พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำข้าวสาร/ข้าวเปลือก และการขนย้ายทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้สิน ศาลฎีกาวินิจฉัยขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยนำข้าวสารและข้าวเปลือกที่จำเลยจำนำแก่โจทก์ไปจำหน่าย ซึ่งตามทางปฎิบัติ ข้าวสารและข้าวเปลือกที่ลูกค้าจำนำแก่โจทก์จะอยู่ในความดูแลของลูกค้า ลูกค้าสามารถนำออกไปจำหน่ายได้โดยไม่ต้องขออนุญาตโจทก์แต่ต้องนำข้าวสารและข้าวเปลือกจำนวนใหม่เข้าไปไว้แทน แสดงว่าโจทก์ยอมให้ข้าวสารและข้าวเปลือกอยู่ในความครอบครองของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมอบข้าวสารและข้าวเปลือกไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจำนำ เมื่อไม่มีการจำนำจึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 349 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทวงถามและจำเลยรู้ว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยขนย้ายทรัพย์ไปเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือไม่ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายข้าวสาร/ข้าวเปลือกที่จำนำไว้ ไม่ถือเป็นการจำนำเพื่อประกันการชำระหนี้ และไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยนำข้าวสารและข้าวเปลือกที่จำเลยจำนำแก่โจทก์ไปจำหน่าย ซึ่งตามทางปฏิบัติข้าวสารและข้าวเปลือกที่ลูกค้าจำนำแก่โจทก์จะอยู่ในความดูแลของลูกค้า ลูกค้าสามารถนำออกไปจำหน่ายได้โดยไม่ต้องขออนุญาตโจทก์แต่ต้องนำข้าวสารและข้าวเปลือกจำนวนใหม่เข้าไปไว้แทน แสดงว่าโจทก์ยอมให้ข้าวสารและข้าวเปลือกอยู่ในความครอบครองของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมอบข้าวสารและข้าวเปลือกไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายใน ป.พ.พ.ลักษณะจำนำ เมื่อไม่มีการจำนำจึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 349
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทวงถามและจำเลยรู้ว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยขนย้ายทรัพย์ไปเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือไม่ จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทวงถามและจำเลยรู้ว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยขนย้ายทรัพย์ไปเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือไม่ จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแทนเจ้าของรถจากละเมิดของบุคคลภายนอก หากไม่มีสัญญารับผิดชอบ
โจทก์เป็นเพียงผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์แล้วรถยนต์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาระหว่างโจทก์กับผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของรถยนต์ที่รับไว้ซ่อมว่า โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทเลินเล่อของบุคคลภายนอก ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้รับจ้างรับช่วงสิทธิในกรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ได้ใช้จ่ายไปแทนผู้ว่าจ้างจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการต่ออายุสัญญาจ้างโดยอ้างเหตุสุดวิสัยและการใช้ดุลพินิจ
การที่ผู้รับจ้างขอต่ออายุสัญญาโดยอ้างว่าเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน จำเลยดำเนินการให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างโดยก่อนที่จะทำความเห็นเสนอต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังสืบหาข้อเท็จจริง ตลอดจนตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเคยมีการต่ออายุสัญญา-จ้างเพราะการขาดแคลนน้ำมันให้แก่ผู้อื่นมาแล้ว จำเลยจึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ ที่จำเลยมีความเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องคืนเงินค่าปรับแก่ผู้รับจ้าง แต่เป็นความเห็นโดยสุจริตในข้อกฎหมายซึ่งอาจแตกต่างจากบุคคลอื่นได้ จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อความเสียหายจากสัญญาต่ออายุที่อ้างเหตุสุดวิสัย แม้ไม่ได้ตรวจสอบทุกแหล่งข้อมูล
การที่ผู้รับจ้างขอต่ออายุสัญญาโดยอ้างว่าเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน จำเลยดำเนินการให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างโดยก่อนที่จะทำความเห็นเสนอต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังสืบหาข้อเท็จจริง ตลอดจนตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเคยมีการต่ออายุสัญญาจ้างเพราะการขาดแคลนน้ำมันให้แก่ผู้อื่นมาแล้ว จำเลยจึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ ที่จำเลยมีความเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องคืนเงินค่าปรับแก่ผู้รับจ้าง แต่เป็นความเห็นโดยสุจริตในข้อกฎหมายซึ่งอาจแตกต่างจากบุคคลอื่นได้ จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินตามสัญญาเช่าเกษตร: ศาลมีอำนาจปฏิเสธคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ขัดกฎหมาย
เมื่อ คชก.ตำบลวินิจฉัยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ผู้เช่านากับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ให้เช่านา โดยให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่งกรณีย่อมอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 221 ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นขัดต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 218 วรรคสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 2 เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ คชก.ตำบล แต่มิได้ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. ในข้อพิพาทซื้อขายที่ดินเช่า หากผู้รับโอนไม่ปฏิบัติตาม
เมื่อ คกช.ตำบลวินิจฉัยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ผู้เช่านากับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ให้เช่านา โดยให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ขายที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กรณีย่อมอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 218 วรรคสุดท้ายเมื่อจำเลยที่ 2 เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ คชก.ตำบล แต่มิได้ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายโรงเรียน: ศาลฎีกาแก้ไขจำนวนเงินคืนและค่าปรับตามความเหมาะสม โดยยึดหลักการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิการเช่ารวมทั้งเปลี่ยนชื่อเจ้าของโรงเรียนให้แก่โจทก์ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ภายในอายุความ เมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในประเด็นข้อนี้ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แต่โจทก์ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ซื้อขายตลอดมา การที่จำเลยจะต้องคืนเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นธรรมแก่จำเลย ศาลมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์เมื่อเลิกสัญญาตามที่เห็นสมควรได้ และให้โจทก์คืนทรัพย์สินที่ซื้อขายให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยต้องยกข้อต่อสู้ในคำให้การ หากไม่ยกขึ้นว่ากันในชั้นศาลชั้นต้น จะยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 บัญญัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือแสดงโดยแจ้งชัดในคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความและขอให้หักผลประโยชน์ไว้ และศาลชั้นต้นก็ไม่ได้พิจารณาในเรื่องนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำเลยที่ 2 มาขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาย่อมต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคแรก ที่ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้ชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามตามกฎหมาย
การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ดังนั้น คำให้การของจำเลยในคดีดังกล่าวต้องแสดงโดยแจ้งชัดในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น หรือแต่บางส่วนเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนราคาทรัพย์ได้แล้วที่จำเลยอุทธรณ์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว.