คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ เนติโพธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับฟ้องก่อนการชำระค่าขึ้นศาลเป็นเหตุให้คำสั่งและกระบวนการพิจารณาต่อมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในคดีที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในเวลายื่นคำฟ้องนั้น หากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์และกำหนดระยะเวลาให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้อีกฝ่ายไม่ได้ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้เสียค่าขึ้นศาล และศาลยังมิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาล คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับฟ้องโจทก์ตลอดจนกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นจนถึงคำสั่งจำหน่ายคดีย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (2)(ก)กำหนดให้เรียกค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการประเมินภาษีอากรและการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่ ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลาง ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ของทายาทต่อเจ้าหนี้ แม้ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเดิม ศาลพิพากษายืนตามสัญญา
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยทั้งสองทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ โดยยอมรับว่า ล. เป็นหนี้โจทก์จำนวน 300,000 บาทยังมิได้ชำระและจำเลยทั้งสองยอมชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า คำให้การของจำเลยทั้งสองชอบด้วยกฎหมาย ข้อคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบฟังไม่ขึ้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาว่า ล. เป็นหนี้โจทก์หรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยมา จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่เป็นสาระแก่คดีอันจะทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะ: ศาลฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ แม้มีคดีอาญาเกี่ยวเนื่อง
เมื่อคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสของจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ตามที่ปรากฏในสำนวนคดีแพ่งได้
เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ยังอยู่กินฉันสามีภรรยากับนาย บ. ส่วนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของบุคคลทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันไปขอจดทะเบียนสมรสโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่ามีเจตนาจะสมรสกันและต่างไม่เคยมีคู่สมรสมาก่อนจึงผิดไปจากเจตนาที่แท้จริง และไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันอันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะจากเจตนาไม่ตรงกันและมีคู่สมรสแล้ว แม้ไม่มีคดีอาญาเกี่ยวเนื่อง
เมื่อคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสของจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ตามที่ปรากฏในสำนวนคดีแพ่งได้ เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ยังอยู่กินฉันสามีภรรยากับนายบ.ส่วนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของบุคคลทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันไปขอจดทะเบียนสมรสโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่ามีเจตนาจะสมรสกันและต่างไม่เคยมีคู่สมรสมาก่อนจึงผิดไปจากเจตนาที่แท้จริง และไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันอันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กโดยเด็กยินยอม และความผิดฐานพรากเด็ก ศาลลดโทษสถานเบา
ความผิดฐานพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครอง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามมีกำหนด 5 ปีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาในความผิดฐานนี้นั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกนั้น ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 14 ปีเศษ น่าจะมีความรู้ทางเรื่องเพศได้พอสมควร ทั้งก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายรักใคร่ชอบพออยู่กับจำเลยมาก่อน ที่ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้าไปกระทำชำเราภายในบ้านและสถานที่อื่นก็ด้วยความสมัครใจและยินยอมของผู้เสียหาย ความผิดของจำเลยจึงไม่ร้ายแรงนักสมควรที่จะลงโทษจำเลยในสถานเบาโดยให้จำคุกในอัตราขั้นต่ำของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศ: การเสียภาษีและข้อยกเว้นตามกฎหมายปิโตรเลียม
การที่สถาบันการเงินในต่างประเทศให้บริษัทโจทก์ในต่างประเทศกู้ยืมเงิน เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเพื่อหารายได้ในประเทศไทยนั้น เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทย ย่อมต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา70(2) โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทย ผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในต่างประเทศชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในต่างประเทศ เพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใด ก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืม บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร หรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ นั้น จะต้องเป็นบริษัทตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสถาบันการเงินในต่างประเทศที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงิน มิใช่เป็นบริษัทตามคำจำกัดความดังกล่าว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามประเทศ: เจตนารมณ์กฎหมายและการยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทปิโตรเลียม
ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2) มีเจตนารมณ์มุ่งเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะเป็นเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยในกรณีของโจทก์คดีนี้ บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นได้กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นเพื่อส่งมาใช้จ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะ และเมื่อโจทก์สาขาในประเทศไทยประกอบกิจการมีรายได้แล้วก็จัดส่งไปให้บริษัทโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้น จึงเห็นได้ว่าเงินที่สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นให้กู้ยืมมานั้นก็เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ในประเทศไทย เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเป็นผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้นโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นเพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใดก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนั่นเอง
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำลายทรัพย์สิน: การวางยาเบื่อเป็ดของผู้เสียหายถือเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
การที่จำเลยนำข้าวผสมกับสารเคมีกำจัดแมลงไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าเป็ดของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 358.
of 41