พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมและแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่ขัดต่อข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 267,268นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 267และมาตรา 268 ซึ่งเกิดจากการกระทำผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอม แต่เนื่องจากมาตรา 268 มิได้ระวางอัตราโทษไว้โดยเฉพาะว่าจะให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างไร คงให้นำอัตราโทษตามที่ระบุไว้ในมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ซึ่งแล้วแต่ว่าเอกสารที่ได้ใช้หรืออ้างนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำผิดของมาตราหนึ่งมาตราใดดังที่กล่าวแล้วมาใช้ ในกรณีเช่นนี้หากจะมีการลงโทษตามมาตรา 268 ก็จะต้องนำเอาอัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 265มาใช้เป็นโทษของมาตรา 268 เพราะโจทก์ได้กล่าวอ้างมาในฟ้องด้วยว่าจำเลยได้ใช้หรืออ้างเอกสารอันเป็นเอกสารราชการที่พวกของจำเลยได้ปลอมขึ้น เมื่อมาตรา 265 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมแจ้งการย้ายที่อยู่ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากคดีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 193 ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าใบแจ้งย้ายที่อยู่ท.ร.17 เป็นเอกสารราชการที่พวกของจำเลยปลอมขึ้นไปใช้ และแสดงต่อ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเขตพระโขนง ให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อ เจ้าพนักงานผู้กระทำการตาม หน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเขตพระโขนงหลงเชื่อจึงได้ จดข้อความอันเป็นเท็จนั้นลงในทะเบียนบ้านของจำเลย อันเป็นเอกสารของทางราชการโดย ประการที่จะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนท้องถิ่นเขตพระโขนงผู้อื่นและประชาชน ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267,268 นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267และมาตรา 268 ซึ่ง เกิดจากการกระทำผิดฐานใช้ หรืออ้างเอกสารราชการปลอมแต่ มาตรา 268 มิได้ระวางอัตราโทษไว้โดยเฉพาะ ว่าจะให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างไรคงให้นำอัตราโทษตาม ที่ระบุไว้ในมาตรา 264,265,266 หรือมาตรา 267 ซึ่ง แล้วแต่ว่าเอกสารที่ได้ใช้ หรืออ้างนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำผิดของมาตราใดดังที่กล่าวแล้วมาใช้ ในคดีนี้หากจะมีการลงโทษจำเลยตาม มาตรา 268ก็จะต้อง นำเอาอัตราโทษตาม ที่กำหนดไว้ในมาตรา 265 มาใช้ เป็นโทษของมาตรา 268 ซึ่ง มาตรา 265 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึง ห้าปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งพัน บาทถึง หนึ่งหมื่นบาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เหตุพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ - คดีขับไล่บุคคลออกจากที่ดิน
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งห้าบุกรุก เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องที่ดินโจทก์จะให้เช่าได้เกิดเดือนละ 5,000 บาท และจำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ ฉ.จำเลยทั้งห้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิฉ. ซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันตามสัญญาประกัน กรณีจำเลยหลบหนี และการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีที่ไม่ถูกต้อง
กรณีมีอุบัติเหตุรถยนต์ติดหล่มเดินทางไปยังศาลที่พิจารณาคดีไม่ทัน ผู้ประกันมีสิทธิยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและผัดการส่งตัวจำเลยต่อศาลที่ผู้ประกันอยู่ในเขตในขณะนั้นโดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 10 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ แต่การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลที่ผู้ประกันอยู่ในเขตขณะเกิดเหตุ เมื่อเวลา 13.40นาฬิกา ซึ่งล่วงเลยเวลานัดไปแล้ว โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าการเดินทางต่อไปยังศาลชั้นต้นคดีนี้ต้องใช้เวลามากกว่าหรือยากลำบากกว่าเพียงใด ผู้ประกันจึงไม่อาจนำจำเลยไปแสดงตัวต่อศาลชั้นต้นคดีนี้ได้ ทั้งยังปรากฏต่อมาว่าเมื่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีเลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันอื่น ผู้ประกันก็ส่งตัวจำเลยตามสัญญาประกันไม่ได้ แม้ภายหลังจากที่ศาลสั่งปรับผู้ประกันฐานผิดสัญญาประกันแล้ว ผู้ประกันก็มิได้นำส่งตัวจำเลยต่อศาลเพื่อขอลดค่าปรับหรือบรรเทาผลร้ายอีก เช่นนี้เชื่อได้ว่าจำเลยหลบหนีไม่มาศาลชั้นต้นตามกำหนดนัดตั้งแต่วันที่อ้างว่ามีอุบัติเหตุแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นพาหนะในการช่วยเหลือการกระทำความผิด ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
จำเลยที่ 2 เพียงแต่ ใช้ รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นพาหนะไปส่งจำเลยที่ 1 เพื่อลักทรัพย์ของผู้เสียหายเท่านั้น หาได้ ใช้พาหนะดังกล่าวในการลักทรัพย์โดยตรงไม่ รถจักรยานยนต์ของกลางนั้นจึงถือ ว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ ในการกระทำผิดอันจะพึงริบยังไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล เนื่องจากคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมาย
กรณีผิดสัญญาประกันต่อ ศาล เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอย่างใดแล้ว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4 ผู้ประกันยื่นฎีกาเมื่อเวลาที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับแล้ว ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีสุรากลั่น-แช่เป็นกรรมเดียว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาแม้มิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ความผิดในข้อหามีสุรากลั่นมีสุราแช่เป็นความผิดกรรมเดียวศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยมาสองกรรมเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากวิ่งราวทรัพย์เป็นยักยอกทรัพย์ ศาลสามารถลงโทษได้หากไม่ต่างกันในสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาวิ่งราวทรัพย์แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐาน ยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ก็ตามแต่ การวิ่งราวทรัพย์หรือยักยอก ก็คือการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาทุจริตเช่นเดียวกัน คงแตกต่าง กันแต่ เพียงเอาทรัพย์ไปโดยวิธีการฉกฉวย เอาซึ่งหน้า หรือด้วยวิธีครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน จึงเป็นการแตกต่างกันมิใช่ในข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยให้การต่อสู้คดีอ้างฐาน ที่อยู่จำเลยจึงมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากวิ่งราวทรัพย์เป็นยักยอกทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจลงโทษได้หากไม่ถึงขั้นข้อสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาวิ่งราวทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐาน ยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ก็ตามแต่ การวิ่งราวทรัพย์หรือยักยอก ก็คือการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาทุจริตเช่นเดียวกัน คงแตกต่าง กันแต่ เพียงเอาทรัพย์ไปโดยวิธีการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า หรือด้วยวิธีครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน จึงเป็นการแตกต่างกันมิใช่ในข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยให้การต่อสู้คดีอ้างฐานที่อยู่จำเลยจึงมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากวิ่งราวทรัพย์เป็นยักยอกทรัพย์: ข้อสาระสำคัญและขอบเขตการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐาน วิ่งราว ทรัพย์ แต่ ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐาน ยักยอกทรัพย์ ข้อสำคัญในความผิดฐาน วิ่งราว ทรัพย์กับยักยอกทรัพย์ก็คือการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดย เจตนาทุจริตเช่นเดียว กัน ต่างกันแต่ เพียงวิธีการเอาไปคือด้วย วิธีฉกฉวย เอาซึ่งหน้ากับด้วย วิธีครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน จึงมิใช่แตกต่าง กันในข้อสาระสำคัญอันจะลงโทษจำเลยมิได้.