คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประคนธ์ พันธุ์วิชาติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเวนคืนที่ดินต้องเป็นราคาตลาด ไม่ใช่ราคาประเมินของกรมที่ดิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ฯ ข้อ 23 วรรคสุดท้าย กำหนดให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษด้วยและ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือ ขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้นถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน บริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทางพิเศษตามราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน พ.ศ. 2524 มิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับการกำหนดราคาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากโมฆะเนื่องจากไม่จดทะเบียน สิทธิครอบครองกลับคืนแก่ผู้ให้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ามีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และคู่สัญญาเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝากโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อคู่สัญญามิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ สัญญาขายฝากที่ทำกันเองจึงเป็นโมฆะ จำเลยผู้ซื้อฝากจะอ้างสิทธิการได้มาซึ่งการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองแทนผู้ขายฝาก จำเลยจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ขายฝากถูกถอนคืนการให้ตกเป็นของโจทก์จำเลยจึงต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นราคาทรัพย์สิน เนื่องจากไม่ได้มีการขอแก้ไขราคาในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
ฎีกาของโจทก์และจำเลยที่ 2 แม้ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 100,000 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีคำขอให้ศาลฎีกาแก้ไขราคาให้ ในชั้นอุทธรณ์โจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้ อุทธรณ์ในลักษณะดังกล่าวโดยไม่มีคำขอบังคับเช่นเดียวกัน ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้วินิจฉัยให้ ดังนี้ ถือว่าฎีกาของทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับราคาทรัพย์เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ และฎีกาของจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีคำขอบังคับ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นราคาทรัพย์สินเนื่องจากมิได้มีการขอแก้ไขราคาในชั้นอุทธรณ์
ฎีกาของโจทก์และจำเลยที่ 2 แม้ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 100,000 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีคำขอให้ศาลฎีกาแก้ไขราคาให้ ในชั้นอุทธรณ์โจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้ อุทธรณ์ในลักษณะดังกล่าวโดยไม่มีคำขอบังคับเช่นเดียวกัน ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้วินิจฉัยให้ ดังนี้ ถือว่าฎีกาของทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับราคาทรัพย์เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ และฎีกาของจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีคำขอบังคับ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยไม่ปรากฏว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ จนกระทั่งโจทก์ไปยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกที่ดินส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์ที่สำนักงานที่ดิน จำเลยจึงได้มีหนังสือลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2527 ถึงนายอำเภอขอคัดค้านการรับโอนมรดกโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยผู้เดียว หนังสือดังกล่าวได้ยื่นต่อนายอำเภอเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2527 โจทก์ได้รับสำเนาหนังสือคัดค้านของจำเลยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2527 แสดงว่าโจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2527 ซึ่งเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง เมื่อวันที่ 6กุมภาพันธ์ 2528 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย่งการครอบครอง: เริ่มนับเมื่อทราบการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยไม่ปรากฏว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ จนกระทั่งโจทก์ไปยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกที่ดินส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์ที่สำนักงานที่ดิน จำเลยจึงได้มีหนังสือลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2527 ถึงนายอำเภอขอคัดค้านการรับโอนมรดกโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยผู้เดียว หนังสือดังกล่าวได้ยื่นต่อนายอำเภอเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2527 โจทก์ได้รับสำเนาหนังสือคัดค้านของจำเลยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2527 แสดงว่าโจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2527 ซึ่งเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง เมื่อวันที่ 6กุมภาพันธ์ 2528 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเพียงเล็กน้อยและจำคุกเกินห้าปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิตจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นว่าให้จำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้จำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิตจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นว่าให้จำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้จำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผูกพันสัญญาจำนองและค้ำประกันจากเจตนาจดทะเบียนแก้ไขวัตถุประสงค์ และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 ต่อมาอีก 3 วัน คือวันที่ 29 พฤษภาคม2521 จำเลยที่ 2 ได้มาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเพื่อมาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรแก่โจทก์ตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อต่อมาภายหลังคือวันที่ 1 มิถุนายน 2521นายทะเบียนรับจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองให้ตามที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนแล้ว แม้วัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองนั้น ยังไม่ได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ตามฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจถือเอาประโยชน์จากการขอจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในข้อกิจการจำนองของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวได้แล้ว ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1023 สัญญาจำนองผูกพันจำเลยที่ 2 ได้.
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ มีจำเลยที่ 4ลงชื่อและประทับตราห้างจำเลยที่ 2 ในขณะทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการจากจำเลยที่ 4 เป็นจำเลยที่ 3 แล้ว แสดงว่าหลังจากจำเลยที่ 3 เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสืบต่อจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 3 ยังคงยอมให้จำเลยที่ 4 ครอบครองตราของห้างอยู่ และเมื่อจะทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ก็ยินยอมให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการเสมือนยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามเดิม โดยจำเลยที่ 3 มิได้ทักท้วงว่ากล่าวหรือแจ้งให้โจทก์ทราบพฤติการณ์บ่งชัดว่าจำเลยที่ 3 เชิดจำเลยที่ 4 ให้แสดงออกเป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาค้ำประกันในนามห้างจำเลยที่ 2ซึ่งโจทก์มิได้ล่วงรู้ข้อความจริงจำเลยที่ 2 จึงจำต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างต่อโจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันจำนอง-ค้ำประกัน: เจตนาแก้ไขวัตถุประสงค์-การเชิดตัวแทนต่อบุคคลภายนอก
แม้วัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองอันเป็นข้อความซึ่งบังคับให้จดทะเบียนนั้นยังไม่ได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ตามแต่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจถือเอาประโยชน์จากการขดจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในข้อกิจการจำนองของจำเลยดังกล่าวได้แล้วตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1023 สัญญาจำนองจึงผูกพันจำเลย หลังจากจำเลยที่ 3 เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสืบต่อจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 3 ยังคงยอมให้จำเลยที่ 4 ครอบครองตราของห้างอยู่และเมื่อจะทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ก็ยินยอมให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการเสมือนยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามเดิมโดยจำเลยที่ 3 มิได้ทักท้วงว่ากล่าวหรือแจ้งให้โจทก์ทราบแต่ประการใดพฤติการณ์บ่งชัดว่าจำเลยที่ 3 ตั้งใจเชิดจำเลยที่ 4 ให้ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาค้ำประกันในนามของห้างจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ก็มิได้ล่วงรู้ข้อความจริงเช่นว่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 821และจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างด้วย.
of 44