พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต้องมีเหตุผลอันสมควรในการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ด้วยเหตุคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมและคดีจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 7 วัน จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้ายข้อที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์จึงเป็นอันยุติ ดังนั้นแม้ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม และฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลก็จะอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้เพราะการที่จะอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้นั้น คดีของจำเลยจะต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วย การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยเป็นคนยากจน แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง และจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น จะถือว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์อยู่ในตัวหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างเดิมเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว หากนายจ้างลดค่าจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ43,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์ได้รับค่าจ้างไม่ครบจำนวนดังกล่าวเพราะการกระทำของจำเลยที่ผิดสัญญาจ้าง การคำนวณค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องนำค่าจ้างเดือนละ 43,000 บาท มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ และเมื่อจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบ43,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มีข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างเดิมเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว กรณีจำเลยลดค่าจ้าง และศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ43,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์ได้รับค่าจ้างไม่ครบจำนวนดังกล่าวเพราะการกระทำของจำเลยที่ผิดสัญญาจ้าง การคำนวณค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องนำค่าจ้างเดือนละ 43,000 บาท มาเป็น เกณฑ์ในการคำนวณ และเมื่อจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบ43,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มี ข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มี ข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้รับขน การรับฟังพยาน และข้อต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย
ผู้ส่งสินค้ามิได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความผิดตามประกาศที่ผู้รับขนปิดไว้ที่ที่ทำการของผู้รับขน ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้รับขนจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 พยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีแม้ไม่ส่งสำเนาต่อศาลก่อนวันสืบพยานสามวัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คำให้การของจำเลยเพียงแต่ปฏิเสธจำนวนค่าเสียหายตามฟ้องเท่านั้น ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งให้จำเลยไปร่วมตรวจสอบเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดหรือรับผิดน้อยลง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่: การระบุรายละเอียดความประมาทและสถานที่เกิดเหตุเพียงใดจึงถือว่าแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 สำหรับรถยนต์คันเกิดเหตุ ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ชนถูกรถยนต์ที่โจทก์กับพวกโดยสารมาพลิกคว่ำที่ถนนบริเวณพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล และต้องขาดประโยชน์ทางทำมาหาได้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามให้รับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ได้ความชัดว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์โดยสารมา ณ สถานที่ใด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร ทั้งจำเลยทั้งสามต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะเหตุใด เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว การที่ฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยอาการอย่างไร ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนสายใดในบริเวณพุทธมณฑลนั้นไม่เป็นข้อสำคัญถึงขนาดจะทำให้จำเลยทั้งสามไม่เข้าใจข้อหาได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องคดีละเมิด: การบรรยายลักษณะการกระทำละเมิดและสถานที่เกิดเหตุไม่จำเป็นต้องละเอียด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 สำหรับรถยนต์คันเกิดเหตุ ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงชนถูกรถยนต์ที่โจทก์กับพวกโดยสารมาพลิกคว่ำที่ถนนบริเวณพุทธมณฑลตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล และต้องขาดประโยชน์ทางทำมาหาได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามให้รับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ได้ความชัดว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์โดยสารมา ณ สถานที่ใด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไรทั้งจำเลยทั้งสามต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะเหตุใดเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว การที่ฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยที่ 1ขับรถยนต์ด้วยอาการอย่างไร ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนสายใดในบริเวณพุทธมณฑล นั้นไม่เป็นข้อสำคัญถึงขนาดจะทำให้จำเลยทั้งสามไม่เข้าใจข้อหาได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่เปลี่ยนมือจนกว่าจะจดทะเบียน แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนที่ดินจึงไม่เป็นยักยอก
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยยกที่ดินให้ว.ครึ่งหนึ่งโดยใส่ชื่อว. เป็นเจ้าของรวมในโฉนด แต่เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนใส่ชื่อ ว.เป็นเจ้าของรวมว. ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเพียงผู้เดียว การที่จำเลยโอนที่ดินทั้งหมดให้ ถ. จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนจนกว่าจะจดทะเบียน แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนจึงไม่เป็นยักยอก
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยยกที่ดินให้ว. ครึ่งหนึ่ง โดยใส่ชื่อ ว. เป็นเจ้าของรวมในโฉนด แต่เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนใส่ชื่อ ว. เป็นเจ้าของรวม ว. ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเพียงผู้เดียว การที่จำเลยโอนที่ดินทั้งหมดให้ ถ. จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพการ์ตูน: เจ้าของลิขสิทธิ์คือผู้สร้างสรรค์ ไม่ใช่ผู้ว่าจ้าง การดัดแปลงและโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการละเมิด
โจทก์มิได้สร้างสรรค์ภาพต้นแบบขึ้นโดยการรับจ้างจำเลย จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ว่าจ้างอันจะมีลิขสิทธิ์ในงานนั้นตาม มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โจทก์ย่อมเป็น เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว จำเลยได้ดัดแปลง และนำงาน อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ของโจทก์ แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะได้บรรยายว่า การกระทำของ จำเลยเป็นการละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ด้วยก็ตามแต่ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์เป็นประเด็นพิพาทไว้และโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน จึงต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินธรณีสงฆ์โดยการยกให้และการครอบครองต่อเนื่อง สิทธิของวัดเหนือกว่าการซื้อขายที่ดินโดยบุคคลอื่น
โจทก์กล่าวอ้างขึ้นในชั้นฎีกาโดยแนบหนังสือรับรองของปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอมาท้ายฎีกาว่า พ. ถึงแก่ความตายประมาณปี พ.ศ. 2475 เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตามวิธีพิจารณาความและจำเลยไม่มีโอกาสซัก ค้านเกี่ยวกับเอกสารนี้หนังสือรับรองดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ ก่อนถึงแก่ความตาย พ. สามี ข. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและยกที่ดินพิพาทให้แก่วัด จำเลย โดยให้ ข. มีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต จำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแล้วให้ ข. นำออกให้เช่าหาประโยชน์ตามเจตนาของ พ. ข. ก็ยอมรับสิทธิของจำเลยโดยระบุในสัญญาเช่าว่าที่ดินที่ให้เช่าเป็นของวัดจำเลย ที่ดินพิพาทตก เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย นับแต่ พ. ยกให้และจำเลยรับไว้แล้วเป็นต้นมา ข. เป็นเพียงผู้ครอบครองแทน ส่วน จ. หาได้ครอบครองไม่แม้ต่อมา ข. และ จ. จะได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมา วัดจำเลยก็ยังมีสิทธิครอบครองเช่นเดิม เพราะโจทก์ต้องห้ามมิให้ยกอายุความต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ มาตรา 34 การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมา และสละบางส่วนไปโดยไม่ได้ลงทะเบียนการได้มาและจำหน่ายออกไปจากทะเบียนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2511) ออกตามความใน พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฯ หาเป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทที่ได้รับมาไม่.