คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุไร คังคะเกตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการ/เอกสารปลอม, ปลอมและใช้ตั๋วเงิน, รับของโจร: การตีความ 'เอกสารราชการ' และการลงโทษกรรมเดียว
คำว่า "เอกสารราชการ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) หรือมาตรา 265 หมายถึง เอกสารของราชการไทยเท่านั้น การที่จำเลยนำหนังสือเดินทางปลอมและเช็คเดินทางปลอมไปแสดงต่อพนักงานจ่ายเงินและรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารในคราวเดียวกันเพื่อขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ ส่วนปัญหาการปรับบทลงโทษ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การฟ้องต้องแสดงให้เห็นถึงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศและอนุสัญญา
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลในเมืองฮ่องกงอันเป็นดินแดนในอารักขาของประเทศสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1886 ซึ่งได้แก้ไขณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคลเพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่20 มีนาคม ค.ศ. 1914 โดยกฎหมายเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวและกฎหมายฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521และขอให้สั่งให้ตลับแถบ บันทึกภาพและเสียงของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 47 เมื่อไม่ได้ความว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง จึงต้องคืนของกลางแก่เจ้าของ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต่างประเทศต้องแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาและกฎหมายต่างประเทศคุ้มครองลิขสิทธิ์ไทย
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลในเมืองฮ่องกงอันเป็นดินแดนในอารักขาของประเทศสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1886 ซึ่งได้แก้ไขณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคลเพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่20 มีนาคม ค.ศ. 1914 โดยกฎหมายเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวและกฎหมายฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521และขอให้สั่งให้ตลับแถบ บันทึกภาพและเสียงของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 47 เมื่อไม่ได้ความว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง จึงต้องคืนของกลางแก่เจ้าของ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากเหตุยิงในระยะใกล้ และความผิดต่อเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
จำเลยทั้งสองไล่ตามผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มาถึงที่เกิดเหตุและขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 ได้เข้าไปนั่งรวมอยู่ในกลุ่มของผู้เสียหายที่ 3 ถึงที่ 6 แล้ว จำเลยทั้งสองตามมาถึงโดยอยู่ห่างไปประมาณ 2 วา พร้อมกับใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มผู้เสียหายทันที เมื่อปรากฏว่าอาวุธปืนที่ใช้ยิงเป็นอาวุธปืนลูกซองสั้น และยิงในระยะใกล้ชิดเช่นนี้ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายโดยตรง มิใช่เป็นการกระทำโดยพลาด
ผู้เสียหายที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่งเครื่องแบบถูกยิงขณะที่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ว่าถูกคนร้ายไล่ยิง และผู้เสียหายที่ 3 กำลังสอบปากคำผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2เพื่อติดตามจับกุมคนร้าย ถือว่าผู้เสียหายที่ 3 ที่ 4 ถูกยิงขณะปฏิบัติหน้าที่ การที่จำเลยทั้งสองไล่ตามผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2มาจนถึงที่เกิดเหตุสามารถมองเห็นผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ซึ่งแต่งเครื่องแบบตำรวจได้ชัดเจน ก็ย่อมทราบได้ทันทีว่าผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 หลบหนีเพื่อมาขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่จำเลยทั้งสองก็ยังยิงปืนใส่กลุ่มผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายที่ 4 และที่ 5 ได้รับอันตรายแก่กายสาหัส จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้เสียหายที่ 6 ร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 5และร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพราะเหตุที่จะกระทำการตามหน้าที่ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทหนัก
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานเพราะเหตุที่จะกระทำการตามหน้าที่อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2), 80 แต่มิได้ปรับบทลงโทษมาด้วย และที่ศาลชั้นต้นลดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ก็มิได้ปรับบทตามมาตรา 52(1) เป็นการไม่ถูกต้องชัดแจ้ง แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากอาวุธร้ายแรงและการกระทำต่อเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
จำเลยทั้งสองไล่ตามผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มาถึงที่เกิดเหตุและขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 ได้เข้าไปนั่งรวมอยู่ในกลุ่มของผู้เสียหายที่ 3 ถึงที่ 6 แล้ว จำเลยทั้งสองตามมาถึงโดยอยู่ห่างไปประมาณ 2 วา พร้อมกับใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มผู้เสียหายทันที เมื่อปรากฏว่าอาวุธปืนที่ใช้ยิงเป็นอาวุธปืนลูกซองสั้น และยิงในระยะใกล้ชิดเช่นนี้ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายโดยตรง มิใช่เป็นการกระทำโดยพลาด ผู้เสียหายที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่งเครื่องแบบถูกยิงขณะที่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ว่าถูกคนร้ายไล่ยิง และผู้เสียหายที่ 3 กำลังสอบปากคำผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2เพื่อติดตามจับกุมคนร้าย ถือว่าผู้เสียหายที่ 3 ที่ 4 ถูกยิงขณะปฏิบัติหน้าที่ การที่จำเลยทั้งสองไล่ตามผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2มาจนถึงที่เกิดเหตุสามารถมองเห็นผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ซึ่งแต่งเครื่องแบบตำรวจได้ชัดเจน ก็ย่อมทราบได้ทันทีว่าผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 หลบหนีเพื่อมาขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่จำเลยทั้งสองก็ยังยิงปืนใส่กลุ่มผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายที่ 4 และที่ 5 ได้รับอันตรายแก่กายสาหัส จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้เสียหายที่ 6 ร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 5และร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพราะเหตุที่จะกระทำการตามหน้าที่ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทหนัก ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานเพราะเหตุที่จะกระทำการตามหน้าที่อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2),80 แต่มิได้ปรับบทลงโทษมาด้วย และที่ศาลชั้นต้นลดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ก็มิได้ปรับบทตามมาตรา 52(1) เป็นการไม่ถูกต้องชัดแจ้ง แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5215/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยมิสุจริตของผู้ซื้อ และสิทธิการครอบครองปรปักษ์ของผู้ครอบครองเดิม
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. เมื่อปี 2516 แล้วจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยโดยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ซื้อมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้ว โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากส. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2523 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15พฤษภาคม 2527 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมานั้นโจทก์เห็นจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์ควรต้องสอบถามให้แน่นอนว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร ตอนไปจดทะเบียนโจทก์ก็ตอบคำถามของเจ้าพนักงานโดยปิดบังว่าบนที่ดินพิพาทไม่มีสิ่งปลูกสร้าง เพื่อหลีกเลี่ยงคำถามต่อไปว่าสิ่งปลูกสร้างเป็นของใคร ทำให้โจทก์จดทะเบียนไปได้ พฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของมานานแล้ว การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อก็เพราะเชื่อว่าสามารถใช้สิทธิทางทะเบียนห้ามจำเลยต่อสู้ได้การกระทำของโจทก์จึงเป็นการไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมสามารถอ้างบทกฎหมายดังกล่าวยันโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5215/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยโจทก์ที่ทราบว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ ทำให้โจทก์ไม่สุจริต และจำเลยอ้างสิทธิได้
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. เมื่อปี 2516 แล้วจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยโดยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ซื้อมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้ว โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากส. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2523 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15พฤษภาคม 2527 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมานั้นโจทก์เห็นจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์ควรต้องสอบถามให้แน่นอนว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร ตอนไปจดทะเบียนโจทก์ก็ตอบคำถามของเจ้าพนักงานโดยปิดบังว่าบนที่ดินพิพาทไม่มีสิ่งปลูกสร้าง เพื่อหลีกเลี่ยงคำถามต่อไปว่าสิ่งปลูกสร้างเป็นของใคร ทำให้โจทก์จดทะเบียนไปได้ พฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของมานานแล้ว การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อก็เพราะเชื่อว่าสามารถใช้สิทธิทางทะเบียนห้ามจำเลยต่อสู้ได้การกระทำของโจทก์จึงเป็นการไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมสามารถอ้างบทกฎหมายดังกล่าวยันโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืนยันสัญชาติไทยและการถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ กรณีความสมัครใจและขาดหลักฐานแจ้งถอนชื่อ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งเก้า เป็นคนสัญชาติไทย จำเลยอ้างว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนญวนอพยพ แล้วเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งเก้า ลงในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ โจทก์ทั้งเก้า ได้บอกกล่าวให้จำเลยถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแล้ว แต่จำเลยยังยืนยันว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนญวนอพยพ ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนสัญชาติไทย ให้จำเลยถอนชื่อโจทก์ทั้งเก้า ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งเก้า ขอทำบัตรประจำตัวญวนอพยพด้วยความสมัครใจและโจทก์ทั้งเก้า ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งแสดงว่าโจทก์ทั้งเก้า ได้ไปแจ้งขอให้ถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพจริง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งเก้า โจทก์ทั้งเก้าไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทย: การขอทำบัตรประจำตัวญวนอพยพด้วยความสมัครใจ ทำให้ขาดอำนาจฟ้องคดีสัญชาติ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งเก้า เป็นคนสัญชาติไทย จำเลยอ้างว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนญวนอพยพ แล้วเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งเก้า ลงในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ โจทก์ทั้งเก้า ได้บอกกล่าวให้จำเลยถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแล้ว แต่จำเลยยังยืนยันว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนญวนอพยพ ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนสัญชาติไทย ให้จำเลยถอนชื่อโจทก์ทั้งเก้า ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งเก้า ขอทำบัตรประจำตัวญวนอพยพด้วยความสมัครใจและโจทก์ทั้งเก้า ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งแสดงว่าโจทก์ทั้งเก้า ได้ไปแจ้งขอให้ถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพจริง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งเก้า โจทก์ทั้งเก้าไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำด้วยลูกกุญแจจี้และดึงทรัพย์สิน ไม่ถึงขั้นชิงทรัพย์ แต่เข้าข่ายข่มขืนใจโดยใช้กำลัง
จำเลยเพียงใช้ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหาย ทรัพย์ที่จำเลยเอาไปมีเพียงปากกาเขียนแบบกับดินสอ ซึ่งมีราคาไม่มากนัก มิได้เอาทรัพย์อย่างอื่นไปด้วย เมื่อผู้เสียหายขอคืนโดยอ้างว่าจะสอบในวันรุ่งขึ้น จำเลยยอมคืนดินสอ ให้โดยดี ส่วนปากกาเขียนแบบจำเลยบอกให้ไปรับคืนที่โรงเรียนที่จำเลยกำลังศึกษาอยู่ หลังเกิดเหตุจำเลยไม่ได้หลบหนี ผู้เสียหายนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยได้ห่างจากที่เกิดเหตุเพียงประมาณ 200 เมตร ลักษณะการกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหายจริงจัง แต่เห็นได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความคึกคะนองตามประสา วัยรุ่นที่โง่เขลาการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหายแล้วดึงปากกาเขียนแบบกับดินสอ ซึ่งเหน็บอยู่ที่สมุดของผู้เสียหายไปนั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ลูกกุญแจดังกล่าวอย่างอาวุธ และมีเจตนาให้ผู้เสียหายเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าขัดขืน ถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้จำยอมตามความประสงค์ของจำเลย โดยทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพโดยใช้อาวุธ.
of 35