พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การยินยอมของภริยาไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
นาย ป.สามีแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม นาง ส.ภรรยาของนาย ป.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด บันทึกต่อท้ายทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเพียงหลักฐานที่นายทะเบียนได้ทำขึ้นเพื่อแสดงว่า นาง ส.ได้ยินยอมให้นาย ป.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น แม้บันทึกดังกล่าวมีข้อความว่า นาง ส.ได้รับเป็นมารดาของผู้ร้องด้วย ก็ไม่มีผลเป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เพราะการรับบุตรบุญธรรมจะมีผลตามกฎหมายเมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อนาง ส.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของนาง ส. และไม่ใช่ทายาทของนาง ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างและการปรับอัตราเงินเดือน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยไม่เคยประกาศใช้ข้อบังคับตามเอกสารหมาย จ.3 ที่กำหนดอัตราเงินเดือนไว้ 21 ขั้น และจำเลยได้ปรับอัตราเงินเดือนให้แก่โจทก์เกินอัตราขั้นสูง อันเป็นคุณแก่โจทก์มากแล้ว ซึ่งเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ชอบ แต่อุทธรณ์ของโจทก์สรุปได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ชอบ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานลูกจ้างโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการลงโทษ จึงสามารถขออนุญาตศาลลงโทษภายหลังได้
การที่ผู้ร้องสั่งพักงานผู้คัดค้านโดยจ่ายค่าจ้าง เป็นการสั่งให้ผู้คัดค้านหยุดทำงานชั่วคราวเพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขออนุญาตลงโทษผู้คัดค้านต่อศาลแรงงานกลางเสียก่อน ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษจึงมิใช่กรณีผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านก่อนมาขออนุญาตศาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมูลนิธิผิดพลาดและการถอดถอนประธานกรรมการ กรณีไม่เรียกประชุมและละเลยหน้าที่ตามตราสาร
ผู้คัดค้านเป็นประธานกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการย้ายทรัพย์สินและที่ทำการของมูลนิธิคณะกรรมการมูลนิธิจำนวน 4 คน ได้มีหนังสือขอให้ผู้คัดค้านเรียกประชุมวิสามัญ แต่ผู้คัดค้านไม่ยอมเรียกประชุมและเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิมีหนังสือถึงนายทะเบียนมูลนิธิขอให้แจ้งผู้คัดค้านเรียกประชุมผู้คัดค้านก็ตอบ ปฏิเสธ เมื่อกรรมการและเหรัญญิกของมูลนิธิถึงแก่กรรม ผู้คัดค้านก็ไม่เรียกประชุมกรรมการเพื่อแต่งตั้งเหรัญญิกคนใหม่ ทำให้การเบิกจ่ายเงินของมูลนิธิไม่สามารถทำได้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องเรียกประชุมสามัญประจำปีผู้คัดค้านก็ไม่เรียกประชุมตามตราสารของมูลนิธิ ทำให้เกิดข้อขัดข้องในการบริหารงานของมูลนิธิ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการปฏิเสธการเรียกประชุมโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นการจัดการผิดพลาด และเป็นการฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสารก่อตั้งมูลนิธิ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ถอด ถอนผู้คัดค้านออกจากตำแหน่งได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 91.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการร้องขอถอดถอนผู้จัดการมูลนิธิ กรณีจัดการผิดพลาดฝ่าฝืนตราสาร
แม้พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอถอน พ. ออกจากการเป็นประธานกรรมการ และผู้จัดการมูลนิธิโดยมิได้แนบคำร้องของกรรมการมูลนิธิที่มีไปถึงพนักงานอัยการอันเป็นเหตุให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแต่คำร้องดังกล่าวมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 เพราะพนักงานอัยการมีอำนาจร้องขอต่อศาลได้โดยลำพังอยู่แล้ว ส่วนปัญหาว่าคำร้องของกรรมการมูลนิธิดังกล่าวจะเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นหรือเป็นเท็จหรือไม่ ก็เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา เมื่อตามคำร้องบรรยายถึงเหตุต่าง ๆ ที่ผู้คัดค้านในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิและเป็นผู้จัดการได้จัดการมูลนิธิผิดพลาดทำให้มูลนิธิเสื่อมเสียและฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสาร โดยได้แนบสำเนาตราสารก่อตั้งมูลนิธิมาท้ายคำร้องด้วยแล้ว กับได้ขอให้ถอดถอนผู้คัดค้านออกจากตำแหน่งประธานกรรมการและขอให้แต่งตั้งผู้อื่นเป็นแทนดังนี้ สภาพแห่งคำร้องและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งคำร้องตลอดจนคำขอบังคับแจ้งชัดดีแล้ว ไม่เป็นคำร้องที่เคลือบคลุม พ. เป็นประธานกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิไม่ยอมเรียกประชุมวิสามัญตามที่คณะกรรมการร้องขอ ทั้งที่มีเหตุต้องเลือกตั้งกรรมการอื่นทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกแทนคนเดิมซึ่งถึงแก่กรรม กับมิได้เรียกประชุมสามัญประจำปีโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นการจัดการผิดพลาดและฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสารก่อตั้งมูลนิธิ พนักงานอัยการมีสิทธิร้องขอให้ถอดถอน พ. ออกจากตำแหน่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 91.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าโดยปริยายและการคืนค่าเช่าเมื่อมีการแบ่งขายที่ดิน
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์เพื่อทำไร่จำนวน 430 ไร่ และได้ชำระค่าเช่าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ได้นำที่ดินดังกล่าวส่วนหนึ่งจำนวน24 ไร่เศษ ไปขายแก่ น. ซึ่ง น. ไม่ยินยอมให้จำเลยเข้าทำไร่ในที่ดินส่วนดังกล่าว จำเลยได้ขอบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินทั้งหมดรวมทั้งขอให้โจทก์คืนค่าเช่า แต่โจทก์ต่อรองขอคืนค่าเช่าเฉพาะส่วนที่ดินที่นำไปขายแก่ น. จึงตกลงเกี่ยวกับการคืนเงินค่าเช่าไม่ได้ หลังจากนั้นจำเลยไม่เคยเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินที่เช่าอีก นอกจากนี้โจทก์ยังได้นำที่ดินที่ให้จำเลยเช่าดังกล่าวนอกจากส่วนที่ขายให้แก่ น. แล้ว ให้บุคคลอื่นอีกหลายรายเช่าทำประโยชน์ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงเลิกสัญญาเช่าโดยปริยายแล้ว เป็นผลให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์ต้องคืนค่าเช่างวดที่จำเลยยังมิได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าให้แก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การประเมินผลงานที่ไม่เชื่อมโยงกับความผิดตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เว้นแต่ลูกจ้างกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123(1) ถึง (5)โจทก์เลิกจ้างจำเลยเพราะหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน โดยนำเอาสาเหตุการลาป่วย ลากิจ และการมาทำงานสายของจำเลยมาเป็น เกณฑ์ในการประเมิน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำอย่างใดอย่าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123(1) ถึง (5) แม้ตามข้อบังคับของโจทก์กำหนดให้โจทก์มีอำนาจนำเอาผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย เลิกจ้าง และการพิจารณาปรับปรุงค่าจ้างหรือเงินเดือนด้วย โจทก์อาจจะ โยกย้ายหรือไม่ปรับปรุงค่าจ้างหรือเงินเดือนให้จำเลยได้ แต่โจทก์ก็ไม่อาจเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 การเลิกจ้างของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินบำเหน็จของลูกจ้างที่ลาออกจากการถูกลงโทษทางวินัย ต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิด
ข้อบังคับคณะกรรมการการบริหารกิจการของอุตสาหกรรมห้องเย็น ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฎิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2519 ที่แก้ไขแล้ว ข้อ 9(5) กำหนดเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จกรณี ลาออกจากงานไว้ว่า การลาออกของลูกจ้างจะต้องไม่มีความผิดใด ๆโดยไม่ได้กำหนดให้แน่ชัดว่าจะต้องเป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องถูกลงโทษให้ออกจากงานหรือไม่ แต่ตามข้อ 12 ลูกจ้างที่ถูกลงโทษหรือถึงแก่ความตายไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จะต้องกระทำความผิดร้ายแรงถึงขนาดถูกลงโทษให้ออกจากงานหรือในกรณีถึงแก่ความตายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่ไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานประมาท หรือกระทำผิดวินัยร้ายแรงซึ่งถ้าไม่ถึงแก่ความตายเสียก่อนก็จะต้องถูกลงโทษถึงออกจากงานตามข้อบังคับ ดังนั้น ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกเพราะกระทำความผิด แม้ข้อบังคับ ข้อ 9(5) ไม่ได้ระบุไว้ว่าต้องเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อบังคับ ข้อ 12 ดังกล่าว แล้วย่อมแปลความไว้ว่า การที่ลูกจ้างลาออกจากงานเพราะกระทำความผิดและจะไม่มีสิทธิได้รับ เงินบำเหน็จนั้น จะต้องเป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่ว่าถ้าลูกจ้างไม่ลาออกเสียก่อนก็จะต้องถูกลงโทษถึงออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลย มิฉะนั้น ลูกจ้างของจำเลยที่กระทำ ความผิดเล็กน้อยลาออกจากงานก็จะไม่ได้รับบำเหน็จ จะต้อง ทำงานอยู่ตลอดไปจนเกษียณอายุจึงจะได้รับเงินบำเหน็จซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝึกอบรมต่างประเทศและการเลิกจ้างที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ หากบริษัทเลิกจ้างไม่ถูกต้อง ผู้รับทุนไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ
สัญญารับทุนไปฝึกอบรมต่างประเทศ มีข้อกำหนดไว้ว่าถ้าผู้รับทุนไม่ทำงานให้แก่บริษัทครบตามระยะเวลาทำงานขั้นต่ำหรือผู้รับทุนถูกบริษัทเลิกจ้างก่อนสิ้นสุดระยะเวลาทำงานขั้นต่ำ ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ เว้นแต่กรณีบริษัทเลิกจ้างโดยฝ่าฝืนระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท ผู้รับทุนต้องใช้เงินเบี้ยปรับแก่บริษัทนั้นข้อความที่ระบุว่า "เว้นแต่กรณีบริษัทเลิกจ้างโดยฝ่าฝืน ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท" มีความหมายว่า บริษัทเลิกจ้างผู้รับทุนโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท เมื่อระเบียบข้อบังคับในการทำงานของโจทก์ระบุเกี่ยวกับการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ว่าละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ดังนี้ การที่จำเลยผู้รับทุนละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 16 พฤษภาคม 2533 เป็นเวลา 13 วันติดต่อกันโจทก์จึงเลิกจ้างจำเลยโดยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฉะนั้นจำเลยต้องชดใช้เงินเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สามารถบังคับให้ถอนฟ้องได้ เพราะการถอนฟ้องเป็นอำนาจตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ
จำเลยเคยฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งและคดีอาญา โจทก์จำเลยตกลงถอนฟ้องคดีดังกล่าวภายใน 7 วัน เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ยอมถอนฟ้องก็เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความไม่ใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์ไม่อาจนำข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องบังคับได้.