พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างที่สหภาพแรงงานทำโดยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว ย่อมมีผลผูกพันและมีผลบังคับใช้ได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้าง กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของนายจ้าง ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม เรื่องเงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดเงินโบนัสและสวัสดิการของโจทก์และลูกจ้างอื่นที่เป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 การทำข้อตกลงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกิจการอันกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของสมาชิกเป็นส่วนรวม จะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสหภาพแรงงาน ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 103(2)จำเลยที่ 1 แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 2 วันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 2ได้แจ้งข้อเรียกร้องสวนทางต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ตั้งผู้แทนลูกจ้างรวม 7 คน ในการเจรจาตามข้อเรียกร้องของจำเลยที่ 1และเมื่อจำเลยที่ 2 แจ้งข้อเรียกร้องสวนทาง จำเลยที่ 2 ก็แต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างชุดเดิม เป็นผู้แทนในการเจรจาเช่นเดียวกันโดยได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาของจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจบริบูรณ์ในการเจรจาและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่อีก และมติที่ประชุมใหญ่ของจำเลยที่ 2 ที่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 แจ้งข้อเรียกร้อง ย่อมมีผลเป็นการอนุมัติให้จำเลยที่ 2 รับข้อเรียกร้องและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องนั้นด้วย และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้นำข้อเรียกร้องของทั้งสองฝ่ายมารวมเจรจาเข้าด้วยกัน แล้วเจรจาตกลงโดยทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างข้อตกลงดังกล่าวจึงได้กระทำขึ้นตามข้อเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่ด้วย ถือว่าผู้แทนของจำเลยที่ 2 กระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกคำสั่งรื้อถอนอาคารเป็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (นายกเทศมนตรี) ไม่ใช่เทศบาล (นิติบุคคล)
นายกเทศมนตรีเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นคนละบุคคลกันกับเทศบาลซึ่งเป็นนิติบุคคล การที่ปลัดเทศบาลในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนายกเทศมนตรีจำเลย ให้โจทก์รื้อถอนอาคาร จึงเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมิใช่ของจำเลยแม้คำสั่งจะประทับตราของจำเลยและออกจากสำนักงานของจำเลย ก็หาทำให้คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งของจำเลยไม่ ดังนี้ จำเลยจึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินทุนเลี้ยงชีพ: การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพตามระเบียบธนาคารออมสินไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานนั้นเป็นไปตามระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินข้อ 3(3)ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่าย จำเลยย่อมผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยการเลิกจ้าง: เงินทุนเลี้ยงชีพไม่ถือเป็นค่าชดเชย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสามนั้น เป็นไปตามระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 3(3)ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณไว้ตามข้อ 12 ของระเบียบฉบับเดียวกันว่า ผู้มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หารด้วยห้าสิบ หากมีเวลาทำงานไม่ถึงยี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หารด้วยห้าสิบ หลักเกณฑ์และการคิดคำนวณดังกล่าวแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายจำเลยย่อมผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต แม้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อรักษาผลประโยชน์ตนเอง ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ทั้งสามในคดีนี้ แต่จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น และขอวิธีการชั่วคราวนั้นเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามปกติส่วนจำเลยที่ 1 ขอให้งดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน โดยอ้างหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคแรกถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามปกติ ยังไม่มีเหตุที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 จงใจประวิงการบังคับคดีให้ล่าช้า และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องใหม่กับคดีเดิมเป็นคดีที่สืบเนื่องกันมิใช่เป็นการฟ้องคดีเรื่องอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคแรก ไม่เป็นการขอให้งดการบังคับคดีได้ และมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 นำเงินที่จะต้องชำระแก่โจทก์ในคดีนี้ไปวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อโจทก์ทั้งสามขอรับเงินที่วางจำเลยที่ 1 แถลงคัดค้านมิให้จ่ายโดยอ้างว่าหากจ่ายไปจำเลยที่ 1 ชนะคดีจะทำให้ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้นั้นก็ไม่มีความสำคัญในทางคดี กรณีเพียงจำเลยที่ 1 พยายามดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางรักษาผลประโยชน์ตนอย่างจริงจัง แต่ไม่ถึงขั้นที่จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยมิได้รับความยินยอม และการครอบครองปรปักษ์ที่ไม่สมบูรณ์
ม. กรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดได้ทำรายงานการประชุมโดยไม่มีการประชุมว่า เจ้าของหุ้นโอนหุ้นให้แก่ ม. และได้โอนหุ้น เป็นชื่อ ม. แล้ว และได้ส่งรายงานการประชุมไปเก็บไว้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด โดยไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดทราบถึงเรื่องราวในรายงานการประชุมดังกล่าว ดังนี้การที่ ม. ได้ครอบครองหุ้นดังกล่าวไว้จึงเป็นการกระทำโดยปิดบังซ่อนเร้น ไม่เปิดเผย ไม่ครบเกณฑ์ที่จะทำให้ ม. ได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 คำแก้ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา ทำให้ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งในวันที่ยื่นฎีกา เมื่อตอนท้ายฎีกาเหนือลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ยื่นฎีกามีข้อความที่แสดงว่าผู้ยื่นฎีการอฟังคำสั่งอยู่ ถ้า ไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ทั้งในวันรุ่งขึ้นทนายจำเลยก็ได้มายื่นคำร้องขอส่งสำเนาฎีกาให้ทนายโจทก์แทนการส่งให้แก่ตัวโจทก์อีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ จนล่วงเลยเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้น พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้น แล้วจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฎีกา ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีจำเลยจากสารบบความของศาลฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุฟ้องขับไล่ได้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองก่อนหน้า
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเอง คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 บุกรุกที่ดินตาม น.ส.3 ของโจทก์และได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในชั้นพนักงานสอบสวนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังเวลา 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ทั้งนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงยอมความไว้กับโจทก์แล้วไม่ปฏิบัติตามยอมโดยไม่ยอมออกไปจากที่ดินของโจทก์ขอให้ขับไล่ออกไป ดังนี้ ประเด็นตามฟ้องในคดีหลังจึงมีว่าข้อตกลงยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ จึงเห็นได้ว่าประเด็นที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเป็นเหตุยกฟ้องในคดีก่อนกับที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นประเด็นให้วินิจฉัยในคดีหลังนี้แตกต่างกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นการขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการขอบังคับผู้อาศัยให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 เข้ามาอาศัยอยู่ ฟ้องของโจทก์ทั้งที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงมิใช่กรณีถูกแย่งการครอบครองแล้วฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง ที่บังคับให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่หลังสัญญาประนีประนอมยอมความ & การครอบครองปรปักษ์: ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
จำเลยทั้งสองเคยถูกพนักงานอัยการฟ้องข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาทของโจทก์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงยอมความกันให้จำเลยที่ 1 อยู่ในที่ดินต่อไปจนกว่าจะเก็บพืชผลเสร็จ และผู้ดูแลที่พิพาทของโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อาศัยอยู่ได้ การที่จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินต่อมาจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่พิพาทอีก ศาลพิพากษายกฟ้องว่าโจทก์ฟ้องภายหลัง 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง โดยมิได้วินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้โดยอ้างข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ประเด็นที่ศาลยกฟ้องในคดีที่สองกับประเด็นคดีนี้แตกต่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ออกไปจากที่พิพาทโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและให้จำเลยที่ 2 ออกไปจากที่พิพาทที่จำเลยที่ 2 อาศัยอยู่ตามที่ศาลฎีกาได้ฟังข้อเท็จจริงไว้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีถูกแย่งการครอบครองแล้วฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง ไม่อยู่ในบังคับให้ฟ้องภายใน 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งโทษจำคุกที่ศาลอุทธรณ์แก้ไข ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยมิได้แก้บทกฎหมายที่จำเลยกระทำความผิด เป็นการแก้ไขเล็กน้อยที่โจทก์ฎีกาว่าควรลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 11.