พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเล็กน้อยเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระได้ แม้ไม่มีอุทธรณ์/ฎีกา โดยไม่เป็นการกลับคำวินิจฉัย
โจทก์ขอให้เพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาซึ่งมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงของศาลชั้นต้นที่ว่า คำพิพากษามิได้นำเอาดอกเบี้ยเงินกู้ค้างชำระมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ เป็นการขอเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งหาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลชั้นต้นอำนาจในการขอเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจึงอยู่แก่ศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยได้ แม้ไม่มีอุทธรณ์ฎีกา หากไม่กระทบคำวินิจฉัยเดิม
เมื่อคดีถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อำนาจในการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในคำพิพากษาจึงอยู่แก่ศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้น และไม่ใช่กรณีที่ต้องอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 หาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจำนวน 239,195.80 บาท แก่โจทก์ด้วย แต่เมื่อพิพากษามิได้นำดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เพราะไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม
ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 หาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจำนวน 239,195.80 บาท แก่โจทก์ด้วย แต่เมื่อพิพากษามิได้นำดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เพราะไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อไม่มีอุทธรณ์/ฎีกา กรณีข้อผิดพลาดเรื่องดอกเบี้ย
เมื่อคดีถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อำนาจในการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในคำพิพากษาจึงอยู่แก่ศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้น และไม่ใช่กรณีที่ต้องอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 หาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจำนวน 239,195.80 บาทแก่โจทก์ด้วย แต่เมื่อพิพากษามิได้นำดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เพราะไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, อายุความประกันภัยรถยนต์, การเปลี่ยนแปลงคำฟ้องในชั้นฎีกา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่มีการตกเติมข้อความโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับดังที่จำเลยอ้าง เพราะไม่มีการตกเติมแต่ประการใด การเขียนด้วยปากกาหรือน้ำหมึกลงในช่องว่างที่เว้นไว้เพื่อระบุชื่อคนที่ถูกต้อง ไม่ต้องด้วยความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสอง
จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน พนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซี่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1และที่ 2 ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน พนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซี่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1และที่ 2 ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, อายุความ, และการรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไม่มีการตกเติมข้อความโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับดังที่จำเลยอ้าง เพราะไม่มีการตกเติมแต่ประการใด การเขียนด้วยปากกาหรือน้ำหมึกลงในช่องว่างที่เว้นไว้เพื่อระบุชื่อคนที่ถูกต้อง ไม่ต้องด้วยความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46วรรคสอง จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แฉลบล้ำเข้าไปชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์ในทางเดินรถของฝ่ายโจทก์ แต่กลับนำสืบว่ารถยนต์ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายวิ่งเข้ามาในทางเดินรถของฝ่ายจำเลยและชนกันเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างกับคำฟ้องแต่กลับหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ทั้งที่ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การเพียงว่าโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ารถยนต์บรรทุกส่วนใดไปชนถูกส่วนใดของรถยนต์เก๋ง และเสียค่าซ่อมรถยนต์เก๋งส่วนใดเป็นจำนวนเท่าใด ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ป.พ.พ. มาตรา 880 บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ ดังนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใด ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิก็ย่อมจะมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้ภายในหนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิด และมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ภายในสองปีนับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก และมาตรา 882 วรรคแรก ตามลำดับ แม้เกิดเหตุรถยนต์ชนกันเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2525 แต่ได้ความว่าเกิดเหตุแล้วคนขับรถยนต์บรรทุกหลบหนีหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือนพนักงานสอบสวนจึงทราบจากนายทะเบียนยานพาหนะว่ารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นของใคร จึงได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาสอบปากคำ จึงถือได้ว่าผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2ประมาณวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์แทงด้วยอาวุธอันตรายและการไล่ทำร้ายต่อเนื่องบ่งชี้เจตนาพยายามฆ่า
จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้เสียหายบริเวณชายโครงซ้ายผู้เสียหายเอี้ยวตัวหลบจำเลยจึงแทงถูกแขนผู้เสียหาย เหล็กขูดชาฟท์ติดอยู่ที่แขนผู้เสียหาย ตัวเหล็กขูดชาฟท์ยาวประมาณ 6 นิ้ว ด้ามยาวประมาณ 5 นิ้ว บาดแผลที่ผู้เสียหายถูกจำเลยแทงยาว 2.5 เซนติเมตรกว้าง 1 เซนติเมตรลึกถึงอีกด้านหนึ่ง แสดงว่าจำเลยแทงผู้เสียหายอย่างแรง เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลยยังถือไม้ท่อนกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว วิ่งตามไปจะตีผู้เสียหายอีก แสดงเจตนาของจำเลยว่าหากเหล็กขูดชาฟท์ไม่ติดอยู่ที่แขนผู้เสียหายจำเลยคงจะแทงผู้เสียหายอีกอย่างแน่นอน เมื่อพิจารณาอาวุธที่จำเลยใช้ ลักษณะการแทง และบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับ ซึ่งหากผู้เสียหายไม่เอี้ยวตัวหลบและวิ่งหนีไปเสียก่อนจำเลยคงทำร้ายผู้เสียหายจนถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิจำกัด-เจ้าของรวมฟ้องรบกวนได้-อำนาจฟ้อง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนที่ดินนั้นได้ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่มาศาลนั้นไม่ได้ แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดโดยพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ว่ามีน้ำหนักให้รับฟังแล้วเช่นนี้ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการจงใจและไม่มีเหตุสมควรจึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและบัญชีระบุพยานนั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199วรรคสองแล้ว โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินมี ส.ค.1 คนหนึ่งย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่มารบกวนหรือแย่งที่ดินนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้มาตรา 1359 จะอยู่ในหมวดกรรมสิทธิ์รวมก็ตาม ย่อมนำมาใช้บังคับในหมวดว่าด้วยการครอบครองได้ เพราะมีลักษณะเป็นเจ้าของรวมเหมือนกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลพิจารณาพยานโจทก์และวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องรับฟังพยานจำเลย
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนที่ดินนั้นได้ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่มาศาลนั้นไม่ได้ แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดโดยพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ว่ามีน้ำหนักให้รับฟังแล้วเช่นนี้ ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการจงใจและไม่มีเหตุสมควรจึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและบัญชีระบุพยานนั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสองแล้ว
โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินมี ส.ค.1 คนหนึ่งย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่มารบกวนหรือแย่งที่ดินนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้มาตรา 1359 จะอยู่ในหมวดกรรมสิทธิ์รวมก็ตาม ย่อมนำมาใช้บังคับในหมวดว่าด้วยการครอบครองได้ เพราะมีลักษณะเป็นเจ้าของรวมเหมือนกัน
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่มาศาลนั้นไม่ได้ แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดโดยพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ว่ามีน้ำหนักให้รับฟังแล้วเช่นนี้ ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการจงใจและไม่มีเหตุสมควรจึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและบัญชีระบุพยานนั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสองแล้ว
โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินมี ส.ค.1 คนหนึ่งย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่มารบกวนหรือแย่งที่ดินนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้มาตรา 1359 จะอยู่ในหมวดกรรมสิทธิ์รวมก็ตาม ย่อมนำมาใช้บังคับในหมวดว่าด้วยการครอบครองได้ เพราะมีลักษณะเป็นเจ้าของรวมเหมือนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้บุตรแล้วบุตรพูดถึงสิทธิในที่ดิน ไม่ถือเป็นการประพฤติเนรคุณ
จำเลยซึ่งเป็นบุตรโจทก์ได้พูดกับโจทก์ว่า "แม่จะไปอยู่ที่ไหนก็ตามใจแม่เถอะ เพราะที่นี่เป็นสิทธิขาดของผมแล้ว" เป็นเพียงคำพูดยืนยันว่าที่ดินที่โจทก์ยกให้นั้นเป็นของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน โจทก์พอใจจะอยู่หรือจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ใช่พูดขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณโดยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531(2) เพียงแต่เป็นคำพูดที่บุตรไม่ควรพูดกับมารดาซึ่งมีพระคุณของตนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์สินของผู้อื่นไปเพื่อเรียกหนี้ ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ หากมีเจตนาให้ชำระหนี้เท่านั้น
จำเลยเอาตู้เย็นของผู้เสียหายไปเพื่อให้ผู้เสียหายและภริยาผู้เสียหายไปติดต่อชำระหนี้ที่ค้างต่อกัน จึงไม่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นกรณีไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 334จำเลยจึงไม่มีความผิด.