พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล: การระบุลักษณะหนี้เป็นสินจ้างและการนับวันสุดท้ายของอายุความ
ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุของโจทก์ มีลักษณะเป็นสินจ้าง โจทก์จึงเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลของโจทก์ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 2 ปี
เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความครบกำหนดตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ การนับระยะเวลาวันสุดท้ายของการฟ้องร้อง ก็ต้องถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 คือให้นับวันจันทร์อันเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยเป็นวันสุดท้าย.
เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความครบกำหนดตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ การนับระยะเวลาวันสุดท้ายของการฟ้องร้อง ก็ต้องถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 คือให้นับวันจันทร์อันเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยเป็นวันสุดท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในความเสียหายจากการก่อสร้างต่อเติมอาคารและการแบ่งแยกความรับผิดระหว่างนายจ้างกับผู้รับเหมา
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทที่มีผนังตึกร่วมกันแม้ข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความจะไม่ปรากฏชัดว่าผนังตึกพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใด แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยึดถือและใช้สอยผนังตึกพิพาทร่วมกัน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองผนังตึกพิพาทร่วมกัน เมื่อโจทก์ ถูกกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผนังตึกแตกร้าว เสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารชั้นสามโดยจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ทำให้สำเร็จตามความต้องการของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการจ้างทำของ ดังนั้นการงานที่จำเลยที่ 2และลูกจ้างได้กระทำไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกระทำเกิดไปละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดเองจะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยไม่ได้ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังในการเลือกหาผู้รับจ้างที่ดี เพียงแต่เลือกเอาผู้รับเหมาก่อสร้างธรรมดาที่ไม่มีความรู้ไม่มีเครื่องมือที่ดี จำเลยที่ 1 จึงประมาทเลินเล่อในการหาผู้รับจ้าง แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของนายจ้างและผู้รับเหมาต่อความเสียหายจากละเมิด และขอบเขตการฟ้องคดี
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทที่มีผนังตึกร่วมกันแม้ข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความจะไม่ปรากฏชัดว่าผนังตึกพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใด แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยึดถือและใช้สอยผนังตึกพิพาทร่วมกัน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองผนังตึกพิพาทร่วมกัน เมื่อโจทก์ ถูกกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผนังตึกแตกร้าว เสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารชั้นสามโดยจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ทำให้สำเร็จตามความต้องการของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการจ้างทำของ ดังนั้นการงานที่จำเลยที่ 2และลูกจ้างได้กระทำไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกระทำเกิดไปละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดเองจะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยไม่ได้
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังในการเลือกหาผู้รับจ้างที่ดี เพียงแต่เลือกเอาผู้รับเหมาก่อสร้างธรรมดาที่ไม่มีความรู้ไม่มีเครื่องมือที่ดี จำเลยที่ 1 จึงประมาทเลินเล่อในการหาผู้รับจ้าง แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารชั้นสามโดยจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ทำให้สำเร็จตามความต้องการของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการจ้างทำของ ดังนั้นการงานที่จำเลยที่ 2และลูกจ้างได้กระทำไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกระทำเกิดไปละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดเองจะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยไม่ได้
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังในการเลือกหาผู้รับจ้างที่ดี เพียงแต่เลือกเอาผู้รับเหมาก่อสร้างธรรมดาที่ไม่มีความรู้ไม่มีเครื่องมือที่ดี จำเลยที่ 1 จึงประมาทเลินเล่อในการหาผู้รับจ้าง แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4670/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ แม้ไม่ได้ยกเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรง โดยอ้างอิงมาตรา 383 ป.พ.พ.
เบี้ยปรับหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจหยิบยกบทบัญญัติมาตรา 383 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ปรับแก่คดีโดยลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเรื่องเบี้ยปรับเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคดีโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4670/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลลดเบี้ยปรับสูงเกินส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 แม้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทโดยตรง
ศาลมีหน้าที่ยกตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดี เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลชอบที่จะยกบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องลดเบี้ยปรับมาใช้ปรับแก่คดีโดยลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ อันเป็นอำนาจของศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 มิใช่เรื่องยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างและจำเลยได้โต้แย้งไว้ในคำให้การแล้วที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลไม่ได้กำหนดเรื่องเบี้ยปรับเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้โดยตรง ก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกัน การลดเบี้ยปรับจึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4670/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลลดเบี้ยปรับสูงเกินส่วน แม้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทโดยตรง
เบี้ยปรับหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจหยิบยกบทบัญญัติมาตรา 383 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ปรับแก่คดีโดยลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเรื่องเบี้ยปรับเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคดีโดยตรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาช่วยเหลือทางการเงินเพื่อก่อสร้างทาง: ไม่ถือเป็นหุ้นส่วน, เจ้าหนี้ไม่ต้องรับผิด
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ได้ความว่าจำเลยที่ 3 เข้ามารับภาวะในการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนวัสดุ และน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่มีประโยชน์ตอบแทน เพียงแต่เพื่อให้การก่อสร้างทางสำเร็จลุล่วงไปตามโครงการ จำเลยที่ 1 จะได้มีเงินชำระหนี้จำเลยที่ 3 เท่านั้น เงินและสิทธิประโยชน์ที่เหลือจากการชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 ทั้งหมดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 มิได้มีความประสงค์จะแบ่งปันกำไรกัน ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 คงเป็นเพียงเจ้าหนี้เท่านั้น จึงไม่ต้องชดใช้ค่าน้ำมันตามฟ้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในความเสียหายจากไฟไหม้ไร่อ้อย การให้สัตยาบันการพิจารณาคดี และสิทธิในทรัพย์สินในที่ดินป่าสงวน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะลงชื่อมาในท้ายอุทธรณ์ แต่ก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์มิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยไม่น้อยกว่า 3 วันตามกำหนด แต่เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้คัดค้านที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาคำร้อง และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว จำเลยยังขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการชี้สองสถานไปเพื่อจำเลยจะได้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เช่นนี้เท่ากับจำเลยให้สัตยาบันแก่การพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุนี้ขึ้นมาคัดค้านในภายหลังอีกไม่ได้
แม้ที่ดินที่โจทก์ปลูกอ้อยจะเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่ชอบก็ตาม แต่อ้อยดังกล่าวก็ยังเป็นทรัพย์ของโจทก์ เมื่อมีบุคคลอื่นมาทำให้อ้อยที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้มาทำละเมิดได้
การปลูกป่าจำเป็นต้องแผ้วถางก่อน เมื่อแผ้วถางแล้วก็ต้องเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถาง เพื่อให้พื้นที่เตียนจะได้ปลูกป่าต่อไป การที่คนงานปลูกป่าของจำเลยจุดไฟเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถางไว้ จึงเป็นงานในทางการที่จ้าง จำเลยจะยกเอาเหตุดังกล่าวมาปัดความรับผิดหาได้ไม่
แม้โจทก์มิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยไม่น้อยกว่า 3 วันตามกำหนด แต่เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้คัดค้านที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาคำร้อง และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว จำเลยยังขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการชี้สองสถานไปเพื่อจำเลยจะได้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เช่นนี้เท่ากับจำเลยให้สัตยาบันแก่การพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุนี้ขึ้นมาคัดค้านในภายหลังอีกไม่ได้
แม้ที่ดินที่โจทก์ปลูกอ้อยจะเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่ชอบก็ตาม แต่อ้อยดังกล่าวก็ยังเป็นทรัพย์ของโจทก์ เมื่อมีบุคคลอื่นมาทำให้อ้อยที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้มาทำละเมิดได้
การปลูกป่าจำเป็นต้องแผ้วถางก่อน เมื่อแผ้วถางแล้วก็ต้องเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถาง เพื่อให้พื้นที่เตียนจะได้ปลูกป่าต่อไป การที่คนงานปลูกป่าของจำเลยจุดไฟเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถางไว้ จึงเป็นงานในทางการที่จ้าง จำเลยจะยกเอาเหตุดังกล่าวมาปัดความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากละเมิดของลูกจ้างในการเผาป่า และการครอบครองป่าสงวนโดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้มีชื่อซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยหลายคนได้จุดไฟเผาป่าที่แผ้วถางไว้โดยประมาท ทำให้เพลิงลุกลามไหม้ไร่อ้อยของโจทก์ ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าลูกจ้างผู้มีชื่อจะเป็นใคร ชื่ออะไร ซึ่งเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในวันชี้สองสถาน และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว จำเลยไม่ได้คัดค้านเสียในขณะนั้น ว่าโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องดังกล่าวให้จำเลยตามกำหนด ทั้งยังขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการชี้สองสถานไปเพื่อจำเลยจะได้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วยเท่ากับจำเลยให้สัตยาบันแก่การพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แล้ว อ้อยที่โจทก์ปลูกในป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์เข้าไปยึดถือครอบครองโดยมิชอบเป็นทรัพย์ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้มีทำให้อ้อยเสียหายได้ จำเลยจ้างคนงานมาปลูกป่า การที่คนงานจุดไฟเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถางไว้ ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่จำเป็นในการปลูกป่าเป็นงานในทางการที่จ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าและการชดใช้ค่าเสียหาย กรณีเจ้าของทรัพย์รบกวนการใช้ประโยชน์ของผู้เช่า
จำเลยเช่าอาคารของโจทก์เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยของพนักงานจำเลยระหว่างการเช่า โจทก์ไขกุญแจเข้าไปในห้องของนางสาวอ.พนักงานของจำเลยในเวลากลางคืนขณะที่นางสาวอ. กำลังนอนหลับแต่โจทก์เข้าไปเพื่อปิดน้ำเนื่องจากมีการเปิดน้ำไหลทิ้งไว้ประกอบกับโจทก์เป็นหญิง กรณีจึงไม่ใช่เรื่องร้ายแรง จำเลยจะยกเอาเรื่องดังกล่าวนี้มาเป็นเหตุเลิกสัญญาเช่าหาได้ไม่