คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุไร คังคะเกตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำทรัพย์สินของผู้อื่นไปเพื่อเรียกหนี้ ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ หากมีเจตนาให้ชำระหนี้เท่านั้น
จำเลยเอาตู้เย็นของผู้เสียหายไปเพื่อให้ผู้เสียหายและภริยาผู้เสียหายไปติดต่อชำระหนี้ที่ค้างต่อกัน จึงไม่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นกรณีไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 334จำเลยจึงไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าบริการของรัฐวิสาหกิจ: พิจารณาจากฐานะผู้ค้าบริการตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2497 องค์การโทรศัพท์โจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์และธุรกิจที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกันหรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการโทรศัพท์ และตามมาตรา 9 บัญญัติว่า เพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวในมาตรา 6 ให้องค์การโทรศัพท์มีอำนาจรวมถึง...(3) กำหนดอัตราค่าเช่า ค่าดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ค่าบริหารอื่น ๆ ของกิจการโทรศัพท์และจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าต่าง ๆ ดังกล่าว ดังนั้นการที่โจทก์เรียกค่าเช่าค่าบริการที่จำเลยค้างชำระจึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ2 ปี ไม่ใช่อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้มีประกันต้องดำเนินการผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การบังคับคดีที่ได้กระทำภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ หมายบังคับคดีแพ่งดังกล่าวไม่อาจใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ได้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 110 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน และมีสิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินที่จำนองหรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองเพียงใด เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามขั้นตอนของกฎหมายในคดีล้มละลายต่อไป เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายที่ดินจำนองซึ่งลูกหนี้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำแจ้งความว่าลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และขอให้กันส่วนส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปรวมไว้เป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม มาตรา 111.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนร่วมรับผิดค่าเช่ารถ แม้ไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่า หากมีส่วนร่วมในการทำสัญญาและรับประโยชน์
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยร่วมกันเข้าหุ้นส่วนอย่างไร จำเลยคนไหนแต่ผู้เดียวหรือร่วมกับใครบ้างมาทำสัญญาเช่าฉบับไหน เมื่อใด ครั้งไหนที่แทนกัน มีใบมอบอำนาจหรือตั้งตัวแทนหรือไม่ โดยเฉพาะข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเข้าหุ้นส่วนโจทก์จะต้องบรรยายให้เข้าลักษณะหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1026 ว่าจำเลยคนไหนลงหุ้นอย่างไร ด้วยอะไร อันจะถือว่าเป็นหุ้นส่วน ฟ้องโจทก์จึงไม่ชัดเจนเป็นฟ้องเคลือบคลุม นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุดังที่จำเลยฎีกามาดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่า จำเลยร่วมกันเป็นหุ้นส่วนอย่างไรก็ตาม แต่การที่จำเลยแต่ละคนจะเข้าหุ้นส่วนกันอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องก็ได้ การนำสืบของโจทก์ในข้อนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย และไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง โจทก์ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน ดังนั้น จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนมาฟังเป็นยุติในคดีนี้ได้ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4รับเหมาช่วงงานก่อสร้างทางพิพาทจากบริษัท ภ. จำเลยที่ 3จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นในอันที่จะต้องชำระค่าเช่ารถแทรกเตอร์ที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้ลงชื่อเป็นผู้เช่าหรือมอบหมายเป็นหนังสือให้จำเลยอื่นลงชื่อในสัญญาเช่ารถแทรกเตอร์แทนจำเลยที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า สัญญาเช่าที่โจทก์อ้างน่าจะไม่เป็นความจริงโจทก์อาจเพิ่งมาทำขึ้นภายหลังโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 4เพื่อโยนความรับผิดไปยังจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งมีฐานะการเงินมั่นคงอยู่ นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 3 ข้อ คือ1.ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ 2.จำเลยทั้งห้าเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่และ 3.จำเลยเช่ารถตามฟ้องใช่หรือไม่ ดังนี้ ประเด็นว่าค่าเช่ารถมีเพียงไร ย่อมเป็นผลสืบเนื่องจากเมื่อวินิจฉัยประเด็นข้อ 3 แล้วจึงถือว่าอยู่ในประเด็นข้อ 3 ด้วย ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเช่าอีก ก็ถือว่าคดีมีประเด็นเรื่องค่าเช่าด้วย โจทก์จึงมีสิทธินำสืบในประเด็นค่าเช่า และศาลมีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ บริษัทภ.รับเหมาก่อสร้างทางให้แก่กรมทางหลวง และบริษัทภ.ได้ให้จำเลยรับเหมาช่วงงานก่อสร้างทางดังกล่าวซึ่งจำเลยก็ได้เช่ารถแทรกเตอร์ของโจทก์ไปใช้ในการก่อสร้างทางดังกล่าว แต่จำเลยไม่สามารถสร้างทางให้แล้วเสร็จภายในกำหนดในสัญญา ดังนี้จำเลยจะถือเอาวันที่กรมทางหลวงบอกเลิกสัญญากับบริษัทภ. เป็นวันที่สัญญาเช่ารถแทรกเตอร์ระงับ และให้คิดค่าเช่าถึงวันดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะวันเลิกสัญญาก่อสร้างทางกับวันที่จำเลยเช่าและผิดนัดไม่ชำระค่าเช่ารถแทรกเตอร์เป็นคนละส่วนแยกออกจากกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีโดยทนายจำเลย: เหตุจำเป็น & สิทธิในการแต่งตั้งทนาย
ศาลเคยอนุญาตให้ทนายจำเลยเลื่อนคดีครั้งหนึ่งแล้ว ในนัดต่อมาทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัวจากการเป็นทนายจำเลยและศาลอนุญาตและในวันเดียวกันนั้นจำเลยได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่ ทนายความคนใหม่มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างว่าทนายความคนใหม่ติดว่าความที่ศาลอื่น ดังนี้เป็นกรณีจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ ศาลชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปได้อีกแม้จะเกินกว่าหนึ่งครั้งก็ตาม ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการเลื่อนสืบพยานและการตั้งทนายใหม่ หากมีเหตุจำเป็นสมควร ศาลควรอนุญาตเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
วันนัดสืบพยานจำเลย ทนายคนเดิมของจำเลยขอถอนตัวและจำเลยขอตั้งทนายคนใหม่แทน ศาลชั้นต้นอนุญาต แม้การถอนตัวของทนาย คนเดิมจะเกิดจากการขอของจำเลยหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นสิทธิโดยชอบ ของจำเลยที่จะกระทำได้ และการที่จำเลยจะตั้งผู้ใดเป็นทนายของตนต่อไปก็เป็นสิทธิโดยชอบของจำเลยอีกเช่นกัน ส่วนทนายคนใหม่จะมาศาลในวันนัดนั้นได้หรือไม่ก็เป็นเรื่องของทนายคนใหม่ จำเลยไม่มี สิทธิหรืออำนาจที่จะบังคับได้ เมื่อทนายคนใหม่ยื่นคำร้องว่ามาศาลในวันนัดนั้นไม่ได้เพราะคิดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งนัดไว้ก่อนแล้ว และโจทก์ก็ไม่คัดค้าน ดังนี้ หากศาลชั้นต้นไม่เชื่อว่าเป็นความจริง ก็ ชอบ ที่จะไต่สวนหาความจริงได้ไม่ยาก จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้น จะ ถือเอา ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าทนายคนใหม่ติดว่าความคดีอื่นอยู่ก่อน แล้ว ยัง ขืนตั้งให้เป็นทนายอีกมาเป็นเครื่องชี้ว่าจำเลยจงใจเพื่อ ไม่ให้ มี ทนายมาดำเนินคดีในวันนัดนั้น และการเลื่อนคดีของทนาย คนใหม่ ไม่มี เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม, อำนาจฟ้อง, อายุความ: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ โดยจำเลยฎีกาประเด็นไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ เป็นจำนวนเท่าใด ผิดนัดเมื่อใด พร้อมกับแนบสำเนา หนังสือกู้เงินมาท้ายฟ้อง จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ โดยไม่หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยให้การว่า โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ อ. หรือไม่นั้นจำเลยไม่อาจทราบได้เพราะเหตุว่าโจทก์ไม่เคยบอก จำเลย มิได้ปฏิเสธว่าหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ยื่นต่อศาล มิใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 การที่จำเลยไม่ทราบ มิใช่เหตุที่จะทำให้ หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป คำให้การของจำเลย ไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น หรือแต่บางส่วน จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่อง อำนาจฟ้อง และกรณีต้องถือว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจ จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์ไม่ระบุการทวงถามในหนี้ ให้ชัดแจ้งไม่กำหนดเวลาให้แน่นอนเสียก่อนโจทก์นำคดีมาฟ้อง คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องอะไร เพราะเหตุใด คำให้การของจำเลย ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ในข้อนี้จึงเป็นการนอกประเด็น และถือว่า เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ จำเลยจะยกขึ้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานหลักฐานและการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์
ผู้เสียหายและ บ. มีโอกาสเห็นหน้าจำเลยได้ชัดเจนเจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบทะเบียนรถจักรยานยนต์ของคนร้ายซึ่งทิ้งไว้ในที่เกิดเหตุแล้วทราบว่าเป็นรถของจำเลยจึงติดตาม จับกุมจำเลยได้หลังเกิดเหตุเพียงวันเดียว จำเลยให้การ รับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนให้จำเลย ยืนปะปนกับคนอื่นประมาณ 8 คน ผู้เสียหายและ บ.ก็ชี้ตัวจำเลยว่าเป็นคนร้าย การที่ผู้เสียหายจำจำเลยซึ่งอยู่ในห้องพิจารณาไม่ได้ก็เพราะจำเลยเปลี่ยนทรงผมครั้นได้ดูรูปในบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยแล้ว ผู้เสียหายยืนยันว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับคนร้าย พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเดิมผู้ร้องทั้งสองฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่ารับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 4754,4755,4756 และตึกแถวเลขที่ 35,37,39 ที่ผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมอยู่กับจำเลยในคดีนี้โดยไม่สุจริต ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวแต่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างที่จำนองแต่ผู้เดียว เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าทรัพย์สินที่จำนองมิใช่ของผู้ร้องทั้งสองการที่ผู้ร้องทั้งสองมาร้องขัดทรัพย์ ในคดีนี้ขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 4755,4756 และตึกแถวเลขที่ 37,39 เป็นของผู้ร้องทั้งสองตามลำดับ จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีเดิม การร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
ผู้ร้องเคยฟ้องคดีแพ่งที่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องเป็นทายาทจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวร่วมกับจำเลย โจทก์คดีนี้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต จึงขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทที่จำนองแต่ผู้เดียว ซึ่งเท่ากับวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีว่าทรัพย์ที่จำนองมิใช่ของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมาร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นของผู้ร้อง จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวมา การร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
of 35