พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ แต่จำเลยอุทธรณ์เรื่องเอกสารปลอม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้
แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2แต่จำเลยเองเป็นฝ่ายอุทธรณ์ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 เป็นเอกสารปลอมเพราะจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดไว้ ดังนี้จึงมีประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 ปลอมหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเชื่อ ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 ไม่ปลอมและบังคับตามสัญญาจึงเป็นการชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายจากกลฉ้อฉล: 10 ปีนับแต่วันทำนิติกรรม
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 เพราะถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวงเท่ากับเป็นการอ้างว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินนั้นเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 121 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกิน 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนได้ตาม มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากกลฉ้อฉล เกิน 10 ปี ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์เป็นบุตรและเป็นผู้จัดการมรดกของมารดาอ้างมูลเหตุในฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงมารดาโจทก์ว่า เมื่อจำเลยสร้างเขื่อนชลประทานและเขื่อนเก็บน้ำแล้วน้ำจะท่วมที่ดินของมารดาโจทก์ ให้มารดาโจทก์ขายที่ดินให้จำเลย มารดาโจทก์หลงเชื่อจึงขายที่ดินให้ ซึ่งความจริงเมื่อสร้างเขื่อนเสร็จแล้วน้ำไม่ท่วมที่ดิน จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์เท่ากับเป็นการอ้างว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย ซึ่งจะมีผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมแล้วจึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากหนังสือร้องเรียนเท็จ การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และขอบเขตความรับผิดร่วมกัน
การฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์คนละเท่าใดเพราะจำเลยต้องร่วมกันรับผิดเต็มตามฟ้องอยู่แล้ว ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศจะพูดกับจำเลยที่ 1 ผู้มาขอให้โจทก์ช่วยตรวจสอบเรื่องของจำเลยที่ 1ว่า "ผมไม่ชอบให้พ่อค้าเร่งข้าราชการ ผมรู้หน้าที่ของผมดี ผมไม่ชอบ"ก็ไม่ใช่ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ เชื่อว่าเกิดจากความไม่พอใจที่จำเลยที่ 1 มาเร่งรัด ประกอบกับโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยไม่ชักช้า โจทก์จึงไม่มีอคติในการทำงาน การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ยอมทำงานเอาแต่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ มีอคติในการทำงาน และกระทำการหน่วงเหนี่ยวเป็นกำแพงป้องกันการส่งสินค้าออก จึงเป็นการร้องเรียนกล่าวหาที่ฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากหนังสือร้องเรียนที่ไม่เป็นความจริง และความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
การฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 432 ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์คนละเท่าใด เพราะจำเลยต้องร่วมกันรับผิดตามฟ้องอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชา กล่าวหาว่าโจทก์ไม่ยอมทำงานเอาแต่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ มือคติ ในการทำงาน พยายามหน่วงเหนี่ยวและกระทำการเป็นกำแพงฟ้องกันการส่งสินค้าออก ซึ่งเป็นการร้องเรียนกล่าวหาฝ่าฝืนความจริง จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าเสียหายจากการละเมิด: การประเมินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการซ่อมแซมและผลกระทบจากอุบัติเหตุ
จำเลยขับรถยนต์ประมาทตัดหน้ารถไฟโจทก์เป็นเหตุให้รถไฟโจทก์ชนและเสียหายค่าใช้จ่ายในโรงงานที่โจทก์คิดเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ105.5 ของค่าแรง 1 หน่วย และค่าควบคุมอัตราร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในโรงงาน และค่าที่โจทก์เสียไปในการสืบสวนสอบสวนเหตุที่เกิดละเมิด แม้พนักงานของโจทก์อ้างว่าเป็นระเบียบของโจทก์ให้ถือปฏิบัติโดยนำวิธีการคำนวณมาจากสถิติก็ตาม ถือไม่ได้ว่าค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลจากการทำละเมิด ค่ายกรถตกรางซึ่งโจทก์คิดเป็นค่าโอเวอร์เฮดชาร์จ ค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงานและค่าควบคุมเพิ่มขึ้นมานั้น สำหรับค่าโอเวอร์เฮดชาร์จ กับค่าควบคุมซึ่งคิดในอัตราร้อยละ 51 และร้อยละ 25 ของค่าแรงยกรถตามลำดับ โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการซ่อมอย่างไร และมีหลักการคิดคำนวณอย่างไร จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการละเมิดส่วนค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงาน โจทก์มิได้นำสืบว่าเหตุใดเมื่อจ่ายค่าแรงแล้วต้องจ่ายค่าอาหารอีกจึงเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อน ค่าจัดรถพิเศษช่วยอันตรายซึ่งโจทก์เพิ่มค่าควบคุมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20 สำหรับรถโดยสารและในอัตราร้อยละ 15 สำหรับรถสินค้า พนักงานของโจทก์อ้างว่าคิดคำนวณจากระเบียบของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการทำละเมิดเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการชนรถไฟ: การประเมินค่าเสียหายที่สมเหตุสมผลและการแบ่งความรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกและได้นำเข้าไปร่วมในกิจการค้าของจำเลยที่ 3 ซึ่งจดทะเบียนประกอบการขนส่งไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ในการขับรถยนต์บรรทุกได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างให้แก่จำเลยที่ 2ด้วยความประมาทชนกับรถไฟของโจทก์ ดังนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในฐานะที่เป็นนายจ้างร่วมกันของจำเลยที่ 1 ค่าเสียหายในการซ่อมรถไฟคันเกิดเหตุ โจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าแรงและค่าของที่โจทก์ได้ใช้จ่ายไปจริงในการซ่อมดังกล่าวส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในโรงงาน ซึ่งมีค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเชื้อเพลิง ค่าเครื่องจักรทำงาน ค่าเสื่อมราคากับค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรและค่าควบคุมซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปในการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุละเมิดขึ้นนั้น โจทก์คิดคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งสองรายการดังกล่าวมาจากสถิติตามระเบียบของการรถไฟปี พ.ศ. 2525 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการคิดมาจากผลการทำละเมิด โจทก์ย่อมไม่สามารถเอาค่าใช้จ่ายทั้งสองรายการนี้มารวมกับค่าแรงและค่าของเพื่อคิดเป็นค่าเสียหายในการซ่อมรถไฟคันเกิดเหตุได้สำหรับค่าเสียหายด้านการโดยสารนั้น เนื่องจากเหตุที่รถไฟตกรางทำให้การเดินรถต้องหยุดชะงักเป็นเหตุให้โจทก์ขาดรายได้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว แต่โจทก์คำนวณค่าเสียหายดังกล่าวจากสถิติการจำหน่ายตั๋วรถไฟหลายขบวนที่โจทก์เคยได้รับค่าโดยสารมาถัวเฉลี่ย มิใช่รายได้ที่โจทก์ขาดไปจริง ศาลจึงมีอำนาจที่จะกำหนดค่าเสียหายจำนวนนี้ให้ได้ตามจำนวนที่เห็นว่าเหมาะสม นอกจากนี้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมทางของฝ่ายการช่างโยธาทั้งค่าแรงและค่าของ ค่าแรงในการยกรถตกราง และค่าลากจูงรถไฟคันเกิดเหตุตามจำนวนที่ได้ใช้จ่ายไปจริง แต่ค่าโอเวอร์เฮดชาร์จในการยกรถตกราง ค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงานและค่าควบคุมนั้น โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าค่าโอเวอร์เฮดชาร์จกับค่าควบคุมซึ่งโจทก์คิดในอัตราร้อยละ51 และ 25 ของค่าแรงยกรถนั้นเกี่ยวข้องกับการซ่อมรายนี้อย่างไรและมีหลักการคิดคำนวณอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการละเมิด ส่วนค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงานโจทก์มิได้สืบว่าเหตุใดเมื่อจ่ายค่าแรงแล้วต้องจ่ายค่าอาหารอีกจึงเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสาม สำหรับค่าจัดรถพิเศษช่วยอันตรายที่โจทก์ต้องจัดขบวนรถไฟพิเศษไปจัดการเปิดทางนั้น โจทก์ได้คำนวณเพิ่มค่าควบคุมรถโดยสารในอัตราร้อยละ 20 รถสินค้าในอัตราร้อยละ 15 ไว้ด้วย โดยคิดคำนวณจากระเบียบของโจทก์ ค่าควบคุมส่วนที่คำนวณเพิ่มขึ้นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการทำละเมิด ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจสั่งอายัดทรัพย์ได้ แม้ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อายัดที่ดินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาก็เพื่อจะได้ความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษา หรือเพื่อสะดวกในการที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษา แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่าสัญญาภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เลิกไปแล้วและพิพากษายกฟ้องโจทก์ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงนี้หาได้ยุติไม่ เพราะศาลอุทธรณ์อาจวินิจฉัยว่าสัญญาภาระจำยอมยังบังคับได้ และพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็ได้ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรก็ชอบที่จะสั่งอายัดที่ดินของจำเลยไว้ชั่วคราวได้ เมื่อตามคำฟ้อง คำให้การ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวและคำคัดค้านข้อเท็จจริงรับกันได้ความว่า ตามคำฟ้องและโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องขอนั้น มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาใช้ ซึ่งได้ความครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255(1) และ (2) แล้วศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอของโจทก์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐานของคู่ความก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ สัญญาภาระจำยอมยังไม่ยุติ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์โจทก์ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าสัญญาภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เลิกกันไปแล้วไม่อาจใช้บังคับกันได้อีกต่อไป แต่ข้อเท็จจริงนี้หาได้ยุติไม่ ศาลอุทธรณ์อาจวินิจฉัยว่าสัญญาภาระจำยอมยังคงบังคับได้ และพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็ได้ ทั้งปรากฏตามคำฟ้อง คำให้การ คำร้อง และคำร้องคัดค้านว่า ตามคำฟ้องและโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องนั้นมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาใช้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255(1) และ (2) แล้วศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของโจทก์ ให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งสำนักงานที่ดินที่ที่พิพาทตั้งอยู่ห้ามจำเลยจดทะเบียนสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่พิพาทเฉพาะส่วนตามสัญญาภารจำยอมไว้ในระหว่างอุทธรณ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐานของคู่ความก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีสัญญาภาระจำยอม แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ยังสามารถสั่งอายัดที่ดินได้หากมีเหตุสมควร
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อายัดที่ดินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาก็เพื่อจะได้ความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษา หรือเพื่อสะดวกในการที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษา แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า สัญญาภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เลิกไปแล้วและพิพากษายกฟ้องโจทก์ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงนี้หาได้ยุติไม่ เพราะศาลอุทธรณ์อาจวินิจฉัยว่าสัญญาภาระจำยอมยังบังคับได้ และพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็ได้ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรก็ชอบที่จะสั่งอายัดที่ดินของจำเลยไว้ชั่วคราวได้
เมื่อตามคำฟ้อง คำให้การ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวและคำคัดค้าน ข้อเท็จจริงรับกันได้ความว่า ตามคำฟ้องและโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องขอนั้น มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาใช้ ซึ่งได้ความครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 255 (1) และ (2) แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอของโจทก์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐานของคู่ความก่อนแต่อย่างใด
เมื่อตามคำฟ้อง คำให้การ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวและคำคัดค้าน ข้อเท็จจริงรับกันได้ความว่า ตามคำฟ้องและโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องขอนั้น มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาใช้ ซึ่งได้ความครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 255 (1) และ (2) แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอของโจทก์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐานของคู่ความก่อนแต่อย่างใด