คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุไร คังคะเกตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6171/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อเท็จจริงทางกฎหมายจากคำให้การของผู้ถูกฟ้อง หากไม่ปฏิเสธหนี้ถือว่ายอมรับ
จำเลยให้การว่า ก่อนระยะเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์นั้นจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์แก่โจทก์ จำเลยว่าได้ให้เช่าช่วงไปแล้วโดยไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ คำให้การของจำเลยทั้งหมดไม่ปรากฏว่า จำเลยกล่าวปฏิเสธถึงหนี้และใบทวงหนี้ตามฟ้อง จึงเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยาน และจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะนำสืบพยานฝ่ายตน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับรถยนต์รับจ้างไปในทางการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่าจ้าง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน คำว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายถึง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้หมายถึงผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะแห่งการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งมีกฎหมายบังคับคนละลักษณะกัน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับรถยนต์รับจ้างไปในทางการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่าจ้าง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันคำว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายถึง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้หมายถึงผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะแห่งการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งมีกฎหมายบังคับคนละลักษณะกัน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานจริงหรือไม่? ศาลยกฟ้องฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต หากจำเลยเพียงหลอกลวงเพื่อเรียกค่าบริการ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานโดยเรียกและรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำการโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยจำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายและประชาชนไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย อันเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายและประชาชนผู้ประสงค์จะไปทำงานในประเทศมาเลเซียได้ แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะจัดหางานดังกล่าวอย่างจริงจังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย แต่อย่างใดจำเลยเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานจริงหรือไม่? ศาลตัดสินคดีฉ้อโกงประชาชน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานโดยเรียกและรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำการโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยจำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายและประชาชนไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย อันเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายและประชาชนผู้ประสงค์จะไปทำงานในประเทศมาเลเซียได้ แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะจัดหางานดังกล่าวอย่างจริงจังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใดจำเลยเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องใหม่นอกเหนือจากที่เคยต่อสู้ในศาลชั้นต้น และความรับผิดร่วมกันในหนี้จากการประกอบธุรกิจสามีภริยา
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แท้จริงแล้วน้องชายโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่น้องชายโจทก์โอนหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เป็นการโอนหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญารับสภาพหนี้ด้วยความหวาดกลัว แต่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญารับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์ทำขึ้นเอง ลายมือชื่อก็ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ไม่ถึงตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงาน โดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการ ก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องใหม่-หนี้ร่วม: จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือการต่อสู้เดิม และภริยาต้องรับผิดชอบหนี้จากการงานร่วมกับสามี
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แท้จริงแล้วน้องชายโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่น้องชายโจทก์โอนหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เป็นการโอนหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญารับสภาพหนี้ด้วยความหวาดกลัว แต่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญารับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์ทำขึ้นเอง ลายมือชื่อก็ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ไม่ถึงตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงานโดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้างบกพร่อง-บอกเลิกสัญญา-ใช้ประโยชน์งาน: ศาลพิจารณาจ่ายค่าก่อสร้างตามส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
โจทก์ก่อสร้างสะพานไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่รับมอบงานและบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อโจทก์ก่อสร้างสะพานเสร็จ ประชาชนได้ใช้ถนนและสะพานมาตลอดเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ยังไม่ปรากฏความเสียหายของสะพานแสดงว่าแม้โจทก์จะก่อสร้างสะพานบกพร่องและไม่ตรงตามแบบ แต่งานบางส่วนได้มาตรฐานและส่วนที่ผิดแบบก็ยังใช้งานได้บ้าง การที่จำเลยปล่อยให้ประชาชนใช้สะพานได้เป็นการที่จำเลยเอาผลงานของโจทก์ที่สมบูรณ์ออกใช้ประโยชน์ โจทก์สมควรจะได้รับเงินค่าก่อสร้างบางส่วน
การที่โจทก์ตอก เสาเข็มตอม่อ กลางน้ำผิดจากแบบเกิดจากช่างของโจทก์ตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบว่าให้ตอก เสาเข็มแบบใด และช่างของจำเลยควบคุมการตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบเช่นกัน โดยคนทั้งสองเข้าใจว่าการตอก เสาเข็มตรงตามแบบในสัญญาแล้ว แม้ความผิดพลาดจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่ก็เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของช่างควบคุมงานของจำเลยด้วย จำเลยจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้างบกพร่อง ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ จำเลยต้องจ่ายค่าก่อสร้างบางส่วน ความรับผิดร่วมจากความประมาท
โจทก์ก่อสร้างสะพานไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่รับมอบงานและบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อโจทก์ก่อสร้างสะพานเสร็จ ประชาชนได้ใช้ถนนและสะพานมาตลอดเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ยังไม่ปรากฏความเสียหายของสะพานแสดงว่าแม้โจทก์จะก่อสร้างสะพานบกพร่องและไม่ตรงตามแบบ แต่งานบางส่วนได้มาตรฐานและส่วนที่ผิดแบบก็ยังใช้งานได้บ้าง การที่จำเลยปล่อยให้ประชาชนใช้สะพานได้เป็นการที่จำเลยเอาผลงานของโจทก์ที่สมบูรณ์ออกใช้ประโยชน์ โจทก์สมควรจะได้รับเงินค่าก่อสร้างบางส่วน การที่โจทก์ตอก เสาเข็มตอม่อ กลางน้ำผิดจากแบบเกิดจากช่างของโจทก์ตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบว่าให้ตอก เสาเข็มแบบใด และช่างของจำเลยควบคุมการตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบเช่นกัน โดยคนทั้งสองเข้าใจว่าการตอก เสาเข็มตรงตามแบบในสัญญาแล้ว แม้ความผิดพลาดจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่ก็เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของช่างควบคุมงานของจำเลยด้วย จำเลยจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5807/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดกั้นร่องน้ำเพื่อป้องกันความเสียหายในที่ดินของตน แม้จะทำให้ที่ดินของผู้อื่นเสียหาย ก็ไม่ต้องรับผิด
ที่นาจำเลยตั้งอยู่เหนือที่นาโจทก์ ปกติน้ำจะไหลจากที่นาโจทก์ระบายผ่านที่นาจำเลย การที่จำเลยปิดร่องน้ำในที่นาจำเลยเพื่อมิให้ดินไหลเข้ามาทำความเสียหายแก่ต้นข้าวในที่นาของจำเลย เป็นการป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะก่อความเสียหายแก่โจทก์จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
of 35