พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงานและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การยื่นข้อเรียกร้องและการไกล่เกลี่ย
การที่บริษัทนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องซึ่งเป็นสหภาพแรงงาน แล้วผู้ร้องไม่ยอมรับข้อเรียกร้องและไม่ยอมเจรจานั้นถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานอันเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าวและดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันต่อไปตามมาตรา 22 หากไม่อาจตกลงกันได้บริษัทนายจ้างและผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 วรรคท้าย ต่อไป จะใช้สิทธิทางศาลขอให้วินิจฉัยชี้ขาดว่าการยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ เพราะตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลสำหรับกรณีนี้แต่ประการใดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้ซื้อรายใหม่ในคดีบังคับคดี: ผู้เสนอราคาใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ยอมรับข้อเสนอ
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้มีการขายทอดตลาดใหม่ อ้างว่าคำสั่งให้ขายทรัพย์สินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างพิจารณาของศาลจำเลยนำ ป. ผู้ซื้อรายใหม่มาแถลงว่าจะขอสู้ราคาสูงกว่าที่ขายทอดตลาดได้ เพื่อเป็นประกันว่าจะเข้าสู้ราคา ป. จะจัดหาธนาคารมาค้ำประกัน ต่อมา ป.ไม่สามารถจัดหาธนาคารมาค้ำประกันได้ ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จึงไม่มีการขายทอดตลาดใหม่ ป. ไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและไม่ใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ขายทอดตลาดใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ป.จึงไม่ถูกต้อง ไม่ก่อให้ ป. มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของ ป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์และฎีกาของผู้ซื้อรายใหม่ในคดีบังคับคดี: ผู้ไม่มีส่วนได้เสียย่อมไม่มีสิทธิ
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้มีการขายทอดตลาดใหม่ อ้างว่าคำสั่งให้ขายทรัพย์สินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างพิจารณาของศาลจำเลยนำ ป. ผู้ซื้อรายใหม่มาแถลงว่าจะขอสู้ราคาสูงกว่าที่ขายทอดตลาดได้ เพื่อเป็นประกันว่าจะเข้าสู้ราคา ป. จะจัดหาธนาคารมาค้ำประกัน ต่อมา ป.ไม่สามารถจัดหาธนาคารมาค้ำประกันได้ ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จึงไม่มีการขายทอดตลาดใหม่ ป. ไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและไม่ใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ขายทอดตลาดใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ป.จึงไม่ถูกต้อง ไม่ก่อให้ ป. มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของ ป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นการทำงาน หากประสบอันตรายระหว่างนั้น นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพร เมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21 ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์
การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2517เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดเแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงาน-กลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2517เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดเแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงาน-กลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นงาน ย่อมได้รับเงินทดแทนหากประสบอันตราย และค่าพาหนะเดินทางเป็นค่ารักษาพยาบาล
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพรเมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์ การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่20 พฤศจิกายน 2517 เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยหลังจากนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้อง ร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในคดีนี้เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะยื่นคำขอจำเลยหามีสิทธิยื่นไม่
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปก่อนแล้วจึงยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายหลัง กรณีย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทนจำเลย.
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปก่อนแล้วจึงยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายหลัง กรณีย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทนจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังพิทักษ์ทรัพย์: จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำขอพิจารณาใหม่, เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยหลังจากนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 22(3) การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในคดีนี้เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะยื่นคำขอจำเลยหามีสิทธิยื่นไม่ การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปก่อนแล้วจึงยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายหลัง กรณีย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทนจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5010/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่างประเทศ: จำเป็นต้องพิสูจน์การคุ้มครองในประเทศต้นทางตามอนุสัญญาลิขสิทธิ์
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานละเมิดงานสร้างสรรค์ ของ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จึงต้องนำสืบว่ากฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานวีดีโอเทปภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่ที่โจทก์นำสืบกฎหมายของต่างประเทศซึ่งมีคำแปลเพียงบางส่วนนั้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แน่นอนว่ากฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานวีดีโอเทปภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ดัง ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521โจทก์ร่วมจึงไม่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าวในประเทศไทยและลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังศาลสั่งประนอมหนี้และล้มละลาย, อำนาจกรรมการหลังล้มละลาย, การดำเนินคดีกับบุคคลล้มละลาย
การที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้เอง โจทก์ฟ้องคดีภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 25 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมมีอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป
เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหลังประนอมหนี้และการดำเนินคดีเมื่อล้มละลาย รวมถึงผลกระทบต่ออำนาจกรรมการ
การที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้เอง โจทก์ฟ้องคดีภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 25 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมมีอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้