พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดโดยประมาทและเจตนา, ความรับผิดของผู้สนับสนุน, การรอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ร่วมกันตามกฎหมายที่จะต้องร่วมกันจัดทำแผ่นป้ายแสดงข้อความว่ารถกำลังลากจูง และต้องจัดให้มีและเปิดโคม ไฟหรือจุดไฟแสงขาวส่องที่ป้ายดังกล่าว เพื่อให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับผู้ใช้ถนนหรือผู้ที่ขับรถยนต์ตามหลังมามองเห็นได้ว่ามีการลากจูง จำเลยทั้งสองสามารถกระทำและใช้ความระมัดระวังดังกล่าวแต่ไม่ได้กระทำ เป็นการละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงความประมาทของจำเลยทั้งสองไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาทอย่างไร โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัสไม่ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในข้อ 1(ข)ว่า หลังจากจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องข้อ 1 ก. แล้ว..."และในฟ้องข้อ 1 ก. ดังกล่าวจะมีข้อหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดโดยประมาทอยู่ก็ตามแต่ก็มีความผิดซึ่งเป็นความผิดที่ต้องกระทำโดยเจตนาอยู่ด้วย ทั้งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83มาด้วย ก็พอที่จะแปลความได้ว่าหมายถึงจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวนั่นเอง หาใช่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดนั้น มีได้เฉพาะการสนับสนุนผู้กระทำความผิดโดยเจตนาเท่านั้น ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดโดยประมาทไม่อาจมีได้ตามกฎหมาย เพราะผู้สนับสนุนต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลในการสนับสนุนด้วย โดยสภาพจึงไม่อาจมีการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำผิดโดยประมาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองนอกประเด็นคำให้การ ศาลต้องพิจารณาประเด็นตามที่คู่ความยกขึ้น
จำเลยให้การเกี่ยวกับการครอบครองว่า ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองและอยู่อาศัยจะอ้างใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ แต่กรณีนี้จำเลยครอบครองและอยู่อาศัยตลอดมาเกินกว่า30 ปี จำเลยจึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(1) ทั้งไม่มีข้อความตอนใดในคำให้การของจำเลยที่จะมีความหมายให้แปลได้ว่าจำเลยได้ยกประเด็นเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คำให้การของจำเลยจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉล โมฆียะกรรม และอายุความบอกล้างนิติกรรม
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โจทก์จำใจทำนิติกรรมขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่สมัครใจก็ตาม แต่โจทก์ก็กล่าวด้วยว่าโจทก์มีความเชื่อ ในคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ถ้า การสร้างเขื่อนทั้งหลายตามโครงการของจำเลยที่ 1เสร็จ น้ำต้องท่วมที่ดินของโจทก์แน่ โจทก์จึงต้องขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1ใช้กลฉ้อฉลให้โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 อันเป็นผลให้สัญญาซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์จะต้องบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นภายในเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ถึงวันฟ้อง พ้นเวลาสิบปีแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทได้ ลำพังแต่เหตุตามฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะดัง ที่โจทก์ฎีกาไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะต้องทำภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย หากพ้นกำหนดสิทธิฟ้องเพิกถอนจะหมดไป
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย อันมีผลให้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์ต้องบอกล้างภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้นแล้วเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทถึงวันฟ้องพ้นเวลาสิบปีแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ คำฟ้องของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า โจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลย ลำพังแต่เหตุดังกล่าว หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อยกเว้นตามมาตรา 144 และขอบเขตการย้อนสำนวน
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยได้ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 พิพากษายกฟ้อง การที่ศาลฎีกาได้ส่งคดีที่จำเลยได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาและพิพากษาใหม่นั้นคดีดังกล่าวเท่านั้นที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144(4) ที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ ไม่ ใช่ คดีนี้ซึ่งไม่มีกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อจำกัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และข้อยกเว้น กรณีประเด็นพิพาทซ้ำ
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่เป็นจำเลยออกจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ขับไล่โจทก์ทั้งสี่ และให้โจทก์ทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่าศาลฎีกาย้อนสำนวนคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ ไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่แล้วได้พิพากษาเมื่อวันที่ 20เมษายน 2533 โดยฟังว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย (โจทก์ทั้งสี่) หรือคู่สมรส ในเมื่อคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คดีนี้เป็นจำเลยมีประเด็นเดียวกับคดีนี้ คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้วคดีนี้จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144(1) ถึง (5)กรณีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย & การช่วยเหลือการก่อสร้าง: จำเลยไม่ผิดสัญญา แม้ไม่ยื่นขอเลขบ้าน เพราะโจทก์สร้างไม่เสร็จ
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินข้อ 8 ระบุว่า "ผู้จะขายและผู้จะซื้อต่างฝ่ายต่างได้รับรองไว้ต่อกันว่าจะไม่ทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเกิดการเสียหายเป็นอันขาด และถ้ามี เหตุการณ์ ที่ต้องขอความร่วมมือซึ่งกันและกันแล้ว ทั้งผู้จะขายและผู้จะซื้อยินดีร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนกว่าการปลูกสร้างจะแล้วเสร็จบริบูรณ์" โจทก์ก่อสร้างตึกแถวพิพาทยังไม่เสร็จ แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอเลขบ้านตึกแถวพิพาทซึ่งผู้ใหญ่บ้านไม่ออกให้เพราะผิดระเบียบถึงแม้จำเลยเจ้าของที่ดินจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก็ไม่สามารถจะออกเลขบ้านตึกแถวพิพาทได้การที่จำเลยไม่ยื่นคำร้องขอเลขบ้านตึกแถวพิพาทเพื่อโจทก์จะได้ขอติดตั้งน้ำประปาและไฟฟ้าเพื่อจะได้ทำการก่อสร้างต่อไป จำเลยจึงไม่ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย สิทธิในมรดก และการแบ่งสินสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พฤติการณ์ที่ผู้ตายพาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆเหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรโดยให้โจทก์ใช้นามสกุลของผู้ตายและเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ถือได้ว่าผู้ตายได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว ผู้ตายกับ ฉ. สมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4และมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของผู้ตายกับ ฉ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของผู้ตายสองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ฉ. แม้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของ ฉ.ซึ่งฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินแปลงอื่นและเรียกที่ดินคืนจากจำเลยในคดีดังกล่าวว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งแต่ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย, สิทธิในทรัพย์มรดก, และอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
พฤติการณ์ที่ พ. พาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆ เหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรของตนเช่นนี้ถือได้ว่า พ. ได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5ฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บรรพ 5 แห่งป.พ.พ. พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของ พ. กับนาง ฉ. ซึ่งสมรสกันก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิมจึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งให้คนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ไม่ปรากฏว่า พ.กับนางฉ. มีสินเดิมจึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ พ.ถึงแก่กรรม สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนโดยเป็นของ พ. สองส่วนอีกส่วนหนึ่งเป็นของ นาง ฉ. โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จำเลยตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองมรดกแทนทายาททั้งหลายดังนี้จำเลยไม่อาจจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโอนสิทธิที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิทำให้ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และได้ให้ ต.เช่าต.ให้อ. อาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่ อ.ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ก็ไม่ได้ สิทธิครอบครอง เพราะ อ.ไม่มีสิทธิครอบครองที่จะโอนให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง