พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สามารถบังคับให้ถอนฟ้องได้ การถอนฟ้องเป็นอำนาจตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ
การถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาฟ้องร้องบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวและผลบังคับใช้ แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากจำเลยผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยให้โจทก์ประกันตัว ส.ซึ่งถูกดำเนินคดีอาญาต่อศาล โดยจำเลยมีหน้าที่นำส่งตัว ส.ต่อศาลตามนัด หากผิดสัญญาไม่นำตัว ส.ส่งศาลจำเลยยินยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เพราะสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องบังคับจำเลยมิได้ปิดอากรแสตมป์นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ สัญญาที่จำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะนำตัว ส.ซึ่งโจทก์เป็นผู้ประกันตัวมาพบเจ้าพนักงานตามกำหนดนัดทุกครั้ง ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะต้องกระทำการตามสัญญาดังกล่าว จึงไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ เมื่อจำเลยผิดสัญญาจนศาลสั่งปรับโจทก์และมีการบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์แล้วแม้จะยังไม่มีการนำทรัพย์ที่ยึดออกขายทอดตลาด โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องใช้สิทธิทางศาลโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนประกันวินาศภัย: 2 ปีนับแต่วันเกิดเหตุ
ความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัย ซึ่งมีลักษณะเป็นการประกันวินาศภัย ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ลักษณะ 20หมวด 2 นั้น การฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต้องถืออายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างหลังถูกอายัดเงิน: สิทธิของผู้ว่าจ้างในการเลิกสัญญาเพื่อป้องกันความเสียหายจากการก่อสร้างที่อาจล่าช้า
การที่ผู้คัดค้านกับจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกันภายหลัง จากที่ผู้คัดค้านได้รับหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว หาเป็นการเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะเมื่อจำเลยถูกบังคับคดีอายัดเงินค่าเงินก็ไม่มีเงินที่จะสามารถทำงานก่อสร้างในงวดต่อไปได้ตามสัญญาอาจทำให้การก่อสร้างบ้านผู้คัดค้านล่าช้าหรือไม่เสร็จดังนั้น การที่ผู้คัดค้านเลิกสัญญาจ้างกับจำเลยเพื่อไม่ให้ผู้คัดค้านต้องเสียหาย จึงเป็นสิทธิที่ผู้คัดค้านจะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย-การงดสืบพยาน และผลของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอากรแสตมป์ในคดีขับไล่
เหตุสุดวิสัยหมายถึงเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นหรือให้ผลพิบัติโดยไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้ทั้งผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลนั้นในฐานะเช่นนั้น การที่ทนายจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเพราะทนายจำเลยจงใจกระทำผิดกฎหมายโดยขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย คดีฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิมและเจ้าของเดิมขายให้โจทก์แล้ว เป็นการฟ้องโดยอาศัยความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่า มิใช่กรณีที่จะต้องใช้สัญญาเช่าเป็นพยานหลักฐานในคดี การที่สัญญาเช่าจะปิดอากรแสตมป์โดยไม่ชอบทำให้รับฟังไม่ได้หรือไม่จึงไม่ใช่สาระสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีอย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมหลังทนายจำเลยมาสาย และการฟ้องขับไล่โดยอ้างกรรมสิทธิ์
การที่ทนายจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเพราะจงใจกระทำผิดกฎหมายโดยขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย และการที่ทนายจำเลยไปถึงศาลชั้นต้นช้า กว่าเวลานัดถึง40 นาที แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ศาลชั้นต้นยังอ่านรายงานกระบวนพิจารณาไม่จบก็ตาม ก็ไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิม และเจ้าของเดิม ขายให้โจทก์แล้ว เป็นการฟ้องโดยอาศัยความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท มิใช่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่า อันจะต้องใช้สัญญาเช่าเป็นพยานหลักฐานในคดี ฉะนั้นปัญหาที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ปิดอากรแสตมป์เสียเอง โดยไม่ส่งไปให้เจ้าหน้าที่สรรพากรปรับ จึงไม่ใช่ปัญหาสำคัญ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และประเด็นการหลบหนีไม่ช่วยเหลือ
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับบาดเจ็บ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมายังที่เกิดเหตุทราบว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุ และมีผู้อื่นนำส่งผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แม้ต่อมาจำเลยหลบหนีไปก็จะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือตามสมควรแก่ผู้ตายและผู้บาดเจ็บกับไม่ได้แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของผู้ขับรถประมาท การหลบหนี และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับบาดเจ็บ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมายังที่เกิดเหตุทราบว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุ และมีผู้อื่นนำส่งผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แม้ต่อมาจำเลยหลบหนีไป รูปคดีก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือตามสมควรแก่ผู้ตายและผู้บาดเจ็บ ทั้งไม่ได้แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างที่สหภาพแรงงานทำโดยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว ย่อมมีผลผูกพันและมีผลบังคับใช้ได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้าง กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของนายจ้าง ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม เรื่องเงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดเงินโบนัสและสวัสดิการของโจทก์และลูกจ้างอื่นที่เป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 การทำข้อตกลงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกิจการอันกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของสมาชิกเป็นส่วนรวม จะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสหภาพแรงงาน ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 103(2)จำเลยที่ 1 แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 2 วันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 2ได้แจ้งข้อเรียกร้องสวนทางต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ตั้งผู้แทนลูกจ้างรวม 7 คน ในการเจรจาตามข้อเรียกร้องของจำเลยที่ 1และเมื่อจำเลยที่ 2 แจ้งข้อเรียกร้องสวนทาง จำเลยที่ 2 ก็แต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างชุดเดิม เป็นผู้แทนในการเจรจาเช่นเดียวกันโดยได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาของจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจบริบูรณ์ในการเจรจาและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่อีก และมติที่ประชุมใหญ่ของจำเลยที่ 2 ที่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 แจ้งข้อเรียกร้อง ย่อมมีผลเป็นการอนุมัติให้จำเลยที่ 2 รับข้อเรียกร้องและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องนั้นด้วย และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้นำข้อเรียกร้องของทั้งสองฝ่ายมารวมเจรจาเข้าด้วยกัน แล้วเจรจาตกลงโดยทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อตกลงดังกล่าวจึงได้กระทำขึ้นตามข้อเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่ด้วย ถือว่าผู้แทนของจำเลยที่ 2 กระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงาน: มติที่ประชุมใหญ่ให้สิทธิเจรจาและทำข้อตกลงสภาพการจ้างโดยไม่ต้องอนุมัติซ้ำ
เมื่อข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานและรายชื่อผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาได้กระทำขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกของสหภาพแรงงานแล้ว ผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาดังกล่าวย่อมมีอำนาจบริบูรณ์ในการเจรจาและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับนายจ้างได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นอีกมติของที่ประชุมใหญ่เช่นนี้ย่อมมีผลเป็นการอนุมัติให้สหภาพแรงงานรับข้อเรียกร้องและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องนั้นได้ด้วย ดังนั้น เมื่อต่อมาผู้แทนลูกจ้างได้เจรจาตกลงกับนายจ้าง และมีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันขึ้น กรณีย่อมถือได้ว่าผู้แทนลูกจ้างได้กระทำภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นแล้ว หาจำเป็นจะต้องได้รับอนุมัติเป็นการเฉพาะอีกไม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 103(2)