คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ เนติโพธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราโทษป่าไม้สูงกว่าป่าสงวนแห่งชาติ: เปรียบเทียบ พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 กับ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสอง มีอัตราโทษขั้นสูงจำคุกยี่สิบปี เป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสองซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบห้าปีโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารในสำนวนคดีเดิมที่จำเลยอ้าง ศาลล่างรับฟังได้ แม้โจทก์มิได้อ้างเอง ดุลพินิจศาล
เมื่อเอกสารที่ใช้ในการวินิจฉัยคดีรวมอยู่ในสำนวนคดีที่จำเลยระบุอ้างเป็นพยานเอกสารนั้นจึงเข้าสู่สำนวนความของศาลโดยถูกต้องการที่ศาลจะฟังและเชื่อพยานหลักฐานในส่วนไหนอย่างไรในสำนวนเป็นดุลพินิจของศาล ไม่จำเป็นว่าคู่ความที่ได้รับประโยชน์จากเอกสารนั้นจะต้องเป็นฝ่ายระบุอ้างและนำเข้าสู่สำนวนความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารในสำนวนความ: ดุลพินิจศาลไม่ต้องยึดโยงกับผู้ระบุอ้าง
เมื่อเอกสารที่ใช้ในการวินิจฉัยคดีรวมอยู่ในสำนวนคดีที่จำเลยระบุอ้างเป็นพยานเอกสารนั้นจึงเข้าสู่สำนวนความของศาลโดยถูกต้อง การที่ศาลจะฟังและเชื่อพยานหลักฐานในส่วนไหนอย่างไรในสำนวนเป็นดุลพินิจของศาล ไม่จำเป็นว่าคู่ความที่ได้รับประโยชน์จากเอกสารนั้นจะต้องเป็นฝ่ายระบุอ้างและนำเข้าสู่สำนวนความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารในสำนวนคดีเดิมที่จำเลยอ้างเป็นพยาน ศาลล่างรับฟังได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดระบุอ้าง
เมื่อเอกสารที่ใช้ในการวินิจฉัยคดีรวมอยู่ในสำนวนคดีที่จำเลยระบุอ้างเป็นพยาน เอกสารนั้นจึงเข้าสู่สำนวนความของศาลโดยถูกต้อง การที่ศาลจะฟังและเชื่อ พยานหลักฐานในส่วนไหนอย่างไรในสำนวนเป็นดุลพินิจ ของศาล ไม่จำเป็นว่าคู่ความที่ได้รับประโยชน์จากเอกสารนั้นจะต้องเป็นฝ่ายระบุอ้างและนำเข้าสู่สำนวนความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนหนี้ที่ต่ำกว่าการรับสารภาพในชั้นศาล และหลักการไม่แก้ไขคำพิพากษาหากไม่มีการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์จำนวน 57,508.20 บาท จำเลยทั้งสองให้การรับว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน 38,464.76 บาท จึงมีประเด็นข้อพิพาทกันแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสองให้การรับไว้หรือไม่ จำเลยที่ 1จะฎีกาว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำนวน 15,144.66 บาทซึ่งต่ำกว่าที่จำเลยทั้งสองให้การรับไว้ไม่ได้ เพราะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด: ศาลต้องระบุมาตราและวรรคที่ผิดชัดเจน การแก้คำพิพากษาโดยอุทธรณ์ชอบแล้ว
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 8เป็นบทกำหนดโทษที่แก้ไขใหม่ของมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 8เท่ากับลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 76(ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งความผิดตามมาตรา 76 ดังกล่าวมีหลายวรรคแต่ละวรรคกำหนดโทษไว้แตกต่างกัน การที่ศาลชั้นต้นไม่ระบุว่าจำเลยมีความผิดวรรคใดย่อมไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์แก้เสียให้ถูกต้องได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วม-พยายามลักทรัพย์: แบ่งหน้าที่ชัดเจนถือเป็นตัวการ
จำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุในเวลากลางคืน แล้วยืนคุมเชิงอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2 พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2
การที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะเจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นเสียก่อน จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วม พยายามลักทรัพย์: แบ่งหน้าที่กระทำความผิด
จำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุในเวลากลางคืน แล้วยืนคุมเชิงอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2 พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะเจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นเสียก่อน จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือลักทรัพย์: การแบ่งหน้าที่และเจตนาในการกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์
จำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุในเวลากลางคืน แล้วยืนคุมเชิงอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะเจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นเสียก่อน จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันพยายามลักทรัพย์: การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การร่วมรู้ร่วมคิด และการเป็นตัวการร่วม
การที่จำเลยที่ 2 กำลังไขกุญแจคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม เป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปที่เกิดเหตุยามวิกาลแล้วยืนอยู่ใกล้เคียงกับจำเลยที่ 2 ในขณะเกิดเหตุ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ร่วมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2ในการลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายโดยยืนคุมเชิงพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ถือได้ว่าแบ่งหน้าที่กันทำเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกับจำเลยที่ 2.
of 41