พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในอนาคตและค่าทนาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก หมายความว่าฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลจึงจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาได้ โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหาอันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีแพ่ง: ต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก หมายความว่าฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลจึงจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาได้
โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา อันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน
โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา อันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากหน้าที่สัญญาจ้างแรงงาน, การนั่งพิจารณาคดีของศาลแรงงาน, ความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคท้ายอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างร่วมเป็นองค์คณะในการนั่งพิจารณา อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายมิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน จำเลยจะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาของศาลแรงงานกลางไม่ชอบหาได้ไม่ คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะศาลแรงงาน, อายุความสัญญาจ้าง, การฟ้องแย้ง, สิทธิในการนำสืบ, ความรับผิดจากละเลยหน้าที่
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 และมาตรา 31แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่ ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3ตุลาคม 2532 ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลยจำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้งแต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81 บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาทนับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงาน: การพิจารณาคดีไม่ชอบ, อายุความสัญญาจ้าง, คำให้การแก้ฟ้องแย้ง
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่
ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2532ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลย จำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้ง แต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาท นับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2
ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่
ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2532ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลย จำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้ง แต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาท นับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหนังสือตักเตือน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)ในกรณีที่มิใช่เป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนของนายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนของนายจ้างนายจ้างจึงได้เลิกจ้างตามคำตักเตือนนั้น หนังสือตักเตือนโจทก์ทั้งสี่ของจำเลยมีข้อความว่า เมื่อมีการตักเตือน 3 ครั้งแล้วจะถูกพักงานทันที แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าก่อนที่โจทก์ทั้งสี่กระทำผิดครั้งนี้ จำเลยเคยตักเตือนโจทก์ที่ 1มาแล้วเพียง 2 ครั้ง และตักเตือนโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 เพียงคนละ1 ครั้ง ในเหตุเดียวกัน ดังนั้นการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่กระทำผิดซ้ำคำเตือนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือตักเตือนอันจะทำให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีสมรสตามกฎหมายอิสลามและประมวลกฎหมายแพ่ง โดยพินัยกรรมผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์ 1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ฯ พ.ศ.2489มาตรา 3, 4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ฯ พ.ศ.2489มาตรา 3, 4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสตามกฎหมายอิสลามและลักษณะผัวเมีย การแบ่งมรดกและผลของพินัยกรรม
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯพ.ศ. 2489 มาตรา 3,4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากยุบหน่วยงานเพื่อปรับปรุงการผลิต ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดถึงการพ้นสภาพของพนักงานว่าเนื่องจากเหตุผลของบริษัทหรือเหตุผลอื่นดังต่อไปนี้ ปิดหรือยุบหน่วยงานในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานหรือบางส่วนของหน่วยงาน ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็นกรณีที่ปิดหรือยุบหน่วยงานเพราะจำเลยประกอบกิจการค้าขาดทุนเท่านั้น หากจำเลยมีความจำเป็นจะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานด้วยเหตุผลอื่นที่สมควรก็ย่อมทำได้ การที่จำเลยมีความจำเป็นต้องยุบหน่วยงานกองโรงพิมพ์ที่โจทก์ทำงานอยู่เนื่องจากจำเลยได้ขยายการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นเหตุให้กองโรงพิมพ์ไม่สามารถผลิตของบรรจุสินค้าได้ทันความต้องการ จำต้องแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเครื่องจักรและหาเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการผลิตของโดยชักชวนบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีความชำนาญงานด้านนี้มาร่วมก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้น ย่อมเป็นผลให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ต้องพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ยอมโอนไปเป็นลูกจ้างในบริษัทใหม่จึงมีเหตุอันสมควรและชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การให้ความยินยอมของคู่สมรสไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
สามีผู้ตายได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ตายให้ความยินยอมและลงชื่อท้ายบันทึกทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมว่าเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม สามีผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม แม้บันทึกดังกล่าวจะมีข้อความว่าผู้ตายได้รับเป็นมารดาผู้ร้องด้วย ก็ไม่เป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เมื่อผู้ตายมิได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมของผู้ตาย.