พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา และการรับฟังพยานหลักฐานหักล้างข้อเท็จจริงที่ยุติ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าผู้ขอเป็นคนยากจน คู่ความย่อมอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้
จำเลยยื่นคำร้องขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยยากจน แต่ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องและคำให้การแล้วว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินส่วนของจำเลยให้โจทก์ในราคาสูงถึง 977,450 บาท ดังนี้แม้จำเลยจะมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมอื่นใดก็ไม่อาจรับฟังหักล้างข้อเท็จจริงที่ยุติดังกล่าวแล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยเสียได้โดยไม่ต้องไต่สวน.
จำเลยยื่นคำร้องขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยยากจน แต่ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องและคำให้การแล้วว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินส่วนของจำเลยให้โจทก์ในราคาสูงถึง 977,450 บาท ดังนี้แม้จำเลยจะมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมอื่นใดก็ไม่อาจรับฟังหักล้างข้อเท็จจริงที่ยุติดังกล่าวแล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยเสียได้โดยไม่ต้องไต่สวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยอ้างสิทธิในทรัพย์สินตามพินัยกรรมและส่วนแบ่งตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากสิทธิของโจทก์และผู้รับมรดกอื่น
ร้อยเอก ค.กับนาง ง.อยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สินสมรสระหว่างร้อยเอก ค.กับนาง ง.จึงต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แม้ต่อมาจะได้มีการจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ.2513 ก็ไม่กระทบกระเทือนการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสซึ่งมีอยู่ตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 มาตรา 4
ทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งมีชื่อร้อยเอก ค.กับนาง ง.ร่วมกันในโฉนด บางรายการได้มาและลงชื่อร่วมกันตั้งแต่ยังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับ และบางรายการได้มาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมแล้ว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่ได้มาเมื่อใดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เมื่อเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากันและในโฉนดที่ดินมีชื่อร้อยเอก ค.และนาง ง.ร่วมกัน มิได้แยกออกไว้เป็นสินส่วนตัวของนาง ง.แต่อย่างใด ทรัพย์ทั้งหมดที่ได้มาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นสินสมรสตามกฎหมาย ต้องแบ่งกันตามส่วนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 เมื่อปรากฏว่านาง ง.ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับร้อยเอก ค.โดยนาง ง.ไม่มีสินเดิม นาง ง.ย่อมไม่มีส่วนได้ในสินสมรส สินสมรสทั้งหมดจึงเป็นของร้อยเอก ค.แต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดีก่อนร้อยเอก ค.ถึงแก่กรรมได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นาง ง.โจทก์และจำเลยทั้งสอง นาง ง.จึงยังมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว 1 ใน 4 ส่วน ของทรัพย์มรดกทั้งหมด
ร้อยเอก ค.กับนาง ง.เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ก่อนแล้วการที่ร้อยเอก ค.กับนาง ง.จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ.2513 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ซึ่งประกาศใช้ภายหลัง หากมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยา เป็นกรรมสิทธิ์รวมคนละส่วนเท่ากัน ก็น่าจะระบุไว้ในทะเบียนสมรสให้ชัดแจ้ง เพราะเท่ากับเป็นข้อตกลงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวสำหรับผู้ที่เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม นอกจากนั้นร้อยเอก ค.ยังให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้หลังทะเบียนสมรสด้วยว่า เรื่องทรัพย์สินไม่ประสงค์ให้บันทึก ย่อมไม่อาจรับฟังว่าร้อยเอก ค.จดทะเบียนสมรสโดยเจตนาจะให้นาง ง.มีกรรมสิทธิ์ในสินสมรสคนละส่วนเท่ากัน
นาง ง. มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. 1 ใน 4 ส่วน ของทรัพย์มรดกทั้งหมด ย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่ตกได้แก่ตนนั้นให้แก่ผู้อื่นได้ และจะเป็นโมฆะเฉพาะการยกทรัพย์ส่วนที่เกินไปกว่าทรัพย์มรดกส่วนที่ตนมีสิทธิจะได้รับเท่านั้น
นาง ง.ทำพินัยกรรมยกที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค.ซึ่งตนมีสิทธิ1 ใน 4 ส่วน ให้แก่โจทก์ เมื่อรวมกับส่วนของโจทก์เองอีก 1 ใน 4 ส่วน รวมเป็นส่วนของโจทก์1 ใน 2 ส่วน แต่เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค.โดยอ้างว่ามีสิทธิ 1 ใน3 ส่วน เห็นควรให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์ส่วนนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วน ตามที่ขอ
สำหรับผลประโยชน์อื่นอันเกิดแต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาเกี่ยวกับทรัพย์เหล่านี้โดยชัดแจ้ง แต่ทรัพย์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์อันเกิดจากอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ฏีกาขึ้นมา และคำขอท้ายฎีกาโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์มรดกทั้งหมดตามส่วนที่ควรจะได้ เมื่อปรากฏว่าส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาเกี่ยวกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าวจึงเกี่ยวพันอยู่ในประเด็นที่โจทก์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ชนิดเครื่องลายครามและชนิดเครื่องมุกของโบราณบางรายการ รายการละ 1 ใน 2 ส่วน แต่โจทก์ขอแบ่งโดยอ้างว่ามีสิทธิเพียง 1 ใน 3 ส่วน คำพิพากษาศาลล่างในส่วนนี้จึงเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
ทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งมีชื่อร้อยเอก ค.กับนาง ง.ร่วมกันในโฉนด บางรายการได้มาและลงชื่อร่วมกันตั้งแต่ยังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับ และบางรายการได้มาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมแล้ว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่ได้มาเมื่อใดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เมื่อเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากันและในโฉนดที่ดินมีชื่อร้อยเอก ค.และนาง ง.ร่วมกัน มิได้แยกออกไว้เป็นสินส่วนตัวของนาง ง.แต่อย่างใด ทรัพย์ทั้งหมดที่ได้มาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นสินสมรสตามกฎหมาย ต้องแบ่งกันตามส่วนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 เมื่อปรากฏว่านาง ง.ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับร้อยเอก ค.โดยนาง ง.ไม่มีสินเดิม นาง ง.ย่อมไม่มีส่วนได้ในสินสมรส สินสมรสทั้งหมดจึงเป็นของร้อยเอก ค.แต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดีก่อนร้อยเอก ค.ถึงแก่กรรมได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นาง ง.โจทก์และจำเลยทั้งสอง นาง ง.จึงยังมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว 1 ใน 4 ส่วน ของทรัพย์มรดกทั้งหมด
ร้อยเอก ค.กับนาง ง.เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ก่อนแล้วการที่ร้อยเอก ค.กับนาง ง.จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ.2513 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ซึ่งประกาศใช้ภายหลัง หากมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยา เป็นกรรมสิทธิ์รวมคนละส่วนเท่ากัน ก็น่าจะระบุไว้ในทะเบียนสมรสให้ชัดแจ้ง เพราะเท่ากับเป็นข้อตกลงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวสำหรับผู้ที่เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม นอกจากนั้นร้อยเอก ค.ยังให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้หลังทะเบียนสมรสด้วยว่า เรื่องทรัพย์สินไม่ประสงค์ให้บันทึก ย่อมไม่อาจรับฟังว่าร้อยเอก ค.จดทะเบียนสมรสโดยเจตนาจะให้นาง ง.มีกรรมสิทธิ์ในสินสมรสคนละส่วนเท่ากัน
นาง ง. มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. 1 ใน 4 ส่วน ของทรัพย์มรดกทั้งหมด ย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่ตกได้แก่ตนนั้นให้แก่ผู้อื่นได้ และจะเป็นโมฆะเฉพาะการยกทรัพย์ส่วนที่เกินไปกว่าทรัพย์มรดกส่วนที่ตนมีสิทธิจะได้รับเท่านั้น
นาง ง.ทำพินัยกรรมยกที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค.ซึ่งตนมีสิทธิ1 ใน 4 ส่วน ให้แก่โจทก์ เมื่อรวมกับส่วนของโจทก์เองอีก 1 ใน 4 ส่วน รวมเป็นส่วนของโจทก์1 ใน 2 ส่วน แต่เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค.โดยอ้างว่ามีสิทธิ 1 ใน3 ส่วน เห็นควรให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์ส่วนนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วน ตามที่ขอ
สำหรับผลประโยชน์อื่นอันเกิดแต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาเกี่ยวกับทรัพย์เหล่านี้โดยชัดแจ้ง แต่ทรัพย์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์อันเกิดจากอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ฏีกาขึ้นมา และคำขอท้ายฎีกาโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์มรดกทั้งหมดตามส่วนที่ควรจะได้ เมื่อปรากฏว่าส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาเกี่ยวกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าวจึงเกี่ยวพันอยู่ในประเด็นที่โจทก์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ชนิดเครื่องลายครามและชนิดเครื่องมุกของโบราณบางรายการ รายการละ 1 ใน 2 ส่วน แต่โจทก์ขอแบ่งโดยอ้างว่ามีสิทธิเพียง 1 ใน 3 ส่วน คำพิพากษาศาลล่างในส่วนนี้จึงเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีมีพินัยกรรมและข้อพิพาทเกี่ยวกับส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างทายาท
ร้อยเอก ค.กับนางง. อยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สินสมรสระหว่างร้อยเอกค.กับนางง.จึงต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แม้ต่อมาจะได้มีการจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2513 ก็ไม่กระทบกระเทือนการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสซึ่งมีอยู่ตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งมีชื่อร้อยเอก ค.กับนางง. ร่วมกันในโฉนด บางรายการได้มาและลงชื่อร่วมกันตั้งแต่ยังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับและบางรายการได้มาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมแล้วซึ่งไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่ได้มาเมื่อใดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เมื่อเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากันและในโฉนดที่ดินมีชื่อร้อยเอกค.และนางง.ร่วมกัน มิได้แยกออกไว้เป็นสินส่วนตัวของนางง. แต่อย่างใด ทรัพย์ทั้งหมดที่ได้มาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นสินสมรสตามกฎหมาย ต้องแบ่งกันตามส่วนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 เมื่อปรากฏว่านาง ง. ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับร้อยเอก ค.โดยนางง.ไม่มีสินเดิมนางง.ย่อมไม่มีส่วนได้ในสินสมรส สินสมรสทั้งหมดจึงเป็นของร้อยเอก ค.แต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดีก่อนร้อยเอก ค. ถึงแก่กรรมได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นาง ง.โจทก์และจำเลยทั้งสองนางง.จึงยังมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว 1 ใน 4 ส่วน ของทรัพย์มรดกทั้งหมด ร้อยเอก ค.กับนางง. เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ก่อนแล้วการที่ร้อยเอก ค.กับนางง.จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2513 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม ซึ่งประกาศใช้ภายหลัง หากมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยา เป็นกรรมสิทธิ์รวมคนละส่วนเท่ากันก็น่าจะระบุไว้ในทะเบียนสมรสให้ชัดแจ้ง เพราะเท่ากับเป็นข้อตกลงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวสำหรับผู้ที่เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5เดิม นอกจากนั้นร้อยเอก ค.ยังให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้หลังทะเบียนสมรสด้วยว่า เรื่องทรัพย์สินไม่ประสงค์ให้บันทึก ย่อมไม่อาจรับฟังว่าร้อยเอก ค.จดทะเบียนสมรสโดยเจตนาจะให้นางง.มีกรรมสิทธิ์ในสินสมรสคนละส่วนเท่ากัน นางง.มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของร้อยเอกค.1 ใน 4 ส่วนของทรัพย์มรดกทั้งหมด ย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่ตกได้แก่ตนนั้นให้แก่ผู้อื่นได้ และจะเป็นโมฆะเฉพาะการยกทรัพย์ส่วนที่เกินไปกว่าทรัพย์มรดกส่วนที่ตนมีสิทธิจะได้รับเท่านั้น นางง.ทำพินัยกรรมยกที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอกค.ซึ่งตนมีสิทธิ 1 ใน 4 ส่วน ให้แก่โจทก์ เมื่อรวมกับส่วนของโจทก์เองอีก 1 ใน 4 ส่วน รวมเป็นส่วนของโจทก์ 1 ใน 2 ส่วน แต่เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. โดยอ้างว่ามีสิทธิ 1 ใน 3 ส่วน เห็นควรให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์ส่วนนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วน ตามที่ขอ สำหรับผลประโยชน์อื่นอันเกิดแต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาเกี่ยวกับทรัพย์เหล่านี้โดยชัดแจ้งแต่ทรัพย์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์อันเกิดจากอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา และคำขอท้ายฎีกาโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์มรดกทั้งหมดตามส่วนที่ควรจะได้ เมื่อปรากฏว่าส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาเกี่ยวกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าวจึงเกี่ยวพันอยู่ในประเด็นที่โจทก์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ชนิดเครื่องลายครามและชนิดเครื่องมุก ของโบราณบางรายการ รายการละ 1 ใน 2 ส่วน แต่โจทก์ขอแบ่งโดยอ้างว่ามีสิทธิเพียง 1 ใน 3 ส่วน คำพิพากษาศาลล่างในส่วนนี้จึงเกินคำขอปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5158/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ โดยไม่มีข้อตกลงซื้อขาย ถือเป็นความผิดฐานรับของโจร
พฤติการณ์ที่จำเลยรับเป็ดของกลางจำนวนมากถึง 1,000 ตัวไว้จาก ป. โดยไม่มีข้อตกลงในการซื้อขายหรือฝากเลี้ยงกันในลักษณะใดนั้น ถือได้ว่าเป็นการรับไว้โดยประการใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า รับเป็ดของกลางไว้โดยไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ เป็นการฎีกาโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5158/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ แม้ไม่มีเจตนาซื้อขายหรือฝากเลี้ยง ก็ถือเป็นความผิดฐานรับของโจรได้
พฤติการณ์ที่จำเลยรับเป็ดของกลางจำนวนมากถึง 1,000 ตัวไว้จาก ป. โดยไม่มีข้อตกลงในการซื้อขายหรือฝากเลี้ยงกันในลักษณะใดนั้น ถือได้ว่าเป็นการรับไว้โดยประการใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า รับเป็ดของกลางไว้โดยไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ เป็นการฎีกาโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก.
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า รับเป็ดของกลางไว้โดยไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ เป็นการฎีกาโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยในคดีล้มละลายแล้ว จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) การที่จำเลยยื่นขอให้พิจารณาใหม่เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการเอง เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนตามมาตรา 25 ได้ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นขอพิจารณาใหม่ไว้ก่อน แล้วถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ จึงไม่ต้องตามบทบัญญัติ มาตรา 25ที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ล้มละลายไม่มีสิทธิยื่นคำขอพิจารณาใหม่เอง อำนาจอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยในคดีล้มละลายแล้ว จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา22 (3) การที่จำเลยยื่นขอให้พิจารณาใหม่เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการเอง เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนตามมาตรา 25 ได้ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นขอพิจารณาใหม่ไว้ก่อน แล้วถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ จึงไม่ต้องตามตามบทบัญญัติ มาตรา 25 ที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง – การปรับบทลงโทษ – ข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริง – ทำร้ายร่างกาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จำคุก 20 วันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218บัญญัติห้ามมิให้คู่ความฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมสองครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและสถานที่เกิดเหตุครั้งแรกกับครั้งหลังห่างกันเพียงประมาณ 300 เมตรเจตนาในการข่มขืนกระทำชำเราทั้งสองครั้งยังต่อเนื่องกันอยู่หาได้ขาดตอนไม่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง – ความผิดกรรมเดียว – การลดโทษ – ฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จำคุก 20 วันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218บัญญัติห้ามมิให้คู่ความฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมสองครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและสถานที่เกิดเหตุครั้งแรกกับครั้งหลังห่างกัน เพียงประมาณ 300 เมตรเจตนาในการข่มขืนกระทำชำเราทั้งสองครั้งยังต่อเนื่องกันอยู่หาได้ขาดตอนไม่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมสองครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและสถานที่เกิดเหตุครั้งแรกกับครั้งหลังห่างกัน เพียงประมาณ 300 เมตรเจตนาในการข่มขืนกระทำชำเราทั้งสองครั้งยังต่อเนื่องกันอยู่หาได้ขาดตอนไม่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทำงานวันหยุด & การปรับค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้าง
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีของลูกจ้างต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) มีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่จะมีขึ้นเมื่อมีการเลิกจ้าง การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนำค่าครองชีพมารวมจ่ายเป็นค่าจ้างอัตราใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานก่อนวันดังกล่าวและยอมรับการกระทำเช่นนั้นของจำเลยต้องเสียสิทธิที่มีอยู่เดิม ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานหลังวันดังกล่าวก็จะได้รับค่าจ้างในอัตราที่รวมค่าครองชีพเข้าด้วยแล้ว การนำค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย.