คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประคนธ์ พันธุ์วิชาติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผูกพันของสัญญาจำนองและค้ำประกันต่อจำเลยจากการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และการยินยอมให้ผู้อื่นลงนาม
จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 ต่อมาอีก 3 วัน คือวันที่ 29 พฤษภาคม2521 จำเลยที่ 2 ได้มาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเพื่อมาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรแก่โจทก์ตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อต่อมาภายหลังคือวันที่ 1 มิถุนายน 2521นายทะเบียนรับจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองให้ตามที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนแล้ว แม้วัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองนั้น ยังไม่ได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ตามฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจถือเอาประโยชน์จากการขอจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในข้อกิจการจำนองของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวได้แล้ว ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1023 สัญญาจำนองผูกพันจำเลยที่ 2 ได้. สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ มีจำเลยที่ 4ลงชื่อและประทับตราห้างจำเลยที่ 2 ในขณะทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการจากจำเลยที่ 4 เป็นจำเลยที่ 3 แล้ว แสดงว่าหลังจากจำเลยที่ 3 เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสืบต่อจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 3 ยังคงยอมให้จำเลยที่ 4 ครอบครองตราของห้างอยู่ และเมื่อจะทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ก็ยินยอมให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการเสมือนยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามเดิม โดยจำเลยที่ 3 มิได้ทักท้วงว่ากล่าวหรือแจ้งให้โจทก์ทราบพฤติการณ์บ่งชัดว่าจำเลยที่ 3 เชิดจำเลยที่ 4 ให้แสดงออกเป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาค้ำประกันในนามห้างจำเลยที่ 2ซึ่งโจทก์มิได้ล่วงรู้ข้อความจริงจำเลยที่ 2 จึงจำต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างต่อโจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4647/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนทรัพย์สินที่เหลือจากการเวนคืนและดอกเบี้ยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295
ศาลาพักร้อน โรงปั๊มน้ำ ถนนคอนกรีต และรั้วก่ออิฐฉาบปูนอันเป็นทรัพย์สินที่เหลือจากการเวนคืนเป็นทรัพย์ใช้สอยประจำกับตัวบ้าน ถือเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน เมื่ออาคารบ้านพักถูกเวนคืนทำให้หมดโอกาสที่จะใช้สอยทรัพย์สินที่เหลืออยู่เป็นประจำควบคู่ไปกับตัวบ้านก็ต้องถือว่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือนั้นลดน้อยถอยราคาลงจนไม่เป็นประโยชน์ดังแต่ก่อนหรือสิ้นสภาพลงและไม่มีราคา จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่เหลือนั้นด้วย ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระบุว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับศาลจึงชอบที่จะให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของเงินที่เพิ่มให้แก่โจทก์นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร แม้ซื้อจากนิติบุคคล และรับจากผู้รับของโจรก็ยังมีความผิดส่วนตัวได้
แม้การที่จำเลยที่ 1 ซื้อของกลางไว้ จะเป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล แต่ความผิดฐานรับของโจรมิใช่เป็นความผิดเฉพาะตัวนิติบุคคล จำเลยที่รับของโจรมิใช่เป็นเป็นความผิดเฉพาะตัวนิติบุคคลจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดเป็นส่วนตัวด้วย ความผิดฐานรับของโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357มิใช่เป็นความผิดเฉพาะกรณีรับทรัพย์ไว้จากคนร้ายซึ่งลักทรัพย์หรือกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งตามมาตรา 357วรรคแรกโดยตรงเท่านั้น การรับทรัพย์ไว้จากผู้กระทำความผิดฐานรับของโจทก์ หากรับไว้โดยรู้อยู่ว่าทรัพย์ที่ถูกลักมาก็เป็นความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ: ศาลลดค่าเสียหายได้หากราคารถรวมค่าเช่าและมีค่าเสื่อมราคา
ข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อที่ให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่สูงเกินไป เพราะราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นการคิดราคารถรวมกับค่าเช่า และการใช้รถต้องมีการเสื่อมราคา ดังนั้นศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องและการชำระหนี้ตามกฎหมาย แม้มีคดีแรงงานอยู่ระหว่างพิจารณา
จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ที่จะต้องชำระเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์เจ้าหนี้ของโจทก์ย่อมมีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยได้ ฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางแล้วหรือไม่ เมื่อจำเลยได้รับหมายอายัดชั่วคราวจากศาลแพ่ง จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหมายอายัดของศาลแพ่ง การที่จำเลยนำเงินบำเหน็จดังกล่าวไปวางต่อศาลแพ่ง จึงไม่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตแต่ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามกฎหมายแล้ว ข้อความในหมายอายัดที่ว่า ถ้ามีเหตุคัดค้านประการใดให้ยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดเวลานั้น หมายความว่า หากจำเลยมีเหตุคัดค้านหมายอายัดในเหตุส่วนตัวของจำเลย เช่น จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามที่ถูกอายัด จำเลยก็อาจจะคัดค้านภายในกำหนดเวลานั้นได้แต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จริง จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะคัดค้าน และแม้จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลาง จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องคัดค้านการอายัดหรือนำเงินบำเหน็จมาวางต่อศาลแรงงานกลางแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้อง: จำเลยมีหน้าที่ปฏิบัติตามหมายอายัด แม้มีคดีแรงงานอยู่
จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ที่จะต้องชำระเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ เจ้าหนี้ของโจทก์ย่อมมีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยได้ ฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางแล้วหรือไม่ เมื่อจำเลยได้รับหมายอายัดชั่วคราวจากศาลแพ่ง จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหมายอายัดของศาลแพ่ง การที่จำเลยนำเงินบำเหน็จดังกล่าวไปวางต่อศาลแพ่ง จึงไม่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต แต่ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามกฎหมายแล้ว
ข้อความในหมายอายัดที่ว่า ถ้ามีเหตุคัดค้านประการใดให้ยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดเวลานั้น หมายความว่า หากจำเลยมีเหตุคัดค้านหมายอายัดในเหตุส่วนตัวของจำเลยเช่น จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามที่ถูกอายัด จำเลยก็อาจจะคัดค้านภายในกำหนดเวลานั้นได้แต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จริง จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะคัดค้าน และแม้จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลาง จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องคัดค้านการอายัดหรือนำเงินบำเหน็จมาวางต่อศาลแรงงานกลางแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยหลังก่อหนี้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้
เหตุที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถจัดการออกโฉนดและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นเพราะผู้ขายซึ่งซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสี่ เนื่องจากถูกบุคคลอื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในเวลาต่อมา ต้องถือว่าการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสี่กลายเป็นพ้นวิสัยและพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทั้งสี่ก่อหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายทั้งไม่ปรากฏว่าได้เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสี่จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบในพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นหาได้ไม่ จำเลยทั้งสี่จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ไม่ต้องโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ฝ่ายโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 เมื่อการชำระหนี้บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบและการชำระหนี้ส่วนที่เป็นวิสัยที่จะทำได้ซึ่งหมายถึงการโอนที่ดินแปลงอื่น ๆตามสัญญาให้แก่โจทก์ยังเป็นประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จะไม่ยอมรับโอนที่ดินแปลงที่อยู่ในวิสัยจะโอนได้ แล้วเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดหาได้ไม่ โจทก์จำเลยยังมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกันอยู่กล่าวคือฝ่ายจำเลยจะต้องโอนที่ดินที่เหลืออีก 5 แปลงให้แก่โจทก์ และฝ่ายโจทก์ก็ต้องชำระราคาตามที่ตกลงกันไว้นอกจากนั้นปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้จัดการโอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว 1 แปลง กับได้จัดการออกโฉนดที่ดินแปลงที่เหลืออีก 5 แปลง พร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาทั้งการที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งนั้นหาได้เกิดจากพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบไม่ จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นฝ่ายรับเงินมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ไม่ได้กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(1)(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดจากการปิดประกาศและโฆษณาใส่ร้ายเพื่อขัดขวางการทำประโยชน์ในที่ดิน การร่วมกันกระทำละเมิด
การกระทำเพื่อป้องกันสิทธิโดยพึ่งสถาบันของรัฐโดยสุจริตเช่น การแจ้งความร้องทุกข์ การฟ้องคดีต่อศาล จะต้องกระทำโดยสุจริต มิใช่อาศัยสถาบันของรัฐเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งอีกฝ่ายหนึ่ง การที่จำเลยต่อสู้หรือฟ้องคดีต่อศาลหรือแจ้งความร้องทุกข์ฝ่ายโจทก์ว่า โจทก์กับพวกบุกรุกที่ดินของจำเลยนั้นจะต้องมีมูลความจริงอยู่ว่าจำเลยน่าจะมีกรรมสิทธิ์ตามที่กล่าวอ้างจริง มิเช่นนั้นแล้วจำเลยย่อมจะต้องเสี่ยงต่อความรับผิดหากศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่กล่าวอ้าง เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาในคดีแพ่งเรื่องก่อนว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 เป็นบริวารของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลม. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดในการในการกระทำดังกล่าวของตน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับรองกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไว้ครบถ้วนแล้ว แม้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 ลงประกาศหนังสือพิมพ์ มีข้อความกล่าวหาโจทก์ทั้งสามโดยระบุชื่อโจทก์ทั้งสามว่า "บุกรุกที่ดินของจำเลยที่ 1ถูกจำเลยที่ 1 ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาและยังขู่ไม่ให้บุคคลภายนอกจับจองหรือซื้ออาคารของโจทก์ มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกัน"เช่นนี้เป็นการขัดแย้งต่อคำสั่งของศาลชั้นต้นและมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่โจทก์ทั้งสามทางชื่อเสียงความเชื่อถือ และธุรกิจการค้า การประกาศหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามโดยชัดแจ้งอีกกรณีหนึ่ง ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6ได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งหกร่วมกันให้การมาในคำให้การฉบับเดียวกัน ยอมรับว่าได้ร่วมกันกระทำต่อโจทก์ แต่ได้กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 6 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 6 ไม่ได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกคำให้การของจำเลยที่ 5จำเลยที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อเท็จจริงยุติแล้วว่าที่ดินไม่ใช่ของโจทก์ แม้จะโต้แย้งเรื่องการนำสืบก่อน
คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์และจำเลยได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลชั้นต้นไม่ฎีกาของโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ฎีกาของโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนไม่เป็นการถูกต้องนั้น แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เสียแล้ว ก็ไม่อาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้ใหม่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ข้อกฎหมายที่โจทก์ฎีกาจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 แม้เจ้าพนักงานนั้นไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่จำเลยซึ่งทราบดีอยู่แล้วว่าบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ ได้นำยึดบ้านดังกล่าวโดยแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่าบ้านนั้นเป็นของ ก. เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 แล้ว เพราะคำว่าเจ้าพนักงานตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีความหมายจำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ แต่ยังมีความหมายรวมถึงเจ้าพนักงานอื่นโดยทั่วไปด้วย
of 44