พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน แม้การซื้อขายนั้นกระทำโดยผู้ไม่มีอำนาจ
ก. ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์กระทำนอกอำนาจรับซื้อลดตั๋วเงินจากจำเลยไว้แทนโจทก์ แต่การที่โจทก์มอบอำนาจให้ก. ฟ้องคดีแทน เพื่อบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เกี่ยวกับตั๋วเงินดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การซื้อขายลดตั๋วเงินนั้นแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับสัญญาขายลดตั๋วเงิน, อายุความ 10 ปี, และดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกตั๋วแลกเงินแล้วนำไปขายลดตั๋วเงินไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามที่ได้ตกลงกันไว้กับโจทก์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงดังกล่าวเรียกตามสัญญาขายลดตั๋วเงินนั่นเอง ทั้งท้ายฟ้องของโจทก์ยังได้แนบสำเนาสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินของจำเลยทั้งสองไว้อีกด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องบังคับฐานผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามตั๋ว แลกเงิน จึงนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 963 และ 973มาใช้บังคับไม่ได้ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวการไม่ใช้เงินไปยังจำเลยที่ 2 ภายใน 4 วันก่อน โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามอัตราที่ตกลงไว้ จำเลยที่ 2 จะให้บังคับในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 968(2) ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน: ฟ้องชอบด้วยกฎหมาย, อายุความ 10 ปี, ดอกเบี้ยตามสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกตั๋วแลกเงินแล้วนำไปขายลดไว้แก่โจทก์โจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ ขอให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการเรียกดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและท้ายฟ้องของโจทก์ยังได้แนบสำเนาสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินมาด้วย แม้โจทก์ไม่บรรยายว่าฟ้องเรียกเงินตามตั๋วแลกเงินหรือตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ฟ้องโจทก์ก็แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและขอให้บังคับตามสัญญา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจให้ ก. ผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ซื้อขายลดตั๋วเงินแทนโจทก์ แต่โจทก์ก็มอบอำนาจให้ ก. ฟ้องคดีเกี่ยวกับการรับซื้อลดตั๋วเงินดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การซื้อขายลดตั๋วเงินนั้นแล้ว โจทก์ฟ้องบังคับฐานผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามตั๋วแลกเงิน จึงไม่จำต้องบอกกล่าวการไม่ใช้เงินไปยังจำเลยภายใน 4 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 963 และดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามอัตราที่ตกลงกันไว้ มิใช่อัตราร้อยละ 5 ต่อปีตามมาตรา 968(2) ทั้งสัญญาขายลดตั๋วเงินไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค้ำประกันหนี้: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์โดยตรง
จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยออกเช็คค้ำประกันหนี้เงินยืมจากบริษัท ส. จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คโดยคบคิดกับบริษัท ส. ฉ้อฉลจำเลย จึงมิใช่ข้อต่อสู้ที่จะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้ทรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 916 เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้ถือเช็ค ย่อมฟังได้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คมาโดยสุจริตและเป็นผู้ทรงโดยชอบ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็ค: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คโดยสุจริต แม้จะออกเช็คค้ำประกันหนี้ของผู้อื่น
จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คนั้นมาโดยคบคิดกับบริษัท ส. ฉ้อฉลจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับบริษัท ส. ขึ้นต่อสู้โจทก์ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยออกเช็คค้ำประกันหนี้เงินยืมจากบริษัท ส. จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดชี้สองสถานและงดสืบพยาน หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์คำพิพากษา ไม่ใช่ขอพิจารณาใหม่
ในวันนัดชี้สองสถานและนัดพร้อมเพื่อสอบข้อเท็จจริง โจทก์มาศาล ส่วนจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าตามคำฟ้องและคำให้การคดีพอวินิจฉัยได้แล้วให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย และพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี ดังนี้ หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยาน และศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาซึ่งจำเลยจะขอพิจารณาใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงความเสี่ยง – การค้ำประกันใหม่มีผลให้การค้ำประกันเดิมสิ้นสุด
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน ป. ในการเป็นพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของโจทก์ ต่อมาโจทก์แต่งตั้ง ป. ให้เป็นพนักงานในตำแหน่งผู้จัดการขึ้นใหม่โดยให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงิน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยโดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วย ทั้งมีบริษัท ท. เป็นผู้ค้ำประกันโดยมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันเพิ่มเติมจากที่จำเลยได้ค้ำประกันไว้แล้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกันโดยให้บริษัท ท. เข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่ บ. ยักยอกเงินของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่า: ดูต้นทาง-ช่วยเหลือคนร้ายหลบหนีถือเป็นการแบ่งหน้าที่
จำเลยยืนอยู่ที่ปากซอยเกิดเหตุก่อนและขณะที่คนร้ายลงมือกระทำการพยายามฆ่าผู้เสียหาย เมื่อคนร้ายกระทำความผิดแล้ว และกำลังหลบหนีออกมาทางปากซอย ได้ถูกชาวบ้านช่วยกันจับกุม จำเลยเข้าชกชาวบ้านที่จับกุมคนร้าย เป็นเหตุให้คนร้ายหลบหนีไปได้ ดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นการดูต้นทางก่อนกระทำความผิดและช่วยเหลือพวกของจำเลยให้หลุดพ้นจากการกระทำความผิดอันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำถือได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกับพวกพยายามฆ่าผู้เสียหายแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินที่ตกเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด สิทธิทางภารจำยอมเกิดจากอายุความ
แม้ว่าตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะไม่มีข้อความพาดพิงถึงจำเลยร่วมก็ตาม แต่เมื่อปรากฏจากคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว กรมที่ดินได้รับจดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของอาคารชุดจำเลยร่วม กรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข) โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิทางภาระจำยอมในที่ดินมีโฉนดซึ่งจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาโดยอายุความ ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนภารจำยอมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 ปัญหาว่าจำเลยร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดจะอยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้จดทะเบียนภารจำยอมตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522มาตรา 10 หรือไม่เป็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยร่วมฎีกายกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาโดยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในชั้นอุทธรณ์ ปัญหานี้จึงยุติแล้วตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินที่เปลี่ยนเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด สิทธิทางภาระจำยอมยังคงมีผล
แม้ตามคำฟ้องและคำขอของโจทก์ จะไม่มีข้อความพาดพิง ถึงจำเลยร่วมเลยก็ตาม แต่เมื่อปรากฏจากคำให้การจำเลยทั้งสองว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วกรมที่ดินได้จดทะเบียนที่พิพาทเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของอาคารชุด "แกรนวิลเฮาส์ 2" จำเลยร่วมกรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3)(ข) โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิทางภารจำยอมในที่ดินซึ่งจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาโดยอายุความ ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนภารจำยอมได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391.