คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ เนติโพธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า: การประเมินความผิดฐานอาญา
จำเลยเป็นบุตรเขยของผู้เสียหาย ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันก่อนเกิดเหตุร่วมดื่มสุราด้วยกันจนเมา สาเหตุที่ทะเลาะกันก็เป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยแม้มีดที่จำเลยแทงผู้เสียหายจะยาวถึง 8 นิ้วเศษ และจำเลยแทงผู้เสียหายที่บริเวณชายโครงซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของผู้ตาย แต่จำเลยก็แทงเพียงครั้งเดียวโดยไม่ได้แทงซ้ำทั้ง ๆ ที่มีโอกาส เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายมีโลหิตไหล จำเลยก็ใช้มือปิดแผลให้เพราะเกรงว่าโลหิตจะออกมาก แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เพียงแต่มีเจตนาทำร้าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานพยายามฆ่า แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น แต่การกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นการกระทำที่รวมอยู่ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น และเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายได้ตาม ป.วิ.อ มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินถูกเวนคืนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และการคิดดอกเบี้ย
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76(2) บัญญัติว่าเงินค่าทดแทนนั้น ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ เมื่อพ.ร.ฎ. ดังกล่าวออกใช้บังคับในวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การกำหนดค่าทดแทนให้กับโจทก์ต้องถือเอาราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันดังกล่าว แต่เมื่อในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันในบริเวณที่ถูกเวนคืนก็มิใช่ว่าจะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนแต่เพียงอย่างเดียว ในกรณีเช่นนี้ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจ กำหนดราคาซื้อขายที่ดินของโจทก์ตามราคาธรรมดาในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. ใช้บังคับได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับเมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินให้แก่โจทก์เลย ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จำเลยกำหนดให้ หรือที่ศาลพิพากษาให้เพิ่มขึ้น จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่โจทก์สมควรจะได้รับนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่ดินตามราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และดอกเบี้ย
แม้จะมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 23 ลงวันที่ 18 ธันวาคม2514 กำหนดแนวทางหลวงแผ่นดินผ่านที่ดินของโจทก์ทั้งสองแล้วแต่เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาแทนอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติซึ่งเป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 พระราชกฤษฎีกาที่ออกใช้บังคับในครั้งหลังนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 23 ไปโดยปริยาย ดังนั้น เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76(2) ซึ่งบัญญัติว่าเงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองจึงต้องถือเอาราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันดังกล่าวและถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในบริเวณที่ถูกเวนคืน ศาลก็มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดราคาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามราคาธรรมดาในท้องตลาดในวันดังกล่าวได้โดยพิจารณาจากราคาธรรมดาในท้องตลาดในการซื้อขายที่ดินในเวลาและในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน หาจำต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินมาใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่เหลือจากการเวนคืนมีจำนวนมากเมื่อมีถนนสายรัชดาภิเษกแล้วราคาจะสูงขึ้นไม่น้อยกว่าเท่าตัว จึงต้องเอาราคาที่สูงขึ้นหักค่าทดแทนตามบทบัญญัติในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เมื่อหักแล้วไม่ควรจะมีเหลือจ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่โจทก์นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ให้เห็นว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนจะสูงกว่าราคาก่อนการสร้างถนนสายรัชดาภิเษกเท่าใด จึงมิใช่ประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสองจะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้หรือไม่นั้น ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 กำหนดไว้ว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้น ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้นเมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเลย ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองกำหนดให้หรือที่ศาลพิพากษาให้เพิ่มขึ้นโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนจำนวนที่โจทก์ทั้งสองสมควรจะได้รับในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ แม้มีสัญญาจะซื้อจะขายแต่สละเจตนาครอบครองแล้ว
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ฉ. เพราะมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ขุดเป็นทางระบายน้ำเข้าที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาท แต่การที่โจทก์ได้เข้าทำประโยชน์โดยปลูกต้นไม้ ขุดคูน้ำ ทำทางเดินไปทำนา และโจทก์คงใช้ประโยชน์ดังกล่าวในที่ดินพิพาทติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่าโจทก์มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อตกลงจะจดทะเบียนโอนเมื่อแบ่งแยกโฉนดเรียบร้อยแล้ว แม้ว่าโจทก์กับ ฉ. จะปล่อยเวลาล่วงเลยไปนานมิได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในเวลาอันสมควรเพื่อแบ่งแยกโฉนดโดย ฉ. ยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์แสดงตนเป็นเจ้าของอย่างเต็มที่แสดงว่าทั้งโจทก์และ ฉ. มิได้คำนึงถึงการที่จะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ถือได้ว่าฉ. สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยเด็ดขาด การครอบครองของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ หาใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อจะขาย ดังนี้ เมื่อครบสิบปีโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินไม่ถือเป็นการมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353โดยบรรยายฟ้องว่า "จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของผู้เสียหาย ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมครอบครองรถยนต์บรรทุกของผู้เสียหายกลับนำรถยนต์บรรทุกที่ได้รับมอบหมายไปรับจ้างขนดินโดยทุจริต"เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายตามนัยบทมาตราดังกล่าว ฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดจะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินไม่ถือเป็นการจัดการทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างประจำของผู้เสียหายได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมครอบครองรถยนต์บรรทุกของผู้เสียหายกลับนำรถยนต์บรรทุกที่ได้รับมอบหมายไปรับจ้างขนดินโดยทุจริต แต่คำว่าได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมครอบครองทรัพย์สินตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมีความหมายต่างกับคำว่าได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายตามนัยแห่งมาตรา 353ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง แม้จดทะเบียนถูกต้อง
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า Mita มาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯมาตรา 41(1) ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 20 เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นเรื่องนอกประเด็น แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น และยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมมีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า mita มาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า mita ดีกว่าจำเลย จำเลยเป็นกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จำเลยย่อมรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า mita โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของ แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยไม่มีความตกลงคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในลักษณะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กับรัฐบาลต่างประเทศนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นเรื่องนอกประเด็น แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น และยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเลือกใช้สิทธิเรียกร้อง: บอกเลิกสัญญา หรือ เรียกร้องเบี้ยปรับรายวัน
สัญญาซื้อขายข้อ 8 มีความว่า ในกรณีที่ผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อตามกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนแล้วแต่จะเห็นสมควร ส่วนสัญญาข้อ 9 มีความว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ซื้อมีสิทธิปรับผู้ขายเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ในระหว่างที่มีการปรับถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์ตามกำหนดและโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับริบเงินประกันของจำเลยจากธนาคารตามสัญญาข้อ 8 แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับจากจำเลยเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 9 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยเอกสารปลอม แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้หากจำเลยอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 40,000 บาท ไม่ใช่68,000 บาท ดังโจทก์ฟ้อง แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อนี้แต่จำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดไว้ จึงมีประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ว่าสัญญากู้ปลอมหรือไม่
of 41