พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โทษและการโต้เถียงดุลพินิจศาล: ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลย มิได้แก้บทกฎหมายที่จำเลยกระทำความผิด เป็นการแก้ไขเล็กน้อย โจทก์ฎีกาว่าควรลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการลงโทษจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การรวมค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง และการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยตกลงให้คงสภาพการจ้างเดิม ไว้ทั้งหมด ซึ่งสภาพการจ้างเดิมจำเลยมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 5 บาทการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 5 บาทเป็นการกล่าวอ้างสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม ที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอาข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม ขึ้นวินิจฉัยจึงตรงประเด็นข้อพิพาท มิใช่นอกประเด็น โจทก์และจำเลยได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กำหนดให้นำค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างมารวมเป็นค่าจ้างปกติด้วยค่าครองชีพจึงไม่ได้แยกต่างหากจากค่าจ้าง เมื่อนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างปกติที่จำเลยจ่ายให้โจทก์แล้ว มีจำนวนสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยจึงไม่ได้จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรือต่ำกว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ไม่ถือเป็นค่าจ้างต่ำกว่าขั้นต่ำ
โจทก์และลูกจ้างอื่นแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลย มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนคนละ 330 บาทต่อเดือน โดยให้ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือนปกติ และให้รวมเข้ากับค่าจ้างหรือเงินเดือนที่จะได้รับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2533เป็นต้นไป ค่าครองชีพจึงไม่ได้แยกต่างหากจากค่าจ้าง เมื่อค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายเดือนละ 330 บาท เท่ากับวันละ 13.75 บาทนำมารวมกับค่าจ้างปกติที่จำเลยจ่ายให้โจทก์วันละ 70 บาทแล้วจะเป็นค่าจ้างวันละ 83.75 บาท ในขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายในวันดังกล่าววันละ 74 บาท จำเลยจึงไม่ได้จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือต่ำกว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต และข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรม วางโทษประหารชีวิตทั้งสองกระทง คำรับของจำเลยชั้นจับกุมและสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุกตลอดชีวิตทั้งสองกระทง แต่เมื่อลงโทษกระทงแรกจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ไม่อาจรวมโทษจำคุกตลอดชีวิตกระทงหลังเข้าด้วยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเพียงกระทงเดียวดังนี้ ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง ฎีกาขอให้ลงโทษประหารชีวิตจำเลย เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คหลายฉบับเพื่อชำระหนี้ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินพร้อมกัน ก็ถือเป็นความผิดหลายกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
แม้เช็คพิพาททั้งหกฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์จะลงวันออกเช็ควันเดียวกัน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คทุกฉบับในวันเดียวกันก็ตาม การออกเช็คพิพาทดังกล่าวจำเลยอาจมีเงินจ่ายตามเช็คหรือมีเจตนาให้ใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แยกออกจากกันได้ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจถือเป็นการเลิกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ซึ่งมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจฯผู้ใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงานมิได้หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันที ดังนี้เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงาน มิได้หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันที ดังนี้เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลมีอำนาจพิจารณาค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้มีคำสั่งให้รับเข้าทำงาน
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ไม่มีงานทำและไม่มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวและมีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โดยถือเสมือนว่ามิได้มีการเลิกจ้าง คำขอของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโดยถืออัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายนั่นเอง
มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในทางพิจารณาว่าการเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ข้อความที่บัญญัติไว้ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า ในระหว่างการพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีกด้วย ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะหยิบยกเอาการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมขึ้นวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็นประเด็นมาโดยตรง ดังนั้นเมื่อศาลแรงงานใช้อำนาจตามมาตรา 49 ศาลแรงงานคงมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการขอให้ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก
มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในทางพิจารณาว่าการเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ข้อความที่บัญญัติไว้ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า ในระหว่างการพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีกด้วย ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะหยิบยกเอาการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมขึ้นวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็นประเด็นมาโดยตรง ดังนั้นเมื่อศาลแรงงานใช้อำนาจตามมาตรา 49 ศาลแรงงานคงมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการขอให้ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ไม่มีงานทำและไม่มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวและมีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โดยถือเสมือนว่ามิได้มีการเลิกจ้าง คำขอของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ในระหว่างที่ ถูกเลิกจ้างโดยถืออัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหาย นั่นเอง มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติ ที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ในทางพิจารณา ว่าการเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ข้อความที่บัญญัติไว้ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า ในระหว่างการพิจารณาคดี ใน กรณี นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย ถ้า ศาลแรงงาน เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่าเป็นการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรมอีกด้วย ศาลแรงงานก็มี อำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้าง กลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้อำนาจ ศาลแรงงานที่จะหยิบยกเอาการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมขึ้นวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็น ประเด็นมาโดยตรง ดังนั้นเมื่อศาลแรงงาน ใช้อำนาจตาม มาตรา49 ศาลแรงงานคงมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจ ไว้ เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้ อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้าง โจทก์โดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้าง ใน ระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็น กรณี ที่ โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้าง ได้ ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบ ด้วย กฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตาม สัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการขอให้ ศาลแรงงาน พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มี กฎหมาย ห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์ เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า โจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลา ที่ ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลย กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เป็นเหตุ ให้ โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้ รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ ทำงานให้จำเลยก็ตามพระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจบังคับ ให้ นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อ ศาลแรงงาน พิพากษา ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย เกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้ลูกจ้างมิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางมีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็นประเด็นโดยตรง และศาลมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น หากศาลพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีกและศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจศาลเช่นนั้น โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายเมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม และแม้โจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้