นการขัดต่อกฎหมายศาลไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่บังคับให้จำเลยชำระเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละหนึ่งของทุนทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นสัญญาไม่มีผลผูกพัน แม้ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะแล้ว
การ ขาย อสังหาริมทรัพย์ ของ ผู้เยาว์ ผู้เยาว์ เอง หรือ ผู้ใช้ อำนาจ ปกครอง จะ กระทำ มิได้ เว้นแต่ ศาล จะ อนุญาต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อ ผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องห้าม โดย กฎหมาย มิให้ ทำนิติกรรม ขาย ที่ดิน ซึ่ง หมายความ รวม ถึง นิติกรรม จะขาย ที่ดิน แทน ผู้เยาว์ โดย ลำพัง แล้ว จะ ถือว่า การ ที่ ผู้เยาว์ ทำนิติกรรม พร้อม กับ ผู้แทนโดยชอบธรรม มีผล ว่า ผู้แทน โดย ชอบธรรม อนุญาต ให้ ทำได้ โดย ไม่ต้อง ขออนุญาต จาก ศาล ก่อน หรือ ถือว่า นิติกรรม ที่ ผู้เยาว์ กระทำ ด้วย ตนเอง ใน ขณะ ยัง ไม่ บรรลุนิติภาวะ โดย มิได้ รับ อนุญาต จาก ศาล มีผล ผูกพัน ผู้เยาว์ เมื่อ บรรลุนิติภาวะ แล้ว ก็ เท่ากับ เป็น การ หลีกเลี่ยง ไม่ต้อง มา ขออนุญาต จาก ศาล ซึ่ง ผิด ไป จาก เจตนา รม ณ์ ของ กฎหมาย สัญญาจะซื้อขาย ที่ จำเลย ที่ 8 ได้ กระทำ ไป ใน ขณะที่ ยัง เป็น ผู้เยาว์ จึง ไม่มี ผล ผูกพัน จำเลย ที่ 8 แม้ ขณะที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 8 จะ บรรลุนิติภาวะ แล้ว .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลอมและการแก้ไขกระบวนพิจารณาเอกสาร: ศาลยืนตามข้อเท็จจริงที่จำเลยพิสูจน์ได้ว่ามีการแก้ไขสัญญากู้ยืม
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 30,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้กรอกข้อความในสัญญากู้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 65,000 บาทโดยจำเลยมิได้ยินยอมสัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม และถือว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์ จำเลยไม่มีหลักฐานการกู้ยืมตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ จำเลยได้เสียค่าอ้างพยานเอกสารภายหลังตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการแก้ไขกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับการอ้างเอกสารซึ่งบกพร่องให้บริบูรณ์แล้ว เอกสารที่จำเลยอ้างจึงใช้ได้ และไม่ทำให้การพิจารณาและพิพากษาของศาลชั้นต้นเสียไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ความรับผิดของผู้รับจ้างต่อความเสียหายหลังส่งมอบงานแต่ละงวด
ตามสัญญาจ้างข้อ 6 ระบุว่า เมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้าง... ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 12 เดือนนับแต่วันที่ได้รับมอบงาน... ถ้างานที่จ้างเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ข้อ 7 ระบุว่าเนื่องจากพันธะ ที่มีต่อกันตามสัญญานี้... บรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้น... ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น แต่ถ้ามีอันตรายหรือความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นแก่สิ่งเหล่านั้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยประการใดก็ตาม ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านั้น และจัดหามาใหม่หรือแก้ไขให้คืนดี ทั้งนี้ภายใต้พันธะที่มีอยู่ในสัญญาอันยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ภายหลังเวลาส่งมอบซึ่งผู้รับจ้างจำต้องรับผิดเพียงความบกพร่องและเพียงความเสียหายที่มีขึ้นภายในระยะเวลาที่กล่าวในสัญญาข้อ 6 นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 4ระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับค่าจ้างเป็นงวด ๆ รวม 6 งวด เมื่อผู้ว่าจ้างตรวจรับงานที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแต่ละงวดแล้ว ผู้ว่าจ้างจะออกใบตรวจรับงานให้ผู้รับจ้างไว้เป็นหลักฐาน และได้กำหนดวันเริ่มงานและให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ไว้ในสัญญาข้อ 5 อีกด้วย จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยผู้รับจ้างย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้าง การที่จำเลยทำงานเสร็จแต่ละงวดนั้นถ้างานงวดสุดท้ายยังไม่เสร็จ จะถือว่างานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาไม่ได้ เพราะสัญญาได้กำหนดให้จำเลยทำงานให้แล้วเสร็จทั้งหกงวด สำหรับข้อความในสัญญาข้อ 7 ที่ยกเว้นความรับผิดของจำเลยว่า เว้นแต่ภายหลังการส่งมอบนั้นย่อมหมายถึงการส่งมอบงานงวดสุดท้ายจึงจะเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ดังนี้ เมื่อเกิดน้ำท่วมระหว่างที่จำเลยผู้รับจ้างทำงานที่ค้างอีกสามงวด ทำให้งานส่วนที่ตรวจรับแล้วเสียหาย จำเลยจึงยังต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ความรับผิดของผู้รับจ้างหลังส่งมอบงานงวดแรกก่อนงานแล้วเสร็จสมบูรณ์ และผลของการเกิดเหตุสุดวิสัย
ตามสัญญาจ้างข้อ 6 ระบุว่า เมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้าง... ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 12 เดือนนับแต่วันที่ได้รับมอบงาน... ถ้างานที่จ้างเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ข้อ 7 ระบุว่าเนื่องจากพันธะที่มีต่อกันตามสัญญานี้... บรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้น... ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น แต่ถ้ามีอันตรายหรือความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นแก่สิ่งเหล่านั้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยประการใดก็ตาม ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านั้น และจัดหามาใหม่หรือแก้ไขให้คืนดี ทั้งนี้ภายใต้พันธะที่มีอยู่ในสัญญาอันยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ภายหลังเวลาส่งมอบซึ่งผู้รับจ้างจำต้องรับผิดเพียงความบกพร่องและเพียงความเสียหายที่มีขึ้นภายในระยะเวลาที่กล่าวในสัญญาข้อ 6นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 4 ระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับค่าจ้างเป็นงวด ๆรวม 6 งวด เมื่อผู้ว่าจ้างตรวจรับงานที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแต่ละงวดแล้ว ผู้ว่าจ้างจะออกใบตรวจรับงานให้ผู้รับจ้างไว้เป็นหลักฐาน และได้กำหนดวันเริ่มงานและให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ไว้ในสัญญาข้อ 5 อีกด้วย จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยผู้รับจ้างย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้าง การที่จำเลยทำงานเสร็จแต่ละงวดนั้นถ้างานงวดสุดท้ายยังไม่เสร็จ จะถือว่างานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาไม่ได้ เพราะสัญญาได้กำหนดให้จำเลยทำงานให้แล้วเสร็จทั้งหกงวด สำหรับข้อความในสัญญาข้อ 7 ที่ยกเว้นความรับผิดของจำเลยว่า เว้นแต่ภายหลังการส่งมอบนั้นย่อมหมายถึงการส่งมอบงานงวดสุดท้ายจึงจะเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ดังนี้ เมื่อเกิดน้ำท่วมระหว่างที่จำเลยผู้รับจ้างทำงานที่ค้างอีกสามงวด ทำให้งานส่วนที่ตรวจรับแล้วเสียหาย จำเลยจึงยังต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการฉ้อโกง: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง มิใช่ผู้เสียผลประโยชน์ทางอ้อม
การที่จำเลยนำเช็คที่บริษัท ล. สั่งจ่ายให้โจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมสลักหลังให้จำเลยแล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารตามเช็คเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลย แม้จะเป็นการหลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำต่อธนาคารและเจ้าหน้าที่ของธนาคารโดยตรง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อโจทก์ร่วม หากโจทก์ร่วมจะได้รับความเสียหายเพราะเสียสิทธิที่จะได้รับเงินตามเช็คไป ก็เป็นความเสียหายที่โจทก์ร่วมได้รับในความผิดฐานปลอมเอกสาร หาใช่ความเสียหายจากการหลอกลวงของจำเลยไม่ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงและไม่มีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 12 ที่โจทก์ฎีกาว่าไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้จำเลยเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว.
of 35